ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชบัณฑิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสคริปต์จัดให้
Peat psuwit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
== ราชบัณฑิตในประเทศอื่น ==
คำว่า "ราช-" นำหน้าหมายถึงความเกี่ยวข้องกับ[[พระมหากษัตริย์]] ราชบัณฑิตจึงหมายเฉพาะของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข องค์การวิทยาการของราชอาณาจักรที่อาจนับว่าเก่าแก่ที่สุดของโลกได้แก่ "[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]" (Royal Society of London) ก่อตั้งเมื่อ [[พ.ศ. 2205]] "เพื่อยกระดับความรู้ด้านธรรมชาติ" โดยบรมราชานุญาตของ[[พระเจ้าชาร์ลที่ 3]] (ตรงกับรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]) จำกัดสมาชิกเฉพาะสาขาด้าน[[วิทยาศาสตร์]]และ[[คณิตศาสตร์]] แรกเริ่มมีสมาชิก 150 คนในจำนวนนี้ได้รับเลือกในปีถัดมาให้เป็น "Fellows" ที่อาจเรียกได้ว่า "ราชบัณฑิต" 10 คน เซอร์[[ไอแซก นิวตัน]]นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 15 ที่ได้รับเลือก ในเวลา 9 ปีต่อมา ในช่วงเวลา 336 ปี (พ.ศ. 2206-2542) ราชสมาคมแห่งลอนดอนมีผู้ได้รับเลือกเป็นราชบัณฑิต 381 คน หรือเฉลี่ยปีละ 1.134 คน <ref>[http://www.gap-system.org/~history/Societies/FRS.html รายชื่อสมาชิกในราชสมาคมแห่งลอนดอน]</ref>
 
ข้อแตกต่างระหว่างราชสมาคมแห่งลอนดอน และ[[ราชบัณฑิตยสถาน]]ได้แก่การเน้นสาขาวิทยาการ ราชสมาคมแห่งลอนดอนจำกัดสมาชิกเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในขณะที่ราชบัณฑิตยสถานของประเทศไทยเป็นสถาบันสหวิทยาการ