ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำลายป่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JYBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: fa:جنگل‌زدایی
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 16:
 
== สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ ==
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่ รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี
<center>'''พื้นที่ป่าก่อนและหลังการยกเลิกสัมปทานป่าไม้'''
{| class="wikitable" border="1" style="font-size:90%;"
บรรทัด 47:
 
'''ดิน'''
ป่าไม้ที่ยังไม่ถูกรุกราน มีอัตราการสูญเสียดินที่ต่ำ เพียงแค่ประมาณ 2 ตัน ต่อ ตารางกิโลเมตร โดยทั่วไปการทำลายป่าเพิ่มอัตราการพังทลายของหน้า[[ดิน]] โดยการเพิ่มประมาณของน้ำผิวดินและลดการป้องกันหน้าดินของเศษซากของต้นไม้
รากต้นไม้ยึดดินเข้าไว้ด้วยกัน และหากผืนดินอยู่ตื้นพอ ผืนดินจะยึดดินไว้ให้อยู่กับหินดานที่อยู่ใต้ลึกลงไป การตัดไม้บนพื้นที่ลาดชัด ซึ่งที่ผืนดินอยู่ตื้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตามการทำลายป่าส่วนใหญ่มีผลกระทบแค่กับลำต้นของต้นไม้ หากยังปล่อยให้รากยึดติดอยู่กับดิน ก็แก้ไขปัญหาดินถล่มได้