ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มกล่องข้อมูลภูมิศาสตร์
บรรทัด 101:
๘.ธนมูนนาค และบริวาร ตอนแรกพลัดไปอยู่ใต้ดอยกัปปนคีรี (ภูกำพร้า หรือ เมืองธาตุพนม) แต่ธนมูนนาค ได้เลื้อยไปตามลำน้ำโขงต่อลงไปจนถึง ลี่ผี แล้วไม่สามารถเลื้อยต่อไปได้ จึงเลื้อยแถกแผ่นดินไปทางทิศตะวันตก ไปถึงเมืองกุรุนทะนคร รอยแถกแผ่นดิน จึงกลายเป็น "มูนนที" หรือ แม่น้ำมูน ในปัจจุบัน
๙.ชีวายะนาค ได้หนีไปตามเส้นทางของ ธนมูนนาค ก่อนที่จะเลื้อยแถกแผ่นดินไปทางด้านเหนือ โดยอ้อมเมืองพระยามหาสุรอุทก ไปจนถึงเมืองหนองหานหลวง และเมืองหนองหานน้อย รอยเลื้อย จึงได้กลายเป็น "ชีวายะนที"ตามชื่อของ ชีวายะนาค หรือ แม่น้ำชี ในปัจจุบัน
หรืออีกนัยหนึ่งคือ คำว่า "ชี" นั้น มาจากภาษาอีสาน(ลาว) ท้องถิ่นแถบลุ่มน้ำชีบริเวณต้นน้ำนั้น คือคำว่า "ซี" ซึ่งหมายถึงการเจาะทะลุเป็นรู โดยลักษณะต้นกำเนิดของน้ำชีนั้นมีสายน้ำที่ไหลผ่านลอดใต้เทือกเขาหินปูน ที่เรียกว่า "ซีดั้น" และไหลทะลุลอดผ่านมาอีกฝั่งหนึ่งของเทือกเขา เรียกว่า "ซีผุด" เป็นเช่นนี้เป็นส่วนใหญ่ในบริเวณต้นกำเนิดสายน้ำชี จึงทำให้เรียกลำนำสายนี้ตามลักษณะพิเศษที่ลำน้ำไหลซี(ไหลทะลุ)ลอดผ่านใต้เทือกเขานั้นว่า "ลำน้ำซี" ในภาษาถิ่น หรือ ลำนำชี ในภาษากลาง นั่นเอง
 
{{แม่น้ำในไทย}}