ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การขริบหนังหุ้มปลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: lv:Apgraizīšana
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:High and tight circumcision style.jpg|thumb|180px|หลังจากการขริบอวัยวะเพศชาย]]
'''การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ''' ({{lang-en|Circumcision}}) หรือเรียกกันว่า '''[[สุนัต]]''' คือ การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายของ[[อวัยวะสืบพันธุ์ชาย]]ออกไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรักษาความสะอาดที่ง่ายขึ้น หรือ การผ่าตัดเพื่อผู้ที่มีหนังหุ้มหนาเกินไปจนไม่สามารถเปิดออกเองได้ และเกิดความเจ็บปวดเวลาอวัยวะเพศแข็งตัว
 
การขริบหนังปลายอวัยวะเพศ เป็นสิ่งที่ทำมาเป็นพัน ๆ ปีแล้ว ในหลายกลุ่มวัฒนธรรม ศาสนา และเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชาว[[ยิว]]และ[[มุสลิม]] เมื่อประมาณหลายสิบปีก่อนหน้านี้ ในสหรัฐอเมริกาจะมีการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะในทารกแรกเกิดเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันมีการถกเถียงว่าการขริบสามารถลดการติดเชื้อ[[เอดส์]]และ[[มะเร็ง]]ได้จริงหรือไม่ และคุ้มค่าหรือไม่กับการสูญเสียความรู้สึกทางเพศ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับวิธีป้องกันอื่น ๆ ที่มีอยู่ รวมถึงเรื่องการละเมิดสิทธิเด็ก
บรรทัด 9:
เหตุผลทางการแพทย์ของการขริบ คือ <ref name="ขลิบ vs. Oral Sex">นพ.ประวิตร พิศาลบุตร, [http://www.healthtoday.net/thailand/skin/skin_80.html ขลิบ vs. Oral Sex]</ref>
# '''หนังหุ้มปลายไม่เปิด''' (Phimosis) ในเด็กแรกเกิดส่วนใหญ่จะไม่เปิด ทารกเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่มีหนังหุ้มปลายรูดเปิดได้ หลัง 3 ขวบจะค่อยๆ รูดเปิดได้ และหลังอายุ 5 ขวบเด็กส่วนใหญ่รูดเปิดหนังหุ้มปลายได้ ร้อยละ 98-99 กระทั่งผู้ชายอายุ 18 สามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายได้
# '''มีการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ''' (Balanitis) บางคนที่มีหนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก หรือไม่ค่อยรูดเปิดทำความสะอาด หรือในบางรายที่แพ้สบู่ น้ำยาซักผ้า หรือน้ำยาฆ่าอสุจิในถุงยางอนามัย จะมีการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ และอาจมีการติดเชื้อยีสต์แทรกซ้อนได้
# ในผู้ชายที่มีหนังหุ้มปลายรัดตึง จนมีอาการเจ็บเวลามี[[เพศสัมพันธ์]]