ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติรัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
ย้าย "นิติรัฐกับหลักผลประโยชน์สาธารณะ" ไปหน้าพูดคุย, ละเมิดลิขสิทธิ์ ?
Sharky~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ตรวจแก้รูปแบบ}}
==เบื้องต้น==
 
นิติรัฐ (Legal State) เป็นถ้อยคำที่ใช้กันในประเทศที่ใช้ระบบ ประมวลกฎหมาย ซึ่งถือกำเนิดในยุโรปภาคพื้นทวีป โดยมีประเทศฝรั่งเศสเป็นแม่แบบ
'''นิติรัฐ''' หมายถึง [[รัฐ]]ที่มีการปกครองด้วย[[กฎหมาย]] การดำเนินการต่างๆของนิติรัฐย่อมต้องชอบด้วยกฎหมายทั้งเป้าหมาย รูปแบบวิธีการ และเนื้อหาขอบเขต
หมายถึงการบริหารจัดการ (ปกครอง) ประเทศหรือสังคมซึ่งถือกฎหมายเป็นใหญ่ เป็น "การปกครอง" โดยกฎหมาย มิใช่แล้วแต่อำเภอใจของผู้ใช้อำนาจหรือ "ผู้ปกครอง" ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่งมีประเทศอังกฤษเป็นแม่แบบนั้นจะอ้างถึงหลัก "นิติธรรม" หรือ Rule of Law ซึ่งโดยสรุปก็มีความหมายแบบเดียวกันนั่นคือ ถือกฎหมาย เป็นใหญ่ในการบริหารจัดการรัฐ
 
์้
== แนวคิด ==
ตามแนวความคิดของ Michel Neumann ได้แสดงความเห็นว่าในแนวคิดเรื่อง “Rule of Law” นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิดใหญ่ ๆ ได้ดังนี้คือ.-
# เป็นแนวความคิดทางด้าน[[ศีลธรรม]] (Moralized conception) ซึ่งเป็นแนวความคิดทั่วไปสำหรับประเทศที่ใช้หลักการ “Rule of Law” หลักศีลธรรมที่แน่นอนต้องสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และในบางกรณีแนวความคิดทางศีลธรรมมักเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
# ในแนวความคิดที่สองเป็นแนวความคิดที่ไม่เกี่ยวเรื่องศีลธรรม (Non-moralized conception) เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า “กฎหมายและคำสั่ง” (Law and Order) ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการที่รัฐต้องให้ประชาชนเชื่อฟังกฎหมายเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยสาธารณะ ถ้าแนวความคิดเรื่องศีลธรรมไม่ได้มีชื่อเสียงได้รับความนิยม แนวความคิดเรื่อง “กฎหมายและคำสั่ง” (Law and Order) จะเป็นแนวความคิดที่น่ากลัวและเป็นแนวความคิดที่ทำให้นึกไปถึงแนวความคิดในเรื่อง “police” และส่งเสริมแนวความคิดฝ่ายขวา
 
Dicey ซึ่งได้อธิบายความเห็นในเรื่อง “Rule of Law” และ “Law of Constitution” ไว้ว่าเป็นคุณสมบัติของ[[สถาบันทางการเมือง]]ในอังกฤษ จริงๆ แล้ว Dicey ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า “Rule of Law” อย่างตรงไปตรงมา แต่ได้กล่าวอย่างเป็นนัยๆ กล่าวคือ.-
* เมื่อเรากล่าวถึงอาจสูงสุดหรือ “Rule of Law” นั้นเป็นเรื่องที่มีอยู่ใน[[รัฐธรรมนูญ]]ของ[[ประเทศอังกฤษ]]” หมายความว่า ไม่มีผู้ใดจะถูกลงโทษหรือได้รับความทรมานทางกายหรือถูกริบทรัพย์สินจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าได้กระทำความผิดกฎหมายตาม[[กระบวนการยุติธรรม]] ในความรู้สึกของเรื่องนี้ แนวความคิดในเรื่อง “Rule of Law” กลายเป็นแนวความคิดที่ขัดแย้งกับทุกๆ ความคิดของระบบรัฐบาลที่มีพื้นฐานอยู่บนการใช้อำนาจของบุคคลหรือำนาจของอย่างกว้างขวาง, ใช้อำนาจตามอำเภอใจ, ใช้อำนาจโดยใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
* ไม่ใช่แค่ไม่มีผู้ใดอยู่เหนือกฎหมาย แต่ในที่นี้หมายถึงทุกคน (ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง) ไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือเงื่อนไขอย่างไร”
* รัฐธรรมนูญคือผลจากการสร้างกฎหมายเบื้องต้นสำหรับประเทศ” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สิทธิของประชาชนเกิดจากการตัดสินกฎหมายในทุก ๆ วัน ใน[[คดีอาญา]]และใน[[คดีแพ่ง]]นั้น ไม่ใช่สิทธิที่มาจากรัฐธรรมนูญอันเป็นบทบัญญัติกลางของรัฐ โดยนัยนี้ Dicey หมายถึงว่าในความเป็นจริงสิทธิของพวกเรามาจากกฎหมาย Common Law ในประเทศอังกฤษ
 
=== แนวความคิดในเรื่องศีลธรรม (Moralized conceptions) ===
บุคคลที่มีแนวความคิดในทำนองนี้ได้ไปไกลกว่าความคิดของ Dicey เช่น Hayek, Fuller,Raz,Rawls และอีกหลายคนที่มีความเชื่อมั่นต่อ[[สิทธิมนุษยชน]]บนฉากของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีจุดร่วมกันในเรื่องการขยายแนวความคิดของ Dicey ควรได้รับการปรับปรุงโดยการแสดงออกให้เป็นคุณค่าที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (universal values) ซึ่งโดยนัยนี้หมายถึงว่ากฎของ “Rule of Law” นั้นมีนัยของความเป็นกฎศีลธรรมที่แน่นอน โดยในแนวความคิดนี้แบ่งออกเป็น 2 แนวคือ การตีความหมายอย่างกว้าง , และการตีความหมายอย่างแคบ สำหรับผู้ตีความหมายอย่างกว้างได้แก่ ความคิดของ Hayek และผู้ที่ตีความหมายอย่างแคบได้แก่ Rawls, Raz,
 
=== แนวความคิดที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม (Non-moralized conceptions) ===
ในเรื่องนี้เราจะย้อนกลับไปตรวจสอบความคิดของ Dicey ซึ่งถูกมองข้ามไป โดย Dicey ได้กล่าวถึงการดำรงอยู่ของการดำเนินการของรัฐ (existent state of affairs) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ชัดเจนในรัฐธรรมนูญของอังกฤษในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ โดย Dicey ไม่ได้กลับไปตรวจสอบงานเขียนของคำพิพากษาในเรื่องก่อน ๆ แต่กลับยึดเอาบางส่วนของ Tocqueville ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ, [[สหรัฐอเมริกา]] และ[[สวิตเซอร์แลนด์]] และได้ชี้ว่าในความเห็นของ Tocaueville ว่า “ไม่ใช่แค่ลักษณะของรัฐธรรมนูญในประเทศอังกฤษ แต่เป็นลักษณะของสถาบันในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นความพิเศษเฉพาะบางส่วนในชีวิตคนในอังกฤษ” และเป็นลักษณะเฉพาะของคนในชาติ ซึ่งหากเป็นลักษณะนี้เราได้ระบุความแตกต่างจากที่เป็นกฎทั่วไปจากความคิดทางศีลธรรมของ International Commission of Jurist หรือแนวความคิดที่เป็นนามธรรมของ Raws หรือ Raz
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้ไม่ได้เกิดความไม่เห็นด้วยระหว่างแนวความคิดที่เป็นของ Dicey กับแนวความคิดต่อ ๆ มา เพราะว่า Dicey ได้พิจารณา “Rule of Law” ส่วนใหญ่บนหลักที่เกิดจากการเปรียบเทียบ สำหรับ Dicey แล้วหลัก “Rule of Law” นั้นคือการดำรงอยู่ของ[[การดำเนินการของรัฐ]] (existent state of affairs) ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ปกครองน้อยกว่าความคิดมาตรฐานของพวกที่มีแนวความคิดแบบแคบ ซึ่งพวกเขาอาจจะเป็นมาตรฐานได้ แต่พวกเขาได้ประสบความสำเร็จอย่างมากในโลกแห่งความจริง ทำให้รัฐมากมายได้นำหลัก “Rule of Law” มาใช้ แต่ Dicey ได้ตรวจสอบหลักของเขาเองโดยมีความสนใจตรงข้ามจากสิ่งที่เราเห็น เขาได้มองหาบางสิ่งที่แตกต่างในประเทศอังกฤษ แต่ในขณะที่พวกที่สืบทอดความคิดของเขาต่อมาส่วนใหญ่จะมองหาหลักบางอย่างที่เป็นสากลร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามเขาได้เสนอความคิดที่เป็นทั่วไปในหลักการ “Rule of Law” ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางนอกประเทศอังกฤษ
หลักการ “Rule of Law” นี้ได้ให้ความหมายที่เป็นแกนหลักในความเห็นของ Dicey แต่ในความเห็นของ Jennning ไดโต้แย้งความเห็นของ Dicey ว่า Dicey พยายามที่จะยกหลัก “Rule of Law” มาให้เป็นคู่ตรงกันข้ามกับการใช้อำนาจตามอำเภอใจอย่างผิด ๆ เพราะว่าที่จริงแล้วการใช้อำนาจโดยใช้แต่ดุลยพินิจของตนเองส่วนใหญ่ก็มาจากกฎหมาย ตัวอย่างเช่น ผู้เก็บภาษี,[[ตำรวจ]],[[ผู้พิพากษา]],และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ และประการต่อมาเขาเห็นว่า Dicey มีความขัดแย้งในตนเองในงานชิ้นก่อนๆ ของเขา และเขาได้ให้ความเห็นว่าในความเห็นของ Dicey ซึ่งเป็นความเห็นเริ่มแรกในเรื่อง “Rule of Law” นั้นไม่สามารถเป็นแนวความคิดที่เขาได้ร่างให้สัมพันธ์กับการสังเกตของ Tocaueville นั่นหมายความว่าความจริงแล้วหลักการดั้งเดิมของ “Rule of Law” นั้นไม่ได้เป็นการรับรองสิทธิของปัจเจกชน แต่เป็นการใช้ “Rule of Law” ในฐานะของความเป็นสูงสุดของอำนาจกฎหมาย ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีผู้ใดจะต้องได้รับความทรมานทางร่างกายหรือถูกริบทรัพย์สินนอกจากคำสั่งของกฎหมาย
 
วิกิพีเดียซึ่งเป็นสารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของคำว่า “Rule of Law” ว่า “เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดเรื่องเสรีนิยม (This article is related to Liberalism) และให้ความหมายว่าอำนาจของรัฐบาลที่นำมาบริหารประเทศต้องจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายลายลักษณ์อักษรซึ่งจะต้องถูกนำมาใช้ผ่านกระบวนการที่สร้างขึ้นโดยมีหลักการที่มีความประสงค์จะป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจ (arbitrary ruling) เพื่อใช้บังคับกับ[[ปัจเจกชน]]”
 
== บททั่วไป ==
แนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดเรื่อง “Rule of Law” นั้นได้ถูกเขียนโดย Albert Venn Dicey ในหนังสือเรื่อง “Law of Constitution” ในปี 1885 :
 
เมื่อเราพูดว่าความเป็นสูงสุดหรือ “rule of law” คือลักษณะของรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ เราสามารถแบ่งความเด่นชัดในหลักดังกล่าวได้อย่างน้อย 3 หลักคือ
 
ในเบื้องต้น ไม่มีผู้ใดจะได้รับโทษหรือได้รับความทรมานทางกายหรือผลประโยชน์เว้นแต่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติขึ้นอย่างเด่นชัด
ข้าราชการของรัฐทุกคน แม้ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อทุกการกระทำภายใต้กฎหมายโดยปราศจากอภิสิทธิ์เช่นเดียวกับพลเมืองอื่น [[การพิจารณาคดี]]ต่างๆ จะต้องผ่านกระบวนการอย่างสมบรูณ์ก่อนที่มาถึง[[ศาล]] และดำเนินการพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพของเขา, ความสมควรที่จะได้รับโทษ, หรือการจ่ายค่าปรับตามความเหมาะสมกับค่าเสียหาย สำหรับการกระทำความผิดของเขาแต่ต้องไม่เกินตามที่กฎหมายบัญญัติ (รวมหมายถึงทั้งข้าราชการของรัฐและข้าราชการการเมืองด้วย) และผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหมด ที่ต้องทำงานภายใต้คำสั่งของผู้บังคับบัญชา ต้องรับผิดชอบสำหรับการกระทำใดๆ ที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ต่อประชาชน
( Law of Constitution (London: MacMillan, 9th ed., 1950), 194.
ดังนั้น ผู้ที่บังคับใช้กฎหมายทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่เข้าบังคับใช้ด้วย
 
นิติรัฐ เป็นรัฐที่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายโดยรัฐยอมตนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดการกระทำของรัฐต่อปัจเจกชนในสองนัย คือกฎเกณฑ์ประการแรก กำหนดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกฎเกณฑ์ประการทีสองกำหนดวิธีการและมาตรการซึ่งรัฐและหน่วยงานสามารถใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดรวมเป็นกฎเกณฑ์สองชนิดที่มีผลร่วมกันคือ จำกัดอำนาจรัฐภายใต้กฎหมาย ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของนิติรัฐคือ ฝ่ายปกครองไม่สามารถใช้วิธีการอื่นนอกไปจากที่กฎหมายกำหนดกระทำต่อปัจเจกชนได้ กฎหมายเป็นทั้งที่มาแห่งอำนาจและข้อจำกัดอำนาจปกครอง ดังนั้นในนิติรัฐฝ่ายปกครองจะกระทำการที่ขัดแย้งหรือละเว้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ไม่ได้ และการที่ฝ่ายปกครองจะวางข้อกำหนดหรือออกคำสั่งต่อผู้อยู่ใต้ปกครองจะต้องอาศัยอำนาจของกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ความสำคัญของหลักนิติรัฐก็คือ เป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนซึ่งให้อำนาจแก่ประชาชนที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายปกครอง ซึ่งต่างจาก”รัฐตำรวจ (Police State)”
 
สำหรับ รัฐตำรวจ (Police State) เป็นรัฐที่ฝ่ายปกครองสามารถที่จะใช้อำนาจดุลพินิจอย่างเต็มที่ที่จะดำเนินมาตรการอะไรก็ได้ที่ฝ่ายปกครองเป็นผู้ริเริ่มและเห็นว่าจำเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ วัตถุประสงค์สุดท้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่วนวิธีการที่จะไปถึงวัตถุประสงค์นั้นจะทำอย่างไรก็ได้ ในรัฐตำรวจฝ่ายปกครองใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีกฎหมายกำหนดขอบเขตไว้ และศาลก็ไม่มีอำนาจตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองได้
 
นิติรัฐเป็นแบบของการจัดตั้งประชาคมการเมือง (political community) ในรูปของระบบรัฐ ที่แยกกำลังบังคับที่อยู่ภายใต้อำเภอใจออกจากตัวบุคคลที่เป็นผู้ปกครอง (coercion of men) ไปเป็นอำนาจทางการเมืองการปกครองที่อยู่ภายใต้กฎหมายของสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐ (government of state) แทน โดยที่การได้มาและการดำรงอยู่ของอำนาจทางการเมืองการปกครองที่อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น อิงอยู่บนฐานรากของหลักยึดพื้นฐาน 5 ประการ คือ (1) กฎเกณฑ์ (law) (2) ระเบียบแบบแผน (order) (3) ความเชื่อถือศรัทธา (trust) (4) สันติวิธี (peace) และ (5) ความยุติธรรม (justice) ทั้งนี้ เพื่อให้หลักยึดพื้นฐานดังกล่าวร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะทางของตน ในอันที่จะนำประชาคมการเมืองไปสู่การบรรลุเป้าหมายของรัฐในที่สุด ซึ่งในการทำหน้าที่ของหลักยึดพื้นฐานดังกล่าว แม้จะดำเนินไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางเฉพาะทางของตน แต่เมื่อประกอบกันเป็นผลรวมในบั้นปลายแล้ว ก็จะสามารถบรรลุถึงเป้าหมายรวมของรัฐ (ultimate goal) ได้ใน ที่สุด
กล่าวคือ
# กฎเกณฑ์ (law) เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น ความเห็นพ้องร่วมกัน (general consensus) ของคนหรือสมาชิกในประชาคมการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างคนกลุ่มน้อยที่เป็นผู้ปกครอง (ruler) กับคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นผู้รับการปกครองหรือประชาชน (ruled) ทั้งนี้ โดยการดัดแปลงตัวแทนของข้ออ้างอิงใหม่ที่ต่างไปจากกฎธรรมชาติ (natural law) ที่เคยบังคับใช้ได้เฉพาะตัวกับแต่ละคน (personal enforcement) เท่านั้น ไปเป็นกฎหมายของรัฐ (law of state) ที่บังคับใช้ได้เป็นการทั่วไป (public enforcement) กับทุกคนภายในรัฐหรือภายใต้ประชาคมการเมืองเดียวกัน
# ระเบียบแบบแผน (order) เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น แบบแผนมาตรฐานของพฤติกรรมร่วม (mutual practice) ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของกฎหมายเป็นกรอบกำกับในการบังคับควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำกับควบคุมพฤติกรรมและการกระทำที่กระทบต่ออำนาจของผู้ปกครองและสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้รับการปกครอง ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญของรัฐใน 3 ด้าน ด้วยกันคือ (1) การออกกฎหมาย (legislative practice) (2) การบังคับใช้กฎหมาย (executive practice) และ (3) การตีความกฎหมายและพิพากษาคดี(judicial-practice)
# ความเชื่อถือศรัทธา (trust) เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น หลักประกันเสถียรภาพของการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักประกันเสถียรภาพระหว่างอำนาจอันชอบธรรมของผู้ปกครอง กับสิทธิเสรีภาพอันชอบธรรมของประชาชนผู้รับการปกครอง ทั้งนี้ โดยมีการกำหนดกรอบในการจำกัดควบคุมอำนาจของผู้ปกครองไว้ให้เป็นไปที่แน่นอนชัดเจน เช่นเดียวกันกับการกำหนดกรอบในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันได้ว่า ทั้งผู้ปกครองและประชาชนต่างมีเสถียรภาพในการอยู่ร่วมกัน โดยที่อำนาจของผู้ปกครองนั้น มิได้ใช้เพื่อการกดขี่ข่มเหงประชาชน หากแต่ใช้เพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนเป็นด้านหลัก
# สันติวิธี (peace) เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น ความแตกต่างที่สร้างสรรค์และมิตรภาพที่ถาวร เพื่อจัดสภาพแวดล้อมของรัฐให้เกิดสันติสุขในการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างความแตกต่างของมนุษย์โดยไม่ก่อความขัดแย้งแตกแยก ระหว่างฝ่ายข้างมากกับฝ่ายข้างน้อยโดยไม่มีการกดขี่ข่มเหงคุกคามซึ่งกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนใหญ่กับผลประโยชน์ส่วนย่อย และระหว่างความถูกต้องของฉันทามติชั่วคราว ฝ่ายข้างมากที่ได้รับการยอมรับก่อนกับฝ่ายข้างน้อยที่ยังต้องรอการยอมรับในภายหลัง ซึ่งเป็นการดัดแปลงสภาวะธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ให้เปลี่ยนจากการต่อสู้ด้วยพละกำลังโดยใช้ความรุนแรงหรือขจัดทำลายล้างขั้นแตกหัก เป็นการแข่งขันกันด้วยกติกาที่สันติวิธีสามารถประนอมประโยชน์และหาทางออกที่เป็นสายกลางโดยไร้ความสูญเสียของทุกฝ่ายได้
# ความยุติธรรม (justice) เป็นหลักพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น เจตจำนงร่วมอันชอบด้วยกติกา (legality of general will) ทั้งนี้ โดยอาศัยกติกาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนรัฐ เพื่อให้การใช้อำนาจและการทำหน้าที่ของรัฐนั้นดำเนินไปภายใต้ครรลองของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระบวนการขับเคลื่อนรัฐที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของเหตุผลในฐานที่มา (source) ของการใช้อำนาจ กระบวนวิธีการ (means) ในการใช้อำนาจ และเป้าหมายปลายทาง (ends) ของการใช้อำนาจนั้น จะต้องประกอบกันบนฐานอันชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการในการขับเคลื่อนรัฐนั้น นำไปสู่ความเป็นรัฐแห่งกติกาที่เกื้อหนุนให้การใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของรัฐไม่ใช่ตามอำเภอใจของตน ซึ่งมุ่งสนองเป้าหมายของรัฐไม่ใช่เป้าหมายหรือประโยชน์ของตน เพื่อให้การทำหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นเสมือนเบ้าหลอมในการสร้างเจตจำนงร่วมอันชอบด้วยกติกาให้เกิดขึ้นในหมู่ของกลไกสำคัญฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐร่วมกันได้ทั้งฝ่ายการเมืองการปกครอง (government sector) และฝ่ายประชาชน (private sector)
 
==หลักการของ “Rule of Law”==
การปกครองโดยกฎหมาย เป็นแบบของการจัดตั้งระบบการเมืองการปกครอง (political system) ที่อิงอยู่บนฐานรากของหลักยึดพื้นฐาน 3 ประการคือ (1) ความชอบด้วยระบบกฎหมาย (legal system) (2) ความชอบด้วยกฎหมาย (legality) และ (3) ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (constitutionality) ทั้งนี้ เพื่อให้หลักยึดพื้นฐานดังกล่าว ทำหน้าที่ในการจัดกรอบการสร้างระบบกฎหมายและระบอบการเมืองการปกครองของรัฐให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และการจัดกรอบการออกกฎหมายให้เป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วย
กล่าวคือ
# '''ความชอบด้วยระบบกฎหมาย (legal system)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น กติกาแห่งการปกครอง (rule of the rule) โดยการสร้างกติกาหลักทางการเมืองการปกครองในรูปของรัฐธรรมนูญ เพื่อวางหลักการปกครองและกฎหมายให้มีความสอดคล้องกัน ในรูปของการกำหนดเขตอำนาจ (scope of power) ที่ปรากฏอยู่ในองค์กรสถาบันทางการเมืองการปกครองและความสัมพันธ์ทางอำนาจ (relation of power) ระหว่างองค์กรสถาบันทางการเมืองการปกครอง
# '''ความชอบด้วยกฎหมาย (legality)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น ความผูกพันตามพันธะทางกฎหมายและความยุติธรรม ซึ่งเป็นการวางหลักปฏิบัติในการกำหนดกรอบของขอบเขตอำนาจ กระบวนการใช้อำนาจและเป้าหมายการใช้อำนาจในฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการให้เกิดความยุติธรรมตามกฎหมาย โดยอิงความผูกพันตามพันธะทางกฎหมายและความยุติธรรมที่ต้องยึดโยงกันทั้งกรอบบรรทัดฐานทั่วไปอันเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย (the precedence of the law) และกรอบตัวบทของข้อบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรอันเป็นสารัตถะของกฎหมาย (the subjection to the law)
# '''ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (constitutionality)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น หลักประกันความเที่ยงตรงของกติกาหลักทางการปกครอง (legal certainty) ซึ่งเป็นการป้องกันการใช้อำนาจการเมืองการปกครองในฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ละเมิดต่อกติกาหลักทางการปกครอง พร้อมกันไปกับการแก้ไขการใช้อำนาจการเมืองการปกครองของฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการที่มิชอบด้วยกติกาหลักทางการเมืองการปกครองอันเนื่องมาจากกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการใช้อำนาจที่ละเมิดกติกาหลักทางการเมืองการปกครองของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งนี้ โดยการสร้างหลักประกันความเที่ยงตรงของกติกาหลักทางการเมืองการปกครอง ให้ครอบคลุมทั้งในขั้นก่อนออกกฎหมายมาบังคับใช้ และระหว่างที่กฎหมายกำลังบังคับใช้อยู่
ประชาธิปไตย (Democracy)
 
ประชาธิปไตยเป็นแบบของการจัดตั้งระบอบการเมืองการปกครอง (political regime) ที่อิงอยู่บนฐานรากของหลักยึดพื้นฐาน 3 ประการ คือ (1) การปกครองของประชาชน (rule of people) (2) การปกครองโดยประชาชน (rule by people) และ (3) การปกครองเพื่อประชาชน (rule for people) ทั้งนี้ เพื่อให้หลักยึดพื้นฐานดังกล่าว ทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสูงสุดของระบบการเมืองในรูปของกรอบอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครอง (political ideology) กำหนดกระบวนการทางการเมืองการปกครองในรูปของการจัดความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนผู้รับการปกครอง (political process) และกำหนดองค์กรรัฐบาลในรูปแบบของการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจหลักทางการเมืองการปกครอง (form of government)
กล่าวคือ
# '''การปกครองของประชาชน (rule of people)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น เป้าหมายสูงสุดของการเมืองการปกครอง (goal of rule) ซึ่งเป็นนัยของการสร้างพันธะยึดเหนี่ยวที่เรียกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็คือ การกำหนดให้อำนาจสูงสุดในการเมืองการปกครองหรืออำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชนไม่ใช่ของรัฐบาล (popular sovereignty) นั่นเอง ดังเช่น การกำหนดให้ผู้ปกครองต้องมาจากการเลือกตั้งทั่วไป โดยการเปิดให้มีการใช้สิทธิออกเสียงเป็นการทั่วไปของประชาชน (general election by universal suffrage) การกำหนดให้การใช้อำนาจของผู้ปกครองต้องอยู่บนพื้นฐานความยินยอมของประชาชน (consent of people) และการกำหนดให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดความตกลงใจในการปกครอง เปลี่ยนแปลงและยกเลิกสัญญาประชาคม (people determination) เป็นต้น
# '''การปกครองโดยประชาชน (rule by people)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น กระบวนวิถีทางการเมืองการปกครอง (mode of rule) ซึ่งเป็นนัยของการสร้างกระบวนการทางการเมืองการปกครองให้รองรับกับการกำกับควบคุมของประชาชน ในรูปของการสร้างวิถีทางในการใช้สิทธิเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (people participation) คู่ขนานกันไปกับวิถีทางในการใช้อำนาจของผู้ปกครองที่จะต้องรับผิดชอบและตอบสนองต่อประชาชน (people responsibility & responsiveness) พร้อมกันไปด้วย ซึ่งเป็นวิถีทางของความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนผู้รับการปกครองนั่นเอง ดังเช่นการกำหนดให้ใช้เสียงข้างมากในการปกครองโดยต้องเคารพเสียงข้างน้อย (majority rule and minority rights) ด้วย การยึดเจตนารมณ์ของฝ่ายประชาชนเป็นบรรทัดฐานอ้างอิงพันธะผูกพันสัญญาประชาคมแก่ฝ่ายผู้ปกครอง และการเคารพความเป็นสูงสุดของสัญญาประชาคมที่ผู้ปกครองจะละเมิดมิได้ (supremacy of social contract)
# '''การปกครองเพื่อประชาชน (rule for people)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น ความชอบธรรมของรัฐบาลที่ยุติธรรม (legitimacy of justice government) ซึ่งเป็นนัยของการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางอำนาจขององค์กรรัฐบาลให้สอดคล้องกับครรลองของระบอบการเมืองการปกครอง อันเป็นการสร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้อำนาจการปกครองที่ยุติธรรมของรัฐบาลและการได้รับความยินยอมจากประชาชนในความชอบธรรมของการใช้อำนาจการปกครองนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นในการไม่อาจบิดพลิ้วการใช้อำนาจการปกครองของรัฐบาล (abuse of power) ให้บิดเบือนไปจากกฎหมายอันเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ร่วมของสัญญาประชาคมได้ ซึ่งจะเป็นหนทางสำคัญในการเอื้อประโยชน์ให้เกิดความยุติธรรมในการปกครองได้ในที่สุด โดยเฉพาะการที่รัฐบาลจะต้องทำหน้าที่ในการรักษาและสนองตอบต่อเจตนารมณ์ตามสัญญาประชาคมของประชาชน ซึ่งถือว่ามีความสูงสุดโดยที่รัฐบาลจะละเมิดมิได้นั่นเอง ดังเช่นการกำหนดให้อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมาย (supremacy of legislation) โดยที่ฝ่ายบริหารนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของประชาชนในการทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่เป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชนนั้น การกำหนดให้รัฐบาลต้องสร้างและรักษาความชอบธรรมในการปกครอง (legitimization) โดยการสงวนสิทธิให้ประชาชนเป็นฝ่ายให้การยอมรับหรือปฏิเสธการมีอำนาจเหนือตนของรัฐบาลได้ รวมทั้งการกำหนดให้ถือเอาประเด็นประโยชน์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเป็นเครื่องมือของประชาชนในการทำและยกเลิกสัญญาประชาคมได้
 
 
=== รัฐธรรมนูญ ===
 
[[รัฐธรรมนูญ]] (Constitution) เป็นกติกาหลักทางการเมืองการปกครอง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นเบ้าหลอมรวมของระบบกฎหมาย โดยเป็นแกนในการจัดระบบการสร้างกติกาและการบังคับใช้กติกาทั้งปวงของรัฐ จนมีการกล่าวกันว่า หากรัฐใดไม่มีซึ่งรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐนั้นก็ย่อมปราศจากระบบกฎหมายไปด้วย รัฐธรรมนูญจึงได้รับการยอมรับให้ทำหน้าที่พื้นฐานในการเป็นกติกาหลักทางการเมืองการปกครองใน 2 ประการ คือ (1) การเป็นกฎหมายสูงสุด (supreme law) และ (2) การเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครอง (fundamental law) ทั้งนี้ เพื่อให้หลักยึดพื้นฐานดังกล่าวทำหน้าที่รักษาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย (constitutionality) โดยการควบคุมมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และทำหน้าที่รักษาความชอบด้วยกฎหมายในการใช้อำนาจขององค์กรการเมืองการปกครอง (legality) โดยการควบคุมการใช้อำนาจและความสัมพันธ์ทางอำนาจขององค์กรทางการเมืองการปกครองให้ดำเนินไปตามครรลองของระบอบการเมืองการปกครองที่รัฐธรรมนูญกำหนด กล่าวคือ
# '''การเป็นกฎหมายสูงสุด (supreme law)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็นแม่บทของกฎเกณฑ์ทั้งปวง (master of law) โดยการวางแนวปฏิบัติให้กระบวนวิธีในการตรากฎหมายและเนื้อหาสาระในบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีกรอบในการกำกับควบคุมที่มีความแน่นอน สามารถช่วยในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้กฎหมายอื่นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้กฎหมายใด ๆ ที่ขัดรัฐธรรมนูญถูกนำมาใช้บังคับได้ไม่ว่าโดยองค์กรอำนาจใด
# '''การเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครอง (fundamental law)''' เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็นความชอบธรรมในการปกครอง (legitimacy of government) โดยการกำหนดที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรที่ทำหน้าที่หลักทางการเมืองการปกครองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และการกำหนดระเบียบของระบบความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรดังกล่าวให้เป็นไปตามครรลองของระบอบการปกครองที่ยึดถือ โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (parliamentary system) ทั้งนี้ เพื่อควบคุมให้การใช้อำนาจและการเชื่อมความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรหลักแต่ละฝ่าย สามารถรักษาความชอบธรรมอยู่ได้บนรากฐานของความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมาย
 
 
=== ศาลรัฐธรรมนูญ ===
 
[[ศาลรัฐธรรมนูญ]] (Constitutional Court) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มีบทบาทในทางตุลาการ ทำการพิพากษาคดีที่เกิดจากปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญหรือการนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติโดยการตีความรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษารัฐธรรมนูญให้มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถธำรงรักษาไว้ซึ่งระบบการปกครองโดยกฎหมาย (rule of law) อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันรองรับความยุติธรรมในการปกครอง แทนการปกครองด้วยกฎหมาย (rule by law) ที่เป็นการอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายเป็นหลักประกันรองรับการสร้างความสะดวกในการใช้อำนาจการปกครองให้มีความชอบธรรมโดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักประกันความยุติธรรมที่อิงกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง หรือการปกครองโดยคน (rule of men) ที่เป็นการใช้อำเภอใจของผู้ปกครอง เป็นบรรทัดฐานในการปกครองโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเห็นพ้องต้องกันของคนทั่วไป ทั้งนี้ โดยศาลรัฐธรรมนูญต้องรักษาระบบการปกครองโดยกฎหมายให้ครอบคลุมในองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ คือ (1) การรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมทั้งความเป็นกฎหมายสูงสุด และการเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองของรัฐธรรมนูญ (2) การพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมทั้งการรักษาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การแก้ไขปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญและการสร้างความก้าวหน้าทางการเมืองการปกครอง และ (3) การบังคับคดีรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันองค์กรอำนาจหลักทางการเมืองการปกครองครอบคลุมทั้งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
# การรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น หลักประกันความชอบธรรมของการปกครองโดยกฎหมาย โดยการรักษารัฐธรรมนูญไม่ให้ถูกละเมิด ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย หรือโดยการใช้อำนาจของผู้ปกครอง และองค์กรอำนาจหลักทางการเมืองการปกครองก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมายทั้งในภาคส่วนของกฎหมาย ภาคส่วนของคนที่เป็นผู้ปกครอง และภาคส่วนขององค์กรที่ใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง
# การพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น หลักประกันความก้าวหน้าของการปกครองโดยกฎหมาย โดยการรักษาสภาพบังคับในความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (rule maintenance) การแก้ปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญ (rule correction) และการสร้างความก้าวหน้าของระบบการเมืองการปกครอง (rule advancement) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสามารถทางปฏิบัติจากการนำรัฐธรรมนูญไปใช้ในภาคปฏิบัติหรือการนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติให้เกิดผลเกื้อกูลต่อการก่อพลวัต ทั้งต่อรัฐธรรมนูญเองและต่อระบบการเมืองการปกครองได้ โดยเฉพาะต่อผลในการปฏิรูปการเมืองการปกครองตามเจตนารมณ์เป้าหมายของรัฐธรรมนูญ
# การบังคับคดีรัฐธรรมนูญ เป็นหลักยึดพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็น หลักประกันความสัมฤทธิ์ผลของการปกครองโดยกฎหมาย โดยการวางบรรทัดฐานและผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ครอบคลุมทั้งอำนาจนิติบัญญัติที่ใช้ในการออกกฎหมาย อำนาจบริหารที่ใช้ในการบังคับใช้กฎหมาย และอำนาจตุลาการที่ใช้ในการพิพากษาคดีและตีความกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อสร้างประสิทธิผลจากคดีรัฐธรรมนูญให้ก่อผลกระทบต่อการจัดระเบียบทิศทางการใช้รัฐธรรมนูญขององค์กรอำนาจหลักทางการเมืองการปกครองให้กลับเข้าไปอยู่ในกรอบครรลองที่ถูกต้องของระบอบการเมืองการปกครองตามรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญกับการพัฒนาประชาธิปไตยในระบบนิติรัฐ
 
การพัฒนาประชาธิปไตยในระบบนิติรัฐของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นผลลัพธ์บั้นปลายจากการใช้ศาลรัฐธรรมนูญในการสร้างความก้าวหน้าของระบบการปกครองโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ทั้งในส่วนของการรักษาสภาพบังคับในความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (rule maintenance) การแก้ปัญหาทางการเมืองการปกครองที่เกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญ (rule correction) และการสร้างความก้าวหน้าของระบบการเมืองการปกครอง (rule advancement)
 
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคุณูปการที่สำคัญ ทั้งในการรักษารัฐธรรมนูญ พัฒนาประชาธิปไตย และคุ้มครองประชาชน โดยเฉพาะการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ในความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ การรักษาครรลองของระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
ศาลรัฐธรรมนูญกับการพัฒนาประชาธิปไตยในระบบนิติรัฐ จึงเป็นสัมพันธภาพร่วมกันระหว่างองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ส่วน คือ (1) นิติรัฐ (2) รัฐธรรมนูญ (3) ระบอบประชาธิปไตย (4) การปกครองโดยกฎหมายและ (5) ศาลรัฐธรรมนูญ
กล่าวคือ
# นิติรัฐ (Legal State) เป็นการสร้างระบบรัฐหรือประชาคมการเมืองให้มีสถาบันอำนาจทางการเมืองการปกครองที่มีกฎหมายเป็นฐานรากรองรับหลักประกันความยุติธรรม ทั้งในด้านการกำหนดเป้าหมาย วิธีการ และบรรทัดฐานในการทำหน้าที่พื้นฐานทางการเมืองการปกครองของรัฐ แทนการใช้กำลังบังคับและอำเภอใจของตัวบุคคลที่เป็นผู้ปกครอง
# รัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นการสร้างระบบกฎหมาย ระบอบการเมืองการปกครอง องค์กรอำนาจ และการกำกับการใช้อำนาจให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องเป็นองค์ประกอบที่เกื้อกูลกัน
# ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการสร้างระบอบการเมืองการปกครองที่เน้นจำกัดอำนาจรัฐและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน โดยประชาชนมีหลักประกันการเป็นเจ้าของอำนาจ มีส่วนร่วมในการใช้อำนาจ และได้รับประโยชน์ที่เป็นธรรมจากอำนาจ
# การปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) เป็นการสร้างระบบการเมืองการปกครองที่มีการขับเคลื่อนกลไกสถาบันทางการเมืองการปกครองให้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดได้ด้วยกระบวนวิธีทางกฎหมาย
# ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court) เป็นการสร้างหลักประกันการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเป้าหมายสูงสุดของนิติรัฐ คือความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย บรรทัดฐาน วิธีการ และเป้าหมายของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
โดยทั่วไปประกอบด้วยหลายแนวคิด เช่น
* Nullum crimen, nulla poena sine sine praevia lega poena - หลักการนี้หมายถึงการที่ไม่มีความผิด สำหรับเรื่องที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นความผิดและบัญญัติโทษไว้
* Presumption of innocence - หลักการที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะตัดสิน
* Double Jeopardy - หลักการที่ว่าด้วยบุคคลจะต้องไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำจากการกระทำความผิดเดิมของตน ยกเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีพยานหลักฐานอันสำคัญหรือเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่จะใช้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา หรือเรียกในภาษาละตินว่า “res judicata”
* Legal Equity - ปัจเจกชนทุกคนย่อมได้รับความเสมอภาคกัน โดยปราศจากความแตกต่างในเรื่องสถานะทางสังคม,[[ศาสนา]],แนวความคิดทางการเมือง, ฯลฯ ดังเช่นที่[[มองเตสกิเออ]] กล่าวไว้ว่า “[[กฎหมาย]]สมควรเป็นเช่นเดียวกับความตาย ซึ่งจะไม่ละเว้นผู้ใด”
แนวความคิดเรื่อง “Rule of Law” ในเนื้อแท้ของมันเองกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรนอกจากคำว่า “ความยุติธรรม” (justice) ในตัวกฎหมายเอง แต่หลักที่ง่ายกว่านั้นคือทำอย่างไรให้ระบบกฎหมายส่งเสริมตัวกฎหมาย เมื่อผลลัพธ์ของเรื่องนี้ทำให้ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่ได้ใช้หลักสิทธิมนุษยชนที่สามารถดำรงอยู่ได้โดยทั้งใช้หรือไม่ใช้หลัก “Rule of Law” แนวความคิดนี้มีผู้โต้แย้งหลายคนว่าสามารถนำไปใช้กับประเทศสาธารณประชาชนจีนได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม “Rule of Law” ถูกพิจารณาว่าเป็นหลักการเบื้องต้นของความเป็น[[ประชาธิปไตย]] ซึ่งเป็นหลักการที่มีหลักการทั่วไปสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างประเทศ[[สาธารณประชาชนจีน]]และประเทศตะวันตก
 
“Rule of Law” เป็นแนวความคิดที่มีมาแต่โบราณซึ่งตรวจสอบพบครั้งแรกในแนวความคิดของ Aristotle เป็นกฎที่มีที่มาจากความเป็นระเบียบตามธรรมชาติ มันเป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญในการพรรณนาแนวความคิดนี้ และมีผู้รู้ทางกฎหมายพยายามที่จะอธิบายมัน แนวความคิดในเรื่องความเป็นกลางของกฎหมายก็ถูกค้นพบในนักปรัชญาการเมืองชาวจีนด้วยในแนวความคิดสำนัก[[กฎหมายนิยม]] แต่ความเป็น[[รัฐบาลเผด็จการ]]ทำให้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในแนวความคิดทางการเมืองว่าอย่างน้อยที่สุดก็มีการเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ทางศีลธรรมของบุคคลหรือฐานะทางกฎหมายของอีกบุคคลหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามแม้ว่า[[ประเทศจีน]]จะไม่สนใจในเรื่องกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติแล้วพบว่ามีความจำเป็นที่จะเสแสร้งว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นเหตุผลที่เหมาะสมกับหลักการในการปกครอง
 
ในระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประเพณี “Rule of Law” ได้ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการต่อต้านเผด็จการและทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีอยู่อย่างจำกัด และเป็นการจำกัดอำนาจของรัฐบาล ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีการโต้แย้งเกี่ยวกับ “Rule of Law” ในเรื่องที่ว่ามันจะสามารถรักษาอำนาจของรัฐไว้ได้หรือไม่
 
แม้ว่าจะมีความเห็นร่วมกันทั้งในประเทศจีนและในประเทศตะวันตกว่า “Rule of Law” เป็นสิ่งดี แต่นี่ไม่ใช่ความจริงมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป [[รัฐบาลคอมมิวนิสต์]]หลายรัฐบาล รวมทั้งประเทศจีนในช่วง[[การปฏิวัติวัฒนธรรม]] ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดเรื่อง “Rule of Law” และตอบโต้ด้วยการนำหลักกฎหมายของ Marxist สำหรับการต่อสู้ในเรื่องชนชั้น ยิ่งกว่านั้น “Rule of Law” ยังลดความกลัวในเรืองรัฐบาลเผด็จการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎหมายที่คลุมเครือของรัฐบาล[[นาซี]]เยอรมัน ซึ่งทำให้ประชาชนกลัวรัฐบาล
 
===การพัฒนาในประเทศจีน===
“Rule of Law” ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการโต้แย้งทางเมืองในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และจะเป็นหลักการทั่วไปของทุกรัฐและทุกพรรคการเมืองและไปปรากฏในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีน
 
แม้ว่ากฎหมายอาจจะป้องกันรัฐบาลจากการโต้แย้งอื่น แต่ก็ยังสร้างระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพและลดความกลัวและความไม่เห็นด้วยของรัฐบาล ความพยายามในการรักษาอำนาจของรัฐ ดังนั้นประเทศจีนเองก็นำแนวความคิดเรื่อง “Rule of Law” ไปใช้แต่ไม่ได้เน้นที่แนวความคิดนี้แนวความคิดเดียว และแนวความคิดเรื่อง “Rule of Law” เองได้ป้องกันความแตกต่างของความเห็นภายในรัฐบาลจากความวุ่นวายที่ไม่สามารถควบคุมได้
ในบริบทของประเทศจีน กฎหมายคือการแสดงความเป็นประชาชน และกฎหมายได้สืบทอดอำนาจของมันเองจากเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งปรากฏชัดในตัวมันเองในการปฏิวัติของ[[คอมมิวนิสต์]] มันทำให้เห็นว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลโดยการป้องกันความวุ่นวายในสังคมซึ่งเราจะเห็นได้จากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม, ความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบุคลิกของ[[เหมา เจอ ตุง]] และการเพิ่มขึ้นของอำนาจรัฐบาลกลางมากกว่าการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น เป็นเรื่องแปลกที่หลายรัฐบาลทั้งสนับสนุนและไม่เห็นด้วยกับจุดมุ่งหมายและผลกระทบของ “Rule of Law” ในประเทศจีนเป็นการเพิ่มขึ้นของอำนาจแทนที่จะเป็นการลดอำนาจของ[[พรรคคอมมิวนิสต์]]ของประเทศจีน
 
มีข้อวิจารณ์จำนวนมากเกี่ยวกับหลักการ “Rule of Law” ในแนวความคิดหนึ่งที่ว่าเป็นการเน้นกระบวนการในการสร้างกฎหมาย โดยเป็นการมองข้ามเนื้อหาและผลลัพธ์ของกฎหมาย และมีข้อวิจารณ์ว่า “Rule of Law” เป็นหลักการที่สร้างชนชั้นปกครองขึ้นมาโดยอาศัยหลักกฎหมายเพราะว่าพวกชนชั้นปกครองเป็นคนกำหนดว่าความผิดใดสมควรที่จะได้รับการกำหนดไว้ในกฎหมายหรือไม่ ยังไม่รวมข้อวิจารณ์ที่ว่า “Rule of Law” สามารถป้องกันการกระทำตามอำเภอใจได้จริงหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศจีนใช้กระบวนการทางกฎหมายดำเนินการกับผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง การกระทำดังกล่าวอาจจะไม่เป็นการกระทำตามอำเภอใจหรือเป็นการกระทำของบุคคลที่มีความคิดโดยไม่มีหลักการ แต่อาจจะเป็นการกระทำที่ถูกต้องโดยหลักของกฎหมาย แต่เป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์อื่นแฝงอยู่ และมีข้อโต้แย้งว่า การมีส่วนประกอบของกฎหมายที่เลวดีกว่าไม่มีกฎหมายยกตัวอย่างของผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองสามารถโต้แย้งโดยใช้ “Rule of Law” เพื่ออย่างน้อยที่สุดผู้ไม่เห็นทางการเมืองก็ยังทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับตนเองในอนาคต
 
== รูปแบบของ “Rule of Law” ==
สำหรับ Shker ได้ทำการสำรวจประวัติศาสตร์ของ “Rule of Law” และได้สร้างรูปแบบของ “Rule of Law” ไว้ 2 รูปแบบ คือ
# “Rule of Law” ในฐานะ rule of reason ( ซึ่งแนวความคิดนี้สอดคล้องกับของ Aristotle ) และ
# “Rule of Law” ในฐานะที่ “Rule of Law” เป็นเครื่องมือที่จำกัดและป้องกันตัวแทนของรัฐบาลกดขี่คนส่วนใหญ่ของสังคม (ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับของ Monterquieu)
 
== ประเภทของ “Rule of Law” ==
John morrow ได้แบ่งประเภทของ “Rule of Law” ตามเวลาใน[[ประวัติศาสตร์]] ไว้ดังนี้คือ.-
# “Rule of Law” ในแนวความคิดทางการเมืองโบราณของ Plato และ Aristotle ในงานของ Plato “The Law” ชี้ว่ากฎหมายมีส่วนรักษาไว้ซึ่งระบบการเมืองใด ๆ และ[[ระบบกฎหมาย]]ควรเป็นเครื่องกำกับ ไม่ใช่เรื่องของการสงครามหรือการบรรลุถึงซึ่งความดีสูงสุด แต่เป็นเครื่องป้องกันผลประโยชน์ในการสร้างระบบทางการเมือง กฎหมายนั้นเป็นส่วนชดเชยต่อผู้ปกครองที่เป็น[[นักปราชญ์]] (philosophical rulers) ผู้ซึ่งมีปัญญาและมีคุณธรรมซึ่งจะทำให้เป็นการรับรองว่าผู้ปกครองจะกระทำการเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนรวมทั้งหมด ในส่วนของ Aristotle นั้นมองว่าหลัก “Rule of Law” นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของบุคคลคนเดียว เช่นเดียวกับที่ Plato เขียนไว้ใน “The Law” และ Aristotle นั้นเน้นไปที่[[กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ]](Unwritten custom) แต่ Aristotle ไม่ได้อธิบายว่าทำไมเขาจึงเน้นไปที่กฎหมายดังกล่าว อาจจะเป็นเพราะว่าเขาเห็นชอบด้วยกับหลักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) ซึ่งมีความสอดคล้องกัน
# "Rule of Law” ในแนวความคิดของ[[ยุคกลาง]]และยุคก่อน Modren นักคิดเหล่านี้ได้แก่ Braton, Aquinas, Marsilius,Seyssel และ Hooker งานของนักคิดในยุคกลางนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริบทความคิดเรื่องกษัตริย์ ประเด็นจึงอยู่ที่การจำกัดอำนาจทางการเมืองบนความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับกษัตริย์ นักคิดในสมัยกลางบางคนได้ถกเถียงถึงความเป็นไปได้ระหว่างอำนาจของกฎหมาย และอำนาจทางการเมือง โดยมีประเด็นว่ากษัตริย์จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่เขาสร้างเองหรือไม่ ซึ่งตัวอย่างสำคัญก็ได้แก่ความคิดที่เกิดขึ้นในอังกฤษในปี 1215 ซึ่งพวกขุนนางสำคัญของอังกฤษได้บังคับให้กษัตริย์ John อยู่ภายใต้กฎของ Magna Carta และบังคับให้กษัตริย์รับรองสิทธิของผู้ถูกปกครอง และมีเจตนาที่จะปกป้องพวกเขา
# “Rule of Law” ในศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ในฝรั่งเศลและ[[เยอรมัน]] ซึ่งเป็นแนวความคิดชอง Montesquieu และหลัก Rechsstaat ในส่วนของ Montesquieu นั้นแม้ว่าเขาจะใช้บางแง่มุมเกี่ยวกับแนวความคิดสำนักกฎหมายธรรมชาติ แต่เขาก็ได้เน้นไปที่คุณลักษณะของระบบ Positive Law ก็คือ ระบบกฎหมายโดยทั่วไปแล้วก็คือเหตุผลของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกฎในทางการเมืองหรือกฎหมายสำหรับประชาชนสำหรับแต่ละประเทศ ควรจะเป็นส่วนสำคัญของการนำไปใช้ได้กับเหตุผลของมนุษย์ โดยเขาเริ่มต้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของกฎหมายกับรูปแบบของรัฐบาล โดยรัฐบาลที่เป็น[[เสรีนิยม]]นั้นไม่มีผู้ใดจะได้รับการลงโทษโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งจะเป็นการช่วยรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบตรวจสอบของรัฐธรรมนูญ หรือเป็นการลดความเสี่ยงต่อการใช้อำนาจที่ผิดในทางการเมือง ดังนั้นความหมายของ “Rule of Law” ในความคิดของ Montesquieu แล้ว หมายถึงการที่กฎหมายได้รับการสนับสนุนจากความคิดของสาธารณชนและสิ่งอื่นที่มิใช่กฎหมายซึ่งจะจำกัดอำนาจเพื่อให้แน่ใจว่าการกระทำของรัฐบาลมีเหตุผลเพียงพอและสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ส่วนในความคิดเรื่อง “Rechsstaat” หรือ State of Law เป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้นก็มีพื้นฐานที่เชื่อว่ากฎหมายนั้นควรจะนำไปบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน
 
Andrew Heywood ได้กล่าวว่า ในความรู้สึกโดยทั่วไป กฎหมายก่อให้เกิดชุดของคำสั่ง หรือที่เรียกกันว่าคำสั่งห้ามและขนานนามกฎหมายให้ อย่างไรก็ตาม อะไรคือความแตกต่างระหว่างกฎหมาย กับกฎอันอื่นของสังคม ประการแรก กฎหมายเป็นสิ่งที่ทำโดยรัฐบาลและนำไปใช้ทั่วทั้งสังคม ในกรณีนี้ กฎหมายแสดงให้เห็นถึง “[[เจตนารมณ์ของรัฐ]]”( Will os State) และดังนั้นกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่อยู่เหนือบรรทัดฐานอื่นในสังคมและกฎอื่นในสังคม ประการที่สอง กฎหมายนั้นมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ประชาชนไม่มีสิทธิเลือกที่จะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟังกฎหมาย เพราะกฎหมายมีข้อบังคับและโทษสนับสนุนอยู่ ประการที่สาม กฎหมายมีลักษณะเป็นเรื่องของสาธารณะ กฎหมายนั้นต้องประกาศให้ประชาชนรับทราบและรับรู้โดยทั่วไป
==ทฤษฎี==
ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้ให้คำอธิบายในเรื่องนี้ไว้ พอสรุปได้ความว่า ตามแนวความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้น ถือว่าแม้รัฐจะมีอำนาจอธิปไตย แต่รัฐก็ต้องเคารพกฎหมายก่อน ซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฎีหลักๆ คือ
# ทฤษฎีว่าด้วยการจำกัดอำนาจของตนเองด้วยความสมัครใจ ( auto – limitation) ซึ่งเยียริ่ง (Ihering) และ (Jelinek) เป็นผู้เสนอ ซึ่งมีหลักว่ารัฐไม่อาจถูกจำกัดอำนาจโดยกฎหมายได้ เว้นแต่รับจะสมัครใจผูกมัดตนเองด้วยกฎหมายที่ตนสร้างขึ้น และกฎหมายหลักที่รัฐสร้างขึ้นก็คือรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดสถานะของอำนาจการเมืองในรัฐว่าอยู่ที่องค์กรใด ต้องใช้อย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร
# ทฤษฎีนิติรัฐ (Etat de Droit) ซึ่งรุสโซ และมองเตสกิเออ ได้เสนอแนวความคิดไว้เป็นคนแรก ๆ และ กาเร เดอ มัลแบร์ ได้สรุปแนวความคิดไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งพอสรุปได้ว่า “รัฐและหน่วยงานของรัฐทำการเพื่อประโยชน์สาธารณะและอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าเอกชน มีอำนาจก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิหน้าที่แก่เอกชนฝ่ายเดียวโดยปัจเจกชนไม่สมัครใจได้ กฎหมายมหาชนให้อำนาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ในฐานะที่เหนือกว่าเอกชน แต่กฎหมายนั้นเองก็จำกัดอำนาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่ให้ใช้อำนาจนอกกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้”
 
ผลที่ตามมาก็คือ จะต้องมีการควบคุมการกระทำขององค์กรของรัฐทุกองค์การให้ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ จะต้องควบคุมการกระทำและนิติกรรมทางการปกครองของฝ่ายปกครองให้ชอบด้วยกฎหมาย และจะต้องมีการควบคุมการกระทำขององค์กรตุลาการ ซึ่งได้แก่คำพิพากษาและคำสั่งของศาลให้ชอบด้วยกฎหมาย โดยจะต้องมีองค์กรและกระบวนการควบคุมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละระบบกฎหมาย
==แนวความคิดของหลักนิติรัฐ==
รองศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ให้คำอธิบายแนวความคิดของหลักนิติรัฐ ไว้ดังนี้ว่าหมายถึง
 
[[รัฐเสรีประชาธิปไตย]]ยอมรับรองและให้ความคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐาน]]ของราษฎรไว้ในรัฐธรรมนูญโดยอาจจำแนกสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวได้เป็น 3 ประเภท คือ.-
เส้น 146 ⟶ 22:
[[หมวดหมู่:กฎหมาย]]
 
[[En:RuleLegal of LawState]]