ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
→‎บทบาทในสังคม: แก้คำผิด
บรรทัด 272:
คณะเภสัชศาสตร์ให้บริการความรู้ทางเภสัชกรรมเบื้องต้นแก่ประชาชน ผ่านเครือข่ายเภสัชสนเทศ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนของคณะ หรือโอสถศาลา<ref>เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ, โอสถศาลา ร้านยาสร้างเสริมสุขภาพ. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> และวารสาร ''ไทยเภสัชสาร'' นอกจากนี้ยังร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของเภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขโดยการจัดตั้งหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง<ref>[http://www.pharm-ce-chula.com/ หน่วยงานศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> อาทิ ความร่วมือกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) สมาคมเภสัชกรรมชุมชน เป็นต้น ในส่วนของนิสิตมีการจัดทำวารสารรายปีในชื่อ ''ฟามาซีแอนด์ดิอาเทอร์'' ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเกร็ดความรู้ทางยาและเภสัชกรรม รวมถึงความรู้ด้านเครื่องสำอาง และเกร็ดความรู้อื่นๆ<ref name="pato"/> คณะเภสัชศาสตร์ยังจัดตั้งศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรมซึ่งได้รับทุนร่วมสนุบสนุนจากองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมขององค์การสหประชาชาติ (UNIDO) จัดปฏิบัติการทดสอบชีวสมมูลของยา การทดสอบทางพิษวิทยาคลินิก การวิเคราะห์ยาโดยได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025<ref>[http://www.thaifda.com/wp-gpiip/wp-content/uploads/file/unido%20cu_binder.pdf เอกสารแนะนำ ศูนย์บริการเทคโลโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ]</ref> และยังมีแผนจัดตั้งศูนย์บริการทดสอบด้านสมุนไพรในอนาคตอีกด้วย<ref name="80ปี"/>
 
นิสิตและนิสิตเก่าของคณะมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองของประเทศ ในปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาของคณะ (สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) ก็มีส่วนร่วมในการเดินขบวน[[คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505|ในกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร]]<ref>ประวัติสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน ''60 ปี สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> รวมถึงใน[[เหตุการณืเหตุการณ์ 14 ตุลา]]ซึ่งมีนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม อาทิ [[ธิดา ถาวรเศรษฐ|เภสัชกรหญิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ]]และ[[จิระนันท์ พิตรปรีชา]] ด้านวิชาชีพคณะเภสัชศาสตร์ยังร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ การผลักดันให้เกิดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองเภสัชกรรมในประเทศไทยครบรอบ 100 ปี ครบถ้วนทุกสาขาของวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรมการตลาด เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน และเภสัชกรรมคุ้มครองผู้บริโภค การจัดงาน "สัปดาห์เภสัชจุฬาฯ ไม่แขวนป้าย" เพื่อร่วมรณรงค์จรรยาบรรณเภสัชกรและกระตุ้นเตือนนิสิต<ref>[http://pharmacycouncil.org/share/file/file_147.pdf สารสภาเภสัชกรรม] ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2554</ref> การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม เป็นต้น และจาก[[อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554]] นิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ได้ผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงโดยมีคณาจารย์เภสัชกรเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 180,000 ชุด ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของภาคประชาชนและคณะ<ref>[http://www.pharm.chula.ac.th/upload/booklet/1336031466.pdf จุลสารกระถินณรงค์ประจำปี 2554</ref> และได้รับคัดเลือกให้เป็น "โครงการดีเด่น" ประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการระดับ "ดีเด่น" ในการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ของ[[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]]ประจำปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย<ref>[http://www.chula.ac.th/cic/oldnews/CU_P021697.html สองโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากจุฬาฯ ได้รับรางวัลดีเด่นโครงการแนวปฏิบัติที่ดีจาก สกอ.]</ref>
 
== อ้างอิง ==