ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 107:
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ภูมิประเทศ ===
[[Fileไฟล์:Khaoyai panorama2.jpg|right|200px|thumb|[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]]]
จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บน[[ที่ราบสูงโคราช]] ห่างจาก[[กรุงเทพ]] 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคือ[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]และ[[อุทยานแห่งชาติทับลาน]]ร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่<ref name="สำนักงานจังหวัด">ที่ตั้งและอาณาเขต [http://www.nakhonratchasima.go.th/nakhonrat/index.php สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา] สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555</ref> ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี
 
บรรทัด 623:
โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมามีโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และการค้าส่งค้าปลีก ซึ่งมีอัตราสัดส่วนโครงสร้างร้อยละ 22.46, 19.82 และ 14.91 ตามลำดับ<ref name="สำนักงานจังหวัด2"/> ในภาคการเกษตร จังหวัดมีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น 8,931,032 ไร่ แบ่งเป็น ปลูกข้าว จำนวน 4,329,724 ไร่ พืชไร่จำพวก[[ข้าวโพด]] [[มันสำปะหลัง]] [[ปอ[[ [[ฝ้าย]] และ[[ข้าวฟ่าง]] จำนวน 3,793,602 ไร่ และปลูกพืชสวน 632,170 ไร่ มีครัวเรือนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 326,587 ครัวเรือน<ref name="สำนักงานจังหวัด2">ภาวะเศรษฐกิจ [http://www.nakhonratchasima.go.th/nakhonrat/index.php สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา] สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555</ref> โดยมีพืชเศรษฐกิจ 3 อันดับแรก คือ ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด การเลี้ยงไหมโดยเฉพาะที่[[อำเภอปักธงชัย]]เป็นแหล่งผ้าไหมที่ขึ้นชื่อ อาชีพการทำป่าไม้ และการประมงน้ำจืดตามลุ่มน้ำ
 
ในภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2553 จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานทั้งสิ้น 2,398 โรงงาน มีมูลค่าการลงทุน ประมาณ 119 ล้านบาท<ref name="สำนักงานจังหวัด2"/> ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 18.84 อุตสาหกรรมขนส่งเฉลี่ยร้อยละ 12.27 อุตสาหกรรมอโลหะเฉลี่ยร้อยละ 11.38 และอุตสาหกรรมอาหารเฉลี่ยร้อยละ 10.02<ref>[http://klang.cgd.go.th/nma/report/cfo/ef-5405.pdf สรุปภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดนครราชสีมา] สํานักงานสำนักงานคลังจังหวัดนครราชสีมา</ref> สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีแร่ที่สำคัญคือ [[หินบะซอลต์]] [[หินปูน]] และ [[เกลือหิน]] โดยเฉพาะเกลือหิน พบมากในตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด
 
ปี พ.ศ. 2553 จังหวัดนครราชสีมามีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product - GPP) เท่ากับ '''187,693 ล้านบาท''' และ ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (GPP per capita) เท่ากับ '''66,670 บาท'''<ref>[http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=96 ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2538 - 2553 (ปรับปรุง ปี 2555)], สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.</ref>