ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 33:
เริ่มชีวิตนักประพันธ์ด้วยการเขียน บทละครร้อง ตั้งแต่อายุได้ 20 ปี หลังจากนั้นก็ได้ทำงานเขียนประเภท [[นิยาย]] [[สารคดี]] การประพันธ์เพลง และงานภาพยนตร์
 
ด้าน [[ภาพยนตร์]]ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันในช่วงปี [[พ.ศ. 2473]] เมื่อได้รับการติดต่อจาก [[หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์]] แห่ง[[หัสดินทร์ภาพยนตร์]] ให้ช่วยแต่งเรื่อง สำหรับภาพยนตร์เรื่องต่อไป ของบริษัท หลังจากตอบตกลงได้ไม่นาน จึงได้ประพันธ์บทภาพยนตร์เรื่องแรก ในชีวิตเป็นผลสำเร็จเรื่อง "[['''รบระหว่างรัก''']]" ในเรื่องนี้นอกจาก เป็นผู้ประพันธ์เรื่องแล้วยังเป้นผู้กำกับการแสดงอีกด้วย
 
ต่อมาเป็นผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงตลอดจนกำกับการแสดงเรื่อง '''"หลงทาง"''' ซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]] "หนังพูด" เรื่องยาวครั้งแรก ของ[[ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง]] มีเพลงประกอบทั้งหมด 6 เพลง คือ เพลงพัดชา เพลงบัวบังใบ เพลงลาวเดินดง เพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) เพลงโยสะลัม และเพลงเงี้ยว โดย [[ขุนสนิทบรรเลงการ]]ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมทั้งหมด แล้วใส่เนื้อร้องประกอบเข้าไป ออกฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างดี ทำให้ศรีกรุงได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์เสียงอย่างสมบูรณ์แบบ
 
ท่านร่วมงานกับภาพยนตร์เสียงศรีกรุง โดยตลอด สร้างผลงานที่น่าจดจำไว้หลายเรื่อง ทั้งภาพยนตร์ข่าวสารคดี และภาพยนตร์แนวบันเทิงคดีอาทิ เช่น ภาพยนตร์'''บันทึกเหตุการณ์ ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี''' (2475) ภาพยนตร์และ '''บันทึกเหตุการณ์ [[สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]]''' (2475) ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ ประเภทข่าวสารคดี ส่วนภาพยนตร์แนวบันเทิงคดีที่โดดเด่นเด่นๆ อาทิเช่น ภาพยนตร์เรื่อง '''"ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"''' (2476) ซึ่งถ่ายทำบางฉากเป็นภาพยนตร์ที่มีการย้อมสีเป็นบางฉากเรื่องแรกของไทย ต่อมาภาพยนตร์ เรื่อง '''"เลือดทหารไทย"''' (2477) ภาพยนตร์ที่แสดงแสนยานุภาพ ของ[[กองทัพไทย]] ซึ่งบริษัทศรีกรุงได้รับการว่าจ้าง จาก[[กระทรวงกลาโหม]]ให้สร้าง หรือภาพยนตร์และ เรื่อง "'''เพลงหวานใจ'''" (2480) ภาพยนตร์เพลงลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะการเนรมิตฉากประเทศสมมุติ ซานคอซซาร์ให้ดูสมจริง
 
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เมื่อแรกๆ นั้น ได้ใช้คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ประพันธ์ เป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ห้า ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477
 
ในปี [[พ.ศ. 2485]] เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สร้างความเดือดร้อน เกิดภาวะขาดแคลนขึ้นในอุตสาหกรรมทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฟิล์มเริ่มขาดแคลน ศรีกรุงเลิกทำหนัง เหลือแต่ที่ของรัฐบาล มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติทั้งหมด หนึ่งในหลายเรื่องที่โดดเด่นในปีนั้นคือ '''"บ้านไร่นาเรา"''' ซึ่งท่านทำหน้าที่ประพันธ์เนื้อเรื่องโดยผูกเรื่องราวของชาวนาเข้ากับอุดมการณ์รักชาติ สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]ผู้นำประเทศ ในสมัยนั้น รวมทั้งประพันธ์เพลงประกอบ ด้วยซึ่งบทเพลง "บ้านไร่นาเรา" โดย[[พระเจนดุริยางค์]]เป็นผู้ประพันธ์ทำนองในแนวของความขยันขันแข็งในการทำงาน บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ และเป็นเพลงที่[[สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ]]ยกย่องว่า เป็น[[เพลงลูกทุ่ง]] เพลงแรกในงานวันเพลงลูกทุ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
 
เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ยุติ ท่านได้ทำภาพยนตร์ อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2495]] เรื่อง '''"ทะเลรัก"''' อำนวยการสร้างโดย นาย [[เสวตร์ เปี่ยมพงศ์สานต์]] ปีถัดมาได้สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายชื่อเดียวกัน ที่ประพันธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2469 เรื่อง '''" วารุณี "''' ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรบันทึกเสียงลงในฟิล์ม ประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากนั้นก็พักงานภาพยนตร์ยาวนานถึง 16 ปี
 
พ.ศ. 2514 บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง กลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง และได้เชิญท่านเป็นที่ปรึกษาของบริษัท แต่ไม่สามารถสู้กับกระแสภาพยนตร์ 16 ม.ม.ซึ่งกำลังแรงอยู่ได้ ดังนั้นหลังจากบริษัททำภาพยนตร์ออกมาได้ไม่กี่เรื่อง จึงต้องได้ปิดกิจการลงถาวรในปี [[พ.ศ. 2515]]
 
นับแต่นั้นท่านก็มิได้เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์อีกเลย จนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อวันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2523]] มีอายุได้ 83 ปี