ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมู่บ้านโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nuuiim (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''อนุสรณ์สถานชาวโปรตุเกสที่พระนครศรีอยุธยา''' หมู่บ้านโปรตุเก...
 
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 1:
{{ละเมิดลิขสิทธิ์ | url=http://www.aru.ac.th/ayutthayastudies/index.php?option=com_content&task=view&id=150&Itemid=32 | วันที่=11/3/2550 | หมายเหตุ= }}
'''อนุสรณ์สถานชาวโปรตุเกสที่พระนครศรีอยุธยา'''
หมู่บ้านโปรตุเกส โปรตุเกส เป็นประเทศทางตะวันตกชาติแรกที่มีความสัมพันธ์กับไทย โดยได้ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2054 (ค.ศ. 1511) ต่อมาในปี พ.ศ. 2059 ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างไทย – โปรตุเกส ซึ่งนับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับชาติตะวันตก
หมู่บ้านโปรตุเกส ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2083 ตามพระราชโองการของพระไชยราชาธิราช พระราชทานที่ดินให้ตั้งหมู่บ้านขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ เพื่อเป็นบำเหน็จความดีความชอบของชาวโปรตุเกส จำนวน 120 คน ที่เข้ารับราชการเป็นทหารอาสาเข้าร่วมรบในสงครามเมืองเชียงกรานจนได้รับชัยชนะ ชาวโปรตุเกสได้สร้างโบสถ์เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาในนิกายโรมันคาทอลิก จำนวน 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่...
1. โบสถ์คณะโดมินิกัน
2. โบสถ์คณะยูเซอิต
3. โบสถ์คณะฟรานซิสกัน
จากเอกสารของชาวฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ราว พ.ศ. 2228) กล่าวถึงหมู่บ้านโปรตุเกสว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวโปรตุเกสลูกผสม มีจำนวน 2,000 – 3,000 คน และอยู่ในความดูแลของบาทหลวงทั้ง 3 นิกาย ชุมชนชาวโปรตุเกสคงจะเป็นชุมชนชาวตะวันตกที่ใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น
หมู่บ้านชาวโปรตุเกสที่พระนครศรีอยุธยา มีอายุได้ 227 ปี จึงได้ถูกทิ้งร้างไปพร้อมๆ กับพระนครศรีอยุธยาถูกพม่าทำลาย เมื่อ พ.ศ. 2310
ในปี พ.ศ. 2527 มูลนิธิกุลเบงเกียน (FUNDAçÃO CALOUSTE GULBENKIAN) ประเทศโปรตุเกส ได้มอบทุนจำนวนหนึ่งให้กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง บูรณะ ปรับปรุงโบราณสถาน ณ หมู่บ้านโปรตุเกส ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สภาพโครงกระดูกในหลุมขุดค้น
'''หลักฐานที่ได้จากการขุดแต่ง'''
จากการขุดแต่งโบราณสถานบ้านนักบุญเปโตร (โบสถ์คณะโดมินิกัน) พบหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น โบราณวัตถุ พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากมาย นอนเรียงรายอย่างเป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบ โดยถูกฝังสลับซับซ้อนกันอย่างหนาแน่นในชั้นดินที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ไม่ต่ำกว่า 200 โครง จึงไม่อาจจะปฏิเสธถึงความเป็นสุสานของโบสถ์โดมินิกันแห่งนี้ได้
 
สุสานและสถานภาพของผู้ตาย
จากลักษณะของการฝังศพ อาจพอสรุปได้ว่าขอบเขตที่ฝังศพและสถานภาพของผู้ตาย พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ
ตอนที่ 1 เป็นตอนที่อยู่ในสุด ฝังอยู่ในแนวเดียวกันอย่างเป็นระเบียบ ส่วนใหญ่จะหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก หรือหันศีรษะเข้าสู่แท่นที่ประดิษฐ์รูปเคารพภายในโบสถ์ จากลักษณะดังกล่าว สันนิษฐานว่าโครงกระดูกเหล่านี้เป็นของบาทหลวงหรือนักบวชที่เสียชีวิตในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน จากการสัมภาษณ์บาทหลวงในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ให้ข้อสังเกตที่พอจะสรุปฐานะของโครงกระดูกว่าเป็นโครงกระดูกของบาทหลวง โดยให้เหตุผลว่า ศพของบาทหลวงจะถูกฝังอยู่ในลักษณะเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่สมัยเมื่อยังมีชีวิต บาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอยู่ที่หน้าพระแท่น ย่อมต้องยืนหันหน้าออกสู่พวกสัตตบุรุษเสมอ เมื่อเสียชีวิตจะถูกฝังในลักษณะที่หันหน้าสู่สัตตบุรุษเช่นเดียวกัน
ตอนที่ 2 อยู่ถัดมาจากส่วนที่ใช้สำหรับฝังศพบาทหลวงมาทางทิศตะวันออก การฝังศพในส่วนนี้มีการกำหนดขอบเขตที่แน่นอน ด้วยการนำอิฐขนาดใหญ่และหนากว่าอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างมาวางเรียงกันเป็นกรอบโดยรอบ เพื่อแสดงขอบเขตการฝังที่แน่นอน แม้จะพบต่อมาภายหลังว่ามีการฝังทับซ้อนกันในบริเวณเดียวกันก็ตาม ศพที่ถูกฝังอยู่ในส่วนนี้อาจจะเป็นศพที่มีฐานะในสังคมของชาวค่ายโปรตุเกสสูงกว่าคนธรรมดาทั่วๆ ไป
ตอนที่ 3 คือส่วนที่อยู่นอกไปจากแนวฐานของโบสถ์ พบว่ามีการฝังทับซ้อนกันมากจนผิดปกติ บางหลุมแสดงให้เห็นว่ามีการฝังซ้อนกัน 3 – 4 โครง ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้จากการขุดค้นพบว่ามีชิ้นส่วนโครงกระดูกที่ถูกขุดขึ้นมาทับถมไว้กับโครงที่เพิ่งฝังลงไปทีหลังด้วย
หลังจากการขุดค้นเสร็จสิ้นลง พบว่ามีโครงกระดูกที่ถูกฝังอยู่ในบริเวณสุสานแห่งนี้มากกว่า 200 โครง และมีอยู่จำนวนหนึ่งที่ศพถูกฝังในเวลาที่ใกล้เคียงกันหรือในเวลาเดียวกันเลยทีเดียว เพราะในบางหลุมพบโครงกระดูกฝังซ้อนกันถึง 3 – 4 โครง มีอะไรเกิดขึ้นกับชาวโปรตุเกสในเวลานั้น จนทำให้จำนวนชาวค่ายโปรตุเกสลดลงอย่างรวดเร็ว ศพแล้วศพเล่าที่ถูกฝังลงในสุสานแห่งนี้ ความตายของชาวค่ายโปรตุเกสในเวลานั้นสอดคล้องกับจดหมายของบาทหลวงปินโตและพงศาวดารไทยที่กล่าวว่า ในปลายปี พ.ศ. 2239 ได้เกิดโรคระบาด (ไข้ทรพิษ) อย่างร้ายแรงในพระนครศรีอยุธยา โดยมีอัตราการตายโดยเฉลี่ย 42 ศพ ต่อวัน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ชาวค่ายโปรตุเกสคงจะหลีกเลี่ยงการระบาดไม่พ้นเช่นกัน เพราะจากการขุดค้นพบว่ามีการใส่ปูนขาวพอกทับบนศพด้วย เพราะเชื่อกันว่า ปูนขาวนี้ช่วยระงับการแพร่เชื้อของโรคระบาดได้ อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางเอกสารนั้น ไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ว่า ชาวค่ายโปรตุเกสตายด้วยโรคระบาดในครั้งนั้นด้วยหรือไม่ จนกว่าจะนำโครงกระดูกเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการเพื่อจะได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง