ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาสันสกฤต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 26:
=== ภาษาสันสกฤตแบบแผน ===
[[ไฟล์:Phrase sanskrit.png|thumb|right]]
เกิดขึ้นจากการวางกฎเกณฑ์ของภาษาสันสกฤตให้มีแบบแผนที่แน่นอนในสมัยต่อมา โดยนักปราชญ์ชื่อ '''[[ปาณินิ]]'''ตามประวัติเล่าว่าเป็นผู้เกิดในตระกูล[[พราหมณ์]] [[แคว้นคันธาระ]]ราว 57 ปีก่อน[[พุทธปรินิพพาน]] บางกระแสว่าเกิดราว [[พ.ศ. 143]] ปาณินิได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถหาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ จึงจัดรวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียบเรียงเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บทให้ชื่อว่า '''[[อัษฏาธยายี]]''' มีสูตรเป็นกฏเกณฑ์กฎเกณฑ์อธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน นักวิชาการสมัยใหม่มีความเห็นว่า วิธีการศึกษาและอธิบายภาษาของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้สังเกตเห็นจริง มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อส่วนตัว มิได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักปรัชญา คัมภีร์อัษฏาธยายีจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นตำรา[[ไวยากรณ์]]เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนว[[วิทยาศาสตร์]]และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ความสมบูรณ์ของตำราเล่มนี้ทำให้เกิดความเชื่อในหมู่พราหมณ์ว่า ตำราไวยากรณ์สันสกฤตหรือปาณินิรจนานี้ สำเร็จได้ด้วยอำนาจ[[พระศิวะ]] อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าการวางแบบแผนอย่างเคร่งครัดของปาณินิ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตต้องกลายเป็นภาษาตายอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} เพราะทำให้สันสกฤตกลายเป็นภาษาที่ถูกจำกัดขอบเขต (a fettered language) ด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ที่เคร่งครัดและสลับซับซ้อน ภาษาสันสกฤตที่ได้ร้บการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้ดีขึ้นโดยปาณินินี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า '''"เลากิกภาษา"''' หมายถึงภาษาที่ใช้กับสิ่งที่เป็นไปในทางโลก
 
=== ภาษาสันสกฤตผสม ===