ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
M sky (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 246:
 
== กิจกรรมและประเพณีของคณะ ==
กิจกรรมนิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการบริหารจัดการโดยสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยงานของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมภายในคณะสามารถแบ่งกิจกรรมออกได้หลายลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมเชิงสันทนาการ เป็นกิจกรรมมุ่งเพื่อสร้างความบันเทิงและความสามัคคีกลมเกลียวให้เกิดแก่นิสิตเป็นหลัก อาทิ กิจกรรมสู่รั้วกระถินณรงค์และกิจกรรมรับน้องเพื่อต้อนรับน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 สู่คณะเภสัชศาสตร์ งานคืนถิ่นกระถินณรงค์เป็นงานคืนสู่เหย้าของนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์และร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ รวมไปถึงกิจกรรมบายบายเฟรชชีและส่งพี่ข้ามฟาก ซึ่งถือเป็นประเพณีของคณะที่จะต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 2 ซึ่งเดิมเรียนในพื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทหรือจุฬาฯใหญ่ มาเรียนในคณะอย่างเต็มตัว<ref name="60to">60 ปี สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ''สรุปกิจกรรมตลอดปีการศึกษา''; 189-205. ISBN 978-616-551-471-2</ref> กิจกรรมกีฬาประกอบไปด้วยการแข่งขันกีฬาสีภายใน การแข่งขันฟุตบอลกระถินณรงค์คัพซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรภายในคณะ ในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางเภสัชกรรมได้แก่การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน โอสถศาลาขึ้นทุกปี ร่วมกับสภาเภสัชกรรม การจัดค่ายอยากเป็นเภสัชกรสำหรับนิสิตช่วงชั้นที่ 4 ในแผนการเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา<ref>[http://www.247friend.net/blog/top-admission/2010/11/04/entry-1 โครงการค่ายอยากเป็นเภสัชกร (Pharma Camp) สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7] เรียกข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555</ref> การจัดบรรยายสายงานในวิชาชีพแก่นิสิต นอกจากนี้ยังมีการจัดทำวารสาร ''ฟามาซีแอนด์ดิอาเทอร์'' (Pharmacy and the others) เพื่อเผยแพร่ความรู้ข่าวสารวงการเภสัชกรรมแจกแก่ประชาชนทั่วไปเป็นรายปี<ref name="pato">หัทยา บัลภาพินันท์, 60 ปี สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ''Pharmacy and thwthe others''; 154-157. ISBN 978-616-551-471-2</ref> นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม ได้แก่ การรดน้ำดำหัวคณาจารย์และเภสัชกรอาวุโสในวันสงกรานต์ การตักบาตรในวันสำคัญ และการจัดพิธีไหว้ครูช่วงต้นปีการศึกษา ตลอดจนวันสำคัญของคณะ คือวันคล้ายวันครบรอบสถาปนาคณะ<ref name="60to"/>
 
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้แก่ สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ส.จ.ม.) ได้แก่ กิจกรรมวันแรกพบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>[http://www.manager.co.th/campus/ViewNews.aspx?NewsID=9550000057832 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ] '''ซุปเปอร์ฮีโร่น้องใหม่จุฬาฯ บุก “CU First Date’55"''' เรียกข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555</ref> การจัดการแข่งขันกีฬาน้องใหม่<ref>[http://www.unigang.com/Article/2765 Unigang] '''ชีวิตน้องใหม่ กีฬาเฟรชชี่''' เรียกข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555</ref><ref>[http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000075427 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ] ''' หนุ่มสาวหน้าใสเฟรชชี่ลูกพระเกี้ยว ร่วมงาน “กีฬาน้องใหม่ ‘54”'''เรียกข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555</ref> การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ จุฬาฯวิชาการ<ref>จุฬาฯ วิชาการ เดอะ เธอร์ทีนส์ ''เรื่องน่ารู้เกี่ยกับจุฬาฯ วิชาการ'' หน้า 35</ref> ความร่วมมือของส่วนงานระหว่างคณะ ได้แก่ การจัดการแข่งขันกีฬาห้าหมอของนิสิตกับคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการออกค่ายอนามัยชุมชน การแข่งขันกีฬาบุคลากร ส่วนหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยได้แก่ ความร่วมมือกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) ได้แก่ แรกพบ สนภท.<ref>[http://www.manager.co.th/campus/ViewNews.aspx?NewsID=9550000057832 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ] '''ซุปเปอร์ฮีโร่น้องใหม่จุฬาฯ บุก “CU First Date’55"''' เรียกข้อมูลวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555</ref> ค่ายหมอยาสร้างเสริมสุขภาพและเรียนรู้ชุมชน และกีฬาเภสัชสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์จุฬาฯ-มหิดลในการแข่งขันกีฬาสองเม็ด<ref> นสภ.ฐิติรัตน์ ลิ่มดุลย์ ใน 60 ปี สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ''กีฬาสองม็ด'' ; 146-149. ISBN 978-616-551-471-2</ref>
 
== การยอมรับในสังคม ==
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วทั้งสิ้น 7,760 คน<ref>ทำเนียบนิสิตเก่า คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน 95 ปี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกข้อมูลวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555</ref><ref name="รายงานประเมิน53">คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายใน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ, รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน กรกฎาคม 2553</ref><ref>รายงานการประเมินตนเอง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552</ref><ref>หนังสือกระถินณรงค์ 2555</ref> มีนิสิตสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553 จำนวน 249 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาบัณฑิต 184 คน ระดับปริญญามหาบัณฑิต 56 คนและระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต 9 คน<ref name="รายงานประเมิน53"/> นิสิต นิสิตเก่า และคณาจารย์ของคณะมีส่วนสำคัญในการผลักดันวิชาชีพเภสัชกรรมให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ตัั้งแต่การจัดตั้ง[[เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์]]โดย[[พระมนตรีพจนกิจ]] อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ ร่วมกับเภสัชกรท่านอื่นๆ อีก 64 คน<ref>[http://www.thaipharma.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=500265 ประวัติเภสัชกรรมสมาคมฯ] เรียกข้อมูลวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555</ref> และมีส่วนในการผลักดันพระราชบัญญัติยาให้เกิดขึ้นในสังคมไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510<ref>ประนอม โพธิยานนท์,รศ.ภญ., วิวัฒนาการวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2530</ref> นอกจากนี้คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ยังได้สร้างแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบยาในประเทศไทย และมีผลงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติยาฉบับประชาชน<ref>[http://www.thaidrugwatch.org/news_detail.php?n_no=194 ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ. .... (ฉบับประชาชน)] กพย. เรียกข้อมูลวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555</ref> แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนในด้านยาและวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชน รวมถึงมีส่วนร่วมในการผลักดันธรรมนูญสุขภาพขึ้นในสังคมไทย<ref>[http://www.thaihealthconsumer.org/ ความเป็นมาของแผนงาน : “ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของ ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)] เรียกข้อมูล 12 มกราคม พ.ศ. 2555</ref> และยังมีส่วนร่วมในการจัดตั้งมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส) เพื่อพัฒนาวิชาชีพและการศึกษาเภสัชศาสตร์ในสังคมไทย รวมถึงการมอบรางวัลให้กับเภสัชกรที่ทำประโยชน์แก่สังคม<ref>มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม:แนวคิด ความเป็นมา และเป้าหมาย</ref>
 
คณะเภสัชศาสตร์ให้บริการความรู้ทางเภสัชกรรมเบื้องต้นแก่ประชาชน ผ่านเครือข่ายเภสัชสนเทศ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนของคณะ หรือโอสถศาลา<ref>เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ, โอสถศาลา ร้านยาสร้างเสริมสุขภาพ. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> และวารสารไทยเภสัชสาร นอกจากนี้ยังร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของเภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขโดยการจัดตั้งหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง<ref>[http://www.pharm-ce-chula.com/ หน่วยงานศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> อาทิ ความร่วมือกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) สมาคมเภสัชกรรมชุมชน เป็นต้น ในส่วนของนิสิตมีการจัดทำวารสารรายปีในชื่อ ''ฟามาซีแอนด์ดิอาเทอร์'' ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเกร็ดความรู้ทางยาและเภสัชกรรม รวมถึงความรู้ด้านเครื่องสำอาง และเกร็ดความรู้อื่นๆ<ref name="pato"/> ด้านวิชาชีพคณะเภสัชศาสตร์ยังร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ การผลักดันให้เกิดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองเภสัชกรรมในประเทศไทยครบรอบ 100 ปี ครบถ้วนทุกสาขาของวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชุตสาหกรรม เภสัชกรรมการตลาด เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน และเภสัชกรรมคุ้มครองผู้บริโภค การจัดงาน "สัปดาห์เภสัชจุฬาฯ ไม่แขวนป้าย" เพื่อร่วมรณรงค์จรรยาบรรณเภสัชกรและกระตุ้นเตือนนิสิต<ref>[http://pharmacycouncil.org/share/file/file_147.pdf สารสภาเภสัชกรรม] ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2554</ref> การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม เป็นต้น
 
จาก[[อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554]] นิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ได้ผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงโดยมีคณาจารย์เภสัชกรเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 180,000 ชุด ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของภาคประชาชนและคณะ<ref>[http://www.pharm.chula.ac.th/upload/booklet/1336031466.pdf จุลสารกระถินณรงค์ประจำปี 2554</ref> และได้รับคัดเลือกให้เป็น "โครงการดีเด่น" ประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการระดับ "ดีเด่น" ในการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ของ[[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]]ประจำปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย<ref>[http://www.chula.ac.th/cic/oldnews/CU_P021697.html สองโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากจุฬาฯ ได้รับรางวัลดีเด่นโครงการแนวปฏิบัติที่ดีจาก สกอ.]</ref>
 
== อ้างอิง ==