ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัญกรณ์โอใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ในวิชา[[ทฤษฎีความซับซ้อน]]และ[[คณิตศาสตร์]] '''สัญกรณ์โอใหญ่''' ({{lang-en|Big O notation}}) เป็น[[สัญกรณ์คณิตศาสตร์]]ที่ใช้บรรยาย[[พฤติกรรมเชิงเส้นกำกับ]]ของ[[ฟังก์ชัน]] โดยระบุเป็น[[ขนาด]] (magnitude) ของฟังก์ชันใน[[พจน์ (คณิตศาสตร์)|พจน์]]ของฟังก์ชันอื่นที่โดยทั่วไปซับซ้อนน้อยกว่า สัญกรณ์โอใหญ่เป็นหนึ่งใน'''[[สัญกรณ์เชิงเส้นกำกับ]]''' หรืออาจเรียกว่า '''สัญกรณ์ของลันเดา''' หรือ '''สัญกรณ์ของบัคแมนน์-ลันเดา''' (ตั้งชื่อตาม[[เอ็ดมุนด์ ลานเดา]]และ[[เพาล์ บาคมันน์]]) สัญกรณ์โอใหญ่ใช้ในการเขียนเพื่อประมาณ[[พจน์ (คณิตศาสตร์)|พจน์]]ใน[[คณิตศาสตร์]] ประยุกต์ใช้ใน[[วิทยาการคอมพิวเตอร์]]เพื่อใช้อธิบายความเร็วประมาณในการทำงานของ[[โปรแกรม]]ในกรณีต้องประมวลผล[[ข้อมูล]]จำนวนมาก และใช้เพื่ออธิบายประสิทธิภาพของ[[ขั้นตอนวิธี]]หรือ[[โครงสร้างข้อมูล]]นั้น ๆ
 
สัญกรณ์โอใหญ่ระบุลักษณะของฟังก์ชั่นตามอัตราการเติบโต ถึงแม้ฟังก์ชั่นจะต่างกัน แต่ถ้ามีอัตราการเติบโตเท่ากันก็จะมีสัญกรณ์โอใหญ่เท่ากัน สำหรับสัญกรณ์โอใหญ่แล้ว จะพิจารณาเฉพาะ[[ขอบเขตบน]]ของอัตราการเติบโตของฟังก์ชั่น อาทิฟังก์ชัน <math>n^2+n</math> และ <math>n+4</math> ล้วนมีอัตราการเติบโต''น้อยกว่า''หรือ''เท่ากับ'' <math>n^2</math> นั่นคืออัตราการเติบโตของฟังก์ชั่นในระดับ <math>n^2</math> เป็นขอบเขตบนของ <math>n^2+n</math> และ <math>n+4</math> จึงอาจกล่าวได้ว่า <math>n^2+n</math> และ <math>n+4</math> เป็นสมาชิกของเซตของฟังก์ชัน <math>O (n^2) </math> ในขณะที่สัญกรณ์เชิงเส้นกำกับอื่น พิจารณาขอบเขตอื่น ๆ เช่น[[สัญกรณ์โอเมกาใหญ่]]พิจารณา[[ขอบเขตล่าง]]ของอัตราการเติบโตของฟังก์ชั่นแทน
 
== ประวัติ ==