ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทียนนกแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ซาลาเปา หมูแดง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ซาลาเปา หมูแดง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
}}
 
'''เทียนนกแก้ว''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Impatiens psittacina}}; {{lang-en|parrot flower}}) อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae อันดับ Ericales เป็นดอกไม้ที่แปลก[[ตา]]มาก เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใด ๆ ในโลก จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวงศ์[[เทียน]] มีรูปทรงของดอกที่สวยงามเหมือน[[นกแก้ว]]ที่โดน[[แมว]]กัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า ดอกเทียนนกแก้ว จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกและเป็น[[พรรณไม้]]เมืองหนาว<ref>[https://docs.google.com/document/d/18Pcx_-1VvHdsMwzhWMWVZ_0qeaauwPFf_GE6PaeYe7E/edit?hl=en_US&pli=1 ดอกไม้เมืองหนาว]</ref>
 
==ลักษณะทางพฤกษศาสตร์==
บรรทัด 24:
 
===ดอก===
*ออก[[ดอก]]<ref>[http://www.tourdoi.com/flower/chd/parrot_flower/index.html ลักษณะดอกเทียนนกแก้ว]</ref>เดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้าย[[นกแก้ว]]กำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้มสีเหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประสีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติดกับก้านดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ออกดอกในราวเดือน[[สิงหาคม]]ถึงต้นเดือน[[ธันวาคม]]
 
===ผล===
บรรทัด 30:
 
==แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย==
*เป็นพันธุ์[[ไม้]]หายากชนิดหนึ่ง พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ใน[[ป่าดิบ]]เขาหรือบริเวณโขดหินปูน[[หิน]]ปูนที่อยู่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร และพบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว ดอกจะบานราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน คนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเพราะอยู่บน[[ภูเขา]]สูง การไปชมนั้นจะต้องเดินขึ้นภูเขาไปชม และดอกเทียนนกแก้วมักขึ้นในพื้นที่ที่เป็นโขดหิน ใกล้ ๆกับต้นหาน[[ช้าง]]ร้องที่เป็นพิษ<ref>[http://www.archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_joomgallery&func=detail&id=8108&Itemid=55แหล่งกำเนิด] จากเว็บ http://www.archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_joomgallery&func=detail&id=8108&Itemid=55</ref>
 
==ประโยชน์==
บรรทัด 37:
[[ไฟล์:View resizing images.jpg|thumb|left|ดอกเทียนนกแก้วบนยอดดอยเชียงดาว]]
==ความงามไร้ที่ติ==
*เหตุที่กล่าวว่าเป็นพืชที่สูงค่า เนื่องจากการพบเจอนั้นค่อนข้างลำบาก สภาพแวดล้อม และอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำ สามารถพบเทียนนกแก้วได้ที่ดอยหลวงเชียงดาว [[จังหวัดเชียงใหม่]] ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลักษณะเป็นเทือกเขา ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยยอดเขาสูงหลายยอด ยอดเขาที่สูงที่สุดเรียกว่าดอยหลวงเชียง[[ดาว]] มีความสูงจาก[[ระดับน้ำทะเล]] 2,220 เมตรครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคลง ตำบลเชียงดาวและตำบลแม่น จังหวัด[[เชียงใหม่]]
*การเดินทางไปดูดอกเทียนนกแก้วนั้นจะต้องเดินไปตามป่า ขึ้นไปยังยอดดอย ซึ่งเป็นเป็นเทือกเขาหินปูน มีแนวทอดยาวรวมทั้งพืชพันธ์ดอกไม้ประเภทกึ่งอัลไพน์ เป็นพืชเฉพาะถิ่น หายากมีอยู่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคมดอกไม้ชนิดแรกที่จะเจอคือเทียนนกแก้วที่มีให้เห็นเฉพาะช่วงที่มีฝนหรือมีความชื้นสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบ [[ชมพูพิมพ์ใจ]] [[นางจอย]] [[หรีดเชียงดาว]] [[ฟองหินเหลือง]] [[ฟ้าคราม]] เหยื่อจง ขาวปั้น เป็นต้น
[[ไฟล์:เทียนนกแก้ว.jpg|thumb|right|ดอกเทียนนกแก้วกำลังเริงระบำท่ามกลางแสงแดด]]
==ดอกไม้แห่งเมืองหนาว==