ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหัวข้อไม่เป็นสารานุกรม
บรรทัด 46:
[[อธิการบดี]][[มหาวิทยาลัยรังสิต]]ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2547]] หลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนแห่งนี้จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ Cambridge IGCSE และ International Baccalaureate (IB) <ref>http://www.sbs.ac.th/th/about_school_message_chair.php</ref>
 
 
== วิสัยทัศน์ ==
 
ผู้นำการศึกษาในหลักสูตรสองภาษา
 
'''พันธกิจ'''
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จะมอบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุดโดยเฉพาะในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฯจะต้องสามารถเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หลักสูตรทวิภาษาของโรงเรียนฯ มุ่งสู่การเทียบมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสากล (The International Baccalaureate (IB) Diploma programme) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6
 
'''หลักการ'''
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมุ่งวางรากฐานที่เป็นปึกแผ่นในความเป็นโรงเรียนทวิภาอย่างแท้จริง โดยบูรณาการหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติชั้นนำเข้าด้วยกันเป็นหลักสูตรแนวใหม่ในองค์รวม ครูผู้สอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษามีความรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและมีสัดส่วนเท่าๆกันระหว่างครูไทยและครูต่างชาติ ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาจะใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไปตามความเชื่อมั่นในทฤษฎีการศึกษาที่ว่าการเรียนรู้ภาษาจะต้องปลูกฝังไปพร้อมๆกับการจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆโดยรวม
 
สัดส่วนการผสมกลมกลืนระหว่างภาษาอังกฤษ-ไทยในแต่ละระดับ (English-Thai Immersion Rate)จากการศึกษาทบทวนข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญการศึกษาอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้นำมาสู่ขั้นตอนการผสมกลมกลืนระหว่างการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ-ไทย ดังต่อไปนี้
 
 
{| class="wikitable"
|-
! ระดับ
! ภาษาอังกฤษ(%)
! ภาษาไทย(%)
|-
| อนุบาล
| 80
| 20
|-
| ปะถมศึกษา
|70
| 30
|-
| มัธยมศึกษา
| 60
| 40
|}
 
เป้าหมายปลายสูงสุดคือการให้นักเรียนมีความชำนาญการใช้ทั้งสองภาษาในระดับที่เท่าเทียมกัน คือ 50:50 ในขณะที่ทุกวิชาจะต้องมีการจัดการเรียนการสอนควบทั้งสองภาษา ในแบบทวิภาษาที่แท้จริงด้วย
 
== คณะครู ==