ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การละลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dexbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: fa:انحلال پذیری
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
'''การละลาย''' ({{lang-en|Solubility}}) คือสมบัติหนึ่งของ[[ของแข็ง]], [[ของเหลว]] หรือ[[แก๊ส]] ในทางเคมีเรียกว่า[[สารละลาย]]ซึ่งสามารถละลายได้ในทั้งของแข็ง, ของเหลว และแก๊ส เพื่อที่จะทำให้ได้สารสถานะเดียวกับ[[ตัวทำละลาย]] การละลายของสสารโดยขั้นต้นแล้วจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายเฉกเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความดัน เมื่อการละลายถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกจะไม่มีผลใดๆ ต่อการละลาย กล่าวคือจะไม่ทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้นหรือเจือจางลง โดยส่วนมากแล้วตัวทำละลายจะมีสถานะเป็นของเหลวทั้งในแบบสารบริสุทธิ์และสารประกอบ<ref>{{cite book|author=Yuen, C. |year=2003)|title=Element, Compound and Mixture}}</ref> บางครั้งเกิดสารละลายในรูปของสารละลายของแข็ง แต่เกิดน้อยครั้งมากในกรณีที่เกิดในรูปของสารละลายแก๊ส
 
สภาพการละลายของสารละลายมีขอบเขตที่กว้างมากตั้งแต่การละลายโดยสมบูรณ์ (ผสมกันโดยสมบูรณ์<ref>{{ cite book|author=Clugston M. and Fleming R. |year=2000|page=108| title=Advanced Chemistry| edition=1st| publisher = Oxford Publishing| location = Oxford}}</ref>) เช่น [[เอทานอล]]ในน้ำ ไปจนถึงการละลายเพียงเล็กน้อย เช่น ซิลเวอร์คลอไรด์ในน้ำ ในกรณีที่ไม่เกิดสภาพการละลายมักจะมีความหมายในทางเคมีว่าตัวละลายเกิดการละลายในตัวทำละลายได้น้อยมากถึงน้อยที่สุด ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน สารที่อยู่ ณ สมดุลของการละลาย เราไม่อาจเรียกสารนั้นว่า[[สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด]]ได้ หากแต่ในความเป็นจริงแล้วสารนั้นมีความเสถียรมากนั้นเอง<ref>{{ cite web| url=http://cancerweb.ncl.ac.uk/cgi-bin/omd?metastable |title = Cancerweb.ncl.ac.uk: from Online Medical Dictionary, [[University of Newcastle Upon Tyne]]}}</ref> ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเสถียรตลอดไป
 
การละลายมักจะไม่ได้หมายถึงความสามารถในการละลายของสสารหรือการทำสสารให้อยู่ในสถานะของเหลว เพราะว่าสารละลายนั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากการละลายเพียงอย่างเดียว หากแต่ในบางกรณีเกิดจาก[[ปฏิกิริยาเคมี]] ตัวอย่างเช่น [[สังกะสี]]จะไม่ละลายใน[[กรดไฮโดรคลอริก]] แต่จะเกิดปฏิกิริยาเคมีในกรดไฮโรคลอริกแล้วแตกตัวให้คลอไรด์กับไฮโดรเจน หากแต่ต้องเป็นสังกะสีคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์) ถึงจะสามารถละลายในกรดไฮโดรคลอริก นอกจากนี้แล้วการละลายยังไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาคหรือตัวแปรจลน์อื่นๆ โดยหากใช้เวลาสักระยะ แม้แต่อนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก็จะเกิดการละลายได้ในที่สุด
 
== นิยาม ==
บรรทัด 10:
{{คำพูด|การละลายคือองค์ประกอบในการวิเคราะห์สารละลายอิ่มตัว โดยกล่าวถึงสัดส่วนของตัวละลายที่กำหนดในตัวทำละลายที่กำหนด ซึ่งอาจจะแสดงอยู่ในหน่วยของ[[ความเข้มข้น]], ความเข้มข้นโดยโมล, เศษส่วนโมล, อัตราส่วนโมล และหน่วยอื่นๆ}}
 
== การละลายของสารพันธะต่างๆ ในน้ำ ==
 
<div style="text-align: center;"><table class="wikitable">
บรรทัด 25:
</table></div>
 
== การละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก ==
<div style="text-align: center;"><table class="wikitable">
<tr><th>ละลาย</th><th>ไม่ละลาย</th></tr>