ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยฮัน ชเตราส์ (ผู้พ่อ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต แก้ไข: fr:Johann Strauss
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 11:
ต่อมาเขาได้เลื่อนขั้นเป็นผู้แทน[[วาทยากร]]ใน[[วงดุริยางค์]]ที่เขาเล่นอยู่ และในปี พ.ศ. 2368 ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีของตนเองขึ้น และเริ่มประพันธ์เพลงสำหรับเล่นเองในวง เขาได้กลายเป็นนักประพันธ์เพลงเต้นรำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและเป็นที่รักของผู้ฟังมากที่สุดคนหนึ่งใน[[เวียนนา]] และได้นำวงของเขาออกเดินสายเปิดการแสดงใน[[ประเทศเยอรมนี|เยอรมนี]] [[ประเทศเนเธอแลนด์|เนเธอร์แลนด์]] [[ประเทศเบลเยียม|เบลเยี่ยม]] [[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]] และ [[ประเทศสก็อตแลนด์|สก็อตแลนด์]] ในขณะเดินทางต่อไปยัง[[ประเทศฝรั่งเศส]] เขาได้ยินเพลง[[ควอดริล]]และเริ่มแต่งขึ้นมาเองบ้าง และเป็นผู้ที่ทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักใน[[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]]
 
สเตร๊าสส์สมรสกับมาเรีย อันนา สไตรม์ ในปี[[พ.ศ. 2368]] (ค.ศ. 1825) ที่โบสต์แห่งหนึ่งในเมืองไลช์เทนธัล ชานกรุง[[เวียนนา]] ชีวิตสมรสของเขาไม่ค่อยจะราบรื่น และการออกตระเวนเปิดการแสดงในต่างประเทศบ่อยทำให้เขาห่างเหินจากครอบครัวขึ้นทุกที และทำให้เขารู้สึกเป็นคนแปลกหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาเขามีภรรยาน้อยชื่อ เอมิล แทรมบุช ในปี[[พ.ศ. 2377]] (ค.ศ. 1834) ที่เขามีบุตรด้วยถึงแปดคนด้วยกัน เหตุผลส่วนตัวของสเตร๊าสส์อาจเป็นสาเหตุให้[[โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่สอง]] ได้พัฒนาเป็นนักประพันธ์เนื่องจากโยฮันน์ บิดาได้ห้ามมิให้บุตรชายเรียนดนตรี ด้วยการประกาศยอมรับบุตรสาวที่เกิดจากเอมิลอย่างเปิดเผย มาเรีย อันนาได้ฟ้องหย่าในปี[[พ.ศ. 2387]] (ค.ศ. 1844) และได้อนุญาตให้โยฮันน์ จูเนียร์ ได้เรียนดนตรีอย่างจริงจัง โยฮันน์ บิดา เป็นผู้ที่ยึดกฏกฎระเบียบเคร่งครัด และบังคับให้บุตรประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี ความคิดส่วนตัวของสเตร๊าสส์ไม่ค่อยชัดเจนนัก เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับคนในครอบครัว แต่เขาก็เข้าใจความลำบากที่นักดนตรีที่กำลังก่อร่างสร้างตัวต้องเผชิญเป็นอย่างดี
 
นอกเหนือจากปัญหาครอบครัวแล้ว เขายังได้ไปเปิดการแสดงในเกาะอังกฤษบ่อยครั้ง และเตรียมที่จะเขียนบทเพลงให้กับองค์กรการกุศลที่นั่น เพลงวอลซ์ของเขาพัฒนาจากระบำชาวนาในจังหวะสาม/สี่ เป็นสี่/สี่ และมีท่อนนำ และไม่ค่อยมีการอ้างถึงโครงสร้างเพลงวอลซ์แบบห้า/สองที่ตามมา และมักจะมีท่อนสร้อยสั้น ๆ อีกทั้งท่อนจบที่เร่งเร้า ในขณะที่[[โยฮันน์ สเตร๊าสส์ จูเนียร์]] ผู้เป็นบุตร ได้ขยายโครงสร้างเพลงวอลซ์และใช้เครื่องดนตรีมากกว่าบิดา และแม้ว่าสเตร๊าสส์ ผู้เป็นบิดามีความสามารถทางดนตรีไม่เก่งกาจเท่าบุตรชายของเขา หรือไม่มีหัวการค้าเท่าไหร่นัก เขาก็เป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงเพียงไม่กี่คน (รวมทั้ง[[โยเซฟ แลนเนอร์]]ที่แต่งเพลงพร้อมกับตั้งชื่อเพลง ทำให้ผู้คนจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังเพิ่มยอดขายของโน้ตอีกด้วย