ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 18:
หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่าที่มีการเรียนการสอนในประเทศไทยนั้นอาจกล่าวได้ว่ายังเป็นไปตามแบบแผนวิชาการตะวันตกเสียส่วนใหญ่ จึงควรปรับกระบวนทัศน์โดยผสมผสานแนวคิดและวิธีวิทยาในแนวสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) เพื่อศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์และพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยและตะวันออก ทั้งจากพื้นฐานในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาอื่นๆ ที่เป็นการต่อยอดเชิงประยุกต์ เช่น เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ และเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีบทบาทสูงในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสาขาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ เช่น สังคมวิทยามานุษยวิทยาการแพทย์ นิเทศศาสตร์ การตลาด การบริหารธุรกิจ การออกแบบนิเทศศิลป์ ฯลฯ อันจะเป็นการขยายมุมมองให้รอบด้านลุ่มลึกเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงปัญหา เหตุปัจจัย และหาหนทางแก้ไขได้อย่างแท้จริง
 
ด้วยศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยรังสิตในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำที่ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้จัดตั้ง “คณะการแพทย์แผนตะวันออก” ขึ้นในปีการศึกษา 2545 เพื่อให้เป็นคณะวิชาด้านการแพทย์ที่มีเอกลักษณ์และมีแนวทางที่สอดรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต บทสรุป
ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนตะวันออกจึงเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่เน้นระบบการศึกษาแพทย์แผนไทยอย่างแท้จริงและครบด้านพร้อมกับการพัฒนาให้ทันสมัยและเป็นสากลโดยการเน้นการประเมินด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผลตามแบบมาตรฐานสากลเช่นมีการศึกษาวิชาการทดสอบทางคลินิกของยาสมุนไพรในคนไข้เพื่อสร้างความยอมรับในระดับนานาชาติ ในขณะที่มีความรู้รอบในศาสตร์การแพทย์แผนจีนและการแพทย์อายุรเวทเพราะมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในความเชื่อมโยงกับการแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่ต้น
 
== หลักสูตร ==