ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
Chisanapong (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 499:
== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ==
 
5
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีถูกบังคับและปฏิบัติตาม[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]] ซึ่งได้ทำลายเศรษฐกิจของเยอรมนีลงจนย่อยยับ และห้ามมิให้เยอรมนีสร้างเครื่องบิน เรือดำน้ำ และเรือรบขนาดใหญ่ เยอรมนีสูญเสียดินแดนอาณานิคมทั้งหมด และห้ามสร้างสัมพันธไมตรีกับ[[ออสเตรีย]]และ[[นครเสรีดันซิก]]ที่เพิ่งเกิดใหม่ ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ อังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็หวาดกลัวสงครามโลกอีกครั้งหนึ่ง จึงดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับเยอรมนี ส่วนฮิตเลอร์มีเป้าหมายที่จะฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย การขยายดินแดนของเยอรมนี และ "เลเบนสเราม์"
 
ตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา ฮิตเลอร์และพลพรรคนาซีเดินหน้าเพิ่มกำลังทหารของประเทศและใช้อุบายทางการเมืองเพื่อที่จะยกระดับตนให้ทัดเทียมกับนานาชาติในเวทีโลกซึ่งขัดกับสนธิสัญญาแวร์ซาย และเป็นเหตุให้[[อังกฤษ]] [[ฝรั่งเศส]]และ[[อิตาลี]]ต้องหันมาให้ความสนใจในปัญหาที่เกิดขึ้นจากนาซีเยอรมนี แต่ทว่าพันธมิตรทั้งสามไม่ลงรอยกันเอง อังกฤษเองนั้นถึงกับยอมทำสนธิสัญญาแยกต่างหากเพื่อรักษาสัมพันธไมตรีกับเยอรมนี พันธมิตรดังกล่าวจึงล่มสลาย และ[[สันนิบาตชาติ]]ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ยังคงดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ และเขายังปรารถนาที่จะร่วมเป็นพันธมิตรกับอิตาลี แต่อิตาลีมักจะไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ
 
ในปี 1935 ฮิตเลอร์สั่งเกณฑ์ทหาร จัดตั้งกองทัพอากาศ และส่งกำลังทหารกลับเข้าสู่แคว้นซาร์ แต่ไม่ได้รับการตอบโต้จากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ประการใด ซึ่งเป็นเหตุให้ฮิตเลอร์เกิดความฮึกเหิมและก้าวร้าวมากขึ้น ในปีต่อมา ฮิตเลอร์ได้เริ่มใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น ในปี 1937 ฮิตเลอร์ส่งกองกำลังไปช่วยเหลือฝ่ายชาตินิยมสเปน ภายใต้การนำของนายพล [[ฟรานซิสโก ฟรังโก]] ใน[[สงครามกลางเมืองสเปน]]
 
[[ไฟล์:Munich agreement.jpg|thumb|right|200px|[[การประชุมมิวนิก]] นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิลล์ เชมเบอร์แลนด์ยอมยกแคว้นซูเดเตนแลนด์ให้แก่ฮิตเลอร์]]
 
ในปี 1938 เยอรมนีผนวกเอาดินแดนออสเตรีย อิตาลีซึ่งมีท่าทีต่อต้านเยอรมนีมิให้ยึดครองออสเตรียมาตั้งแต่การลงนามใน[[สนธิสัญญาเหล็ก]] เมื่ออังกฤษและอิตาลีปราศจากผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว อิตาลีจึงเริ่มเปลี่ยนท่าทีโอนเอียงไปหาเยอรมนีแทน ต่อมาก็ยังได้ดินแดน[[ซูเดเตนแลนด์]]และ[[เชโกสโลวาเกีย]] อังกฤษซึ่งยังคงเชื่อว่าฮิตเลอร์ไม่ปรารถนาสงคราม นายกรัฐมนตรีอังกฤษ [[เนวิลล์ เชมเบอร์แลนด์]] จึงได้ลงนามยกแคว้นซูเดเตนแลนด์ให้แก่เยอรมนี ด้วยหวังว่าเยอรมนีจะไม่แสวงหาดินแดนอื่นเพิ่มเติมในทวีปยุโรป เนวิลล์คิดว่าตนได้ปฏิบัติภารกิจได้ประสบความสำเร็จแล้วเมื่อฮิตเลอร์ยอมตอบตกลง แต่หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ก็เข้าผนวกเชโกสโลวาเกียอีก
 
หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ได้พุ่งเป้าไปยังโปแลนด์และ[[ฉนวนโปแลนด์]] เขาต้องการให้มีการทบทวนการกำหนดพรมแดนใหม่กับโปแลนด์ แต่โปแลนด์ปฏิเสธที่จะยอมรับการผนวก[[นครเสรีดันซิก]]เข้ากับเยอรมนี ไม่นานก่อนหน้าการบุกครองโปแลนด์ ฮิตเลอร์ได้ลงนามใน[[สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอป|สนธิสัญญาไม่รุกรานกันกับสหภาพโซเวียต]] เพื่อเป็นการแบ่งปันเขตอิทธิพลของตนใน[[ยุโรปตะวันออก]] และเมื่อถึงวันที่ [[1 กันยายน]] 1939 กองทัพเยอรมนีการบุกครองโปแลนด์ และนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนีและให้การช่วยเหลือโปแลนด์ก็ตาม แต่ผลก็แทบจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเลย ซึ่งเป็นระยะที่เรียกกันว่า "[[สงครามลวง]]"
 
ในปี 1940 เยอรมนีรุกรานเดนมาร์กและนอร์เวีย เพื่อลดการตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากความหวาดระแวงในท่าทีของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งยังได้โจมตีไปทางทิศตะวันตก ยึดครอง[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]]และประเทศฝรั่งเศส โดยเยอรมนียินยอมให้ผู้ชาตินิยมและวีรบุรุษสงคราม [[ฟิลิป เปแตง]] จัดตั้งการปกครองภายใต้ระบอบ[[ฟาสซิสต์]] เรียกชื่อประเทศว่า "รัฐฝรั่งเศส" หรือเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางกว่า คือ [[วิชีฝรั่งเศส]]
 
ในปี 1941 เยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในความพยายามที่จะพิชิตดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลตามนโยบาย ''[[เลเบนสเราม์]]'' สำหรับพลเมืองสัญชาติเยอรมัน โดยรัฐบาลสัญญาว่าจะมีการจัดตั้ง
 
ในช่วงหลังจากปี 1943 ทิศทางของสงครามเปลี่ยนแปลงไป เยอรมนีถูกบังคับให้ต้องยึดครองดินแดนของอิตาลี ซึ่งรัฐบาลของมุสโสลินีหมดอำนาจลง และจัดตั้งรัฐบาล[[สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี]] กองทัพเยอรมันต้องสู้กับกองทัพพันธมิตรทั้ง 3 แนวรบ เยอรมนีในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองถูกโดดเดี่ยวทางการทูตอย่างหนัก และไม่อาจต้านทานกองทัพสัมพันธมิตรที่รุกเข้ามาจากทั้งทางทิศตะวันตก ตะวันออกและทิศใต้ เมื่อรัฐบาลใหม่ของเยอรมนีประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ [[8 พฤษภาคม]] 1945
 
== อ้างอิง ==