ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อรอำไพ โกมารกุล ณ นคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweethaも (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: Removing from หมวดหมู่:สกุลโกมารกุล ณ นคร
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{Infobox Person
| name = อรอำไพ โกมารกุล ณ นคร
| image =
| caption =
| birth_name = หม่อมเจ้าอรอำไพ เกษมสันต์
| birth_date = [[6 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2453]]
| birth_place =
| death_date = {{วันตายและอายุ|2553|11|4|2453|2|6}}
| death_place =
| residence =
| nationality =
| known_for =
| employer =
| occupation =
| height =
| term =
| parents = [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์]]</br>หม่อมทองสุก เกษมสันต์ ณ อยุธยา
| spouse = โฉลก โกมารกุล ณ นคร
| children = ศุภลักข์ โกมารกุล ณ นคร <br>กุมารี โกมารกุล ณ นคร
| relatives =
| signature =
| website =
| footnotes =
}}
 
'''ท่านหญิงอรอำไพ โกมารกุล ณ นคร''' พระนามเดิมว่า '''หม่อมเจ้าหญิงอรอำไพ เกษมสันต์''' ประสูติเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 - เป็นธิดาลำดับที่ 54 ใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์]] พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแพ และเป็นธิดาลำดับที่ 5 ที่ประสูติในหม่อมทองสุก เกษมสันต์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2487) ทรงมีเชษฐาและเชษฐภคินีร่วมมารดา 4 องค์ คือ <ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]]
| ชื่อหนังสือ = มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา
| URL =
| จังหวัด = กรุงเทพ
| พิมพ์ที่ = อมรินทร์พริ้นติ้ง
บรรทัด 33:
| ISBN = 974-272-911-5
| หน้า = หน้าที่
| จำนวนหน้า =
}}</ref>
* [[หม่อมเจ้าหญิงจันทรจำรัส เกษมสันต์]] (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2525)
* [[หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์]] (พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2517) สมรสกับหม่อมคล้อง ณ ระนอง
* [[หม่อมเจ้าบุญะฤทธิ์ เกษมสันต์]] (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2514) สมรสกับหม่อมสมหมาย และหม่อมมัณฑนา สุนทรเสวี
* [[หม่อมเจ้ากิติเกริกไกร เกษมสันต์]] (พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2464)
 
เมื่อทรงพระเยาว์ ได้ติดตามหม่อมทองสุก ซึ่งถวายงานเป็นต้นเครื่อง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับที่พระราชวังพญาไท และในเวลานั้นเอง ท่านหญิงอรอำไพยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ ให้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายาอีกด้วย ต่อมา ท่านหญิงอรอำไพได้ตามเสด็จหม่อมเจ้าหญิงจันทรจำรัส ซึ่งเข้าไปถวายงาน[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] ไปประทับที่วังสระปทุม และเมื่อหม่อมเจ้าหญิงจันทรจำรัสได้รับพระราชทานทุนจากสมเด็จพระพันวัสสาฯ ให้ไปเรียนการพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช จึงได้ทรงเข้าเรียนกับแหม่มโคล ซึ่งขณะนั้นเป็นครูใหญ่โรงเรียนวังหลัง โดยโรงเรียนฯ ตั้งอยู่ที่บริเวณวังหลัง อันเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช ก่อนที่ท่านหญิงอรอำไพจะย้ายมาเรียนที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้นจึงได้ตามเสด็จหม่อมเจ้าชัชวลิตไปศึกษาหลักสูตรระยะสั้นต่อที่ประเทศอังกฤษ และนอกจากท่านหญิงอรอำไพ จะเป็นนักเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยรุ่นแรกแล้ว ยังทรงเป็นประธานชมรมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัยองค์แรก ก่อนที่จะเปลี่ยนสถานะเป็นสมาคมอีกด้วย
 
ด้านการทำงาน ท่านหญิอรอำไพทรงเป็นครูมาโดยตลอด โดยเริ่มสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ก่อนที่จะกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 <ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร
| ชื่อหนังสือ = พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี
| URL =
| จังหวัด = กรุงเทพ
| พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์บรรณกิจ
บรรทัด 52:
| หน้า = หน้าที่
| จำนวนหน้า = 360
}}</ref> เพื่อสมรสกับนายโฉลก โกมารกุล ณ นคร และติดตามสามี ซึ่งไปดำรงตำแหน่งทูตการคลัง ประจำที่ประเทศอังกฤษ ครั้นกลับประเทศไทย ท่านหญิงอรอำไพได้รับเชิญจากอาจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาภาษาอังกฤษในช่วงที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ได้ไม่นาน ก่อนที่จะย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสอนวิชาภาษาอังกฤษ และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย จนชันษา 80 โดยในระหว่างนั้น ได้รับสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปถวายพระอักษรหลักภาษาอังกฤษแด่ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] และ[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]]เมื่อครั้งยีงทรงพระเยาว์ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา
 
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในการเจริญชันษาครบ 100 ท่านหญิงอรอำไพ โกมารกุล นคร ณ ห้องประชุมชั้น 7 โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์ของ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]และ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสังข์ และเสด็จพระราชดำเนินไปในงานเลี้ยงฉลองร้อยมงคลเป็นการส่วนพระองค์ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 อีกด้วย
 
ท่านหญิงอรอำไพ ยังมีพระพี่นางร่วมพระบิดาที่ยังทรงพระชนม์ในปัจจุบัน คือ [[ท่านหญิงไตรทิพย์สุดา วิเศษกุล]] '' (พระนามเดิม คือ หม่อมเจ้าหญิงไตรทิพย์สุดา เกษมสันต์) (พ.ศ. 2453) '' ด้วยชันษากว่า 100 ปี
 
ท่านหญิงอรอำไพ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันพฤหัสที่ 4 พฤศจิกายน 2553 ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สิริพระชนม์ 100 ปี การนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพ ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด โดย [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาสุวรรณวาณิชกิจ วัดเทพศิรินทราวาส ท่านหญิงอรอำไพ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ เลื่อนชั้นเกียรติยศประกอบศพจากหีบทองทึบ เป็นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถ ฉัตรเบ็ญจาตั้งประดับ ณ ศาลาภาณุรังษี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์พระราชทานเพลิงศพ โดย[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาราชอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554
 
== อ้างอิง ==