ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาญี่บา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหมวดหมู่:กษัตริย์อาณาจักรหริภุญชัยสำเร็จแล้ว; เพิ่ม[[หมวดหมู่:กษัตริย์แห่งอาณาจักรห...
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 39:
ด้วยอุบายของขุนฟ้าที่ประจบสอพลอพระยีบาทำให้ประชาชนเกลียดชัง พระยามังรายได้ยกทัพไปตีเมืองลำพูนได้อย่างง่ายดายในปี [[พ.ศ. 1824]] (จ.ศ. 643) พญาญี่บาเสด็จหนีออกเมืองไปถึงดอยกลางป่าก็คิดนึกได้ที่เสียรู้ขุนฟ้าเป็นไส้ศึกให้พระยาเม็งรายก็เสียใจหลั่งน้ำตาร้องไห้ สถานที่น้ำตาตกนี้จึงมีชื่อว่า “ดอยพญาญี่บาร้องไห้” มาจนทุกวันนี้<ref>[http://www.vcharkarn.com/varticle/259 วิชาการ.คอม - จามเทวี]</ref> ต่อมาพญาญี่บาจึงหนีมาอยู่กับพระยาเบิกเจ้าเมืองลำปาง(เขลางค์) ผู้เป็นโอรส เวลาล่วงไป 14 ปี พระยาเบิกทรงช้างชื่อ ปานแสนพล ยกทัพไปหมายจะตีเมืองลำพูนคืนให้พระบิดา พระยามังรายให้เจ้าขุนสงครามทรงช้างชื่อแก้วไชยมงคลออกรับศึก ทั้งสองได้ทำยุทธหัตถีกัน ที่บ้านขัวมุงขุนช้าง ใกล้[[เวียงกุมกาม|เมืองกุมกาม]] พระยาเบิกถูกหอกแทงบาดเจ็บ และตีฝ่าวงล้องออกมาได้ จึงมาตั้งรับอยู่ที่ตำบลแม่ตาล เขตเมืองลำปาง ได้สู้รบกันเป็นสามารถผล ที่สุดทัพลำปางแพ้ยับเยิน เจ้าขุนสงครามจับกุมตัวพระยาเบิกแม่ทัพได้ และปลงพระชนม์เสียที่นี่ ดวงวิญญาณอันกล้าหาญเปี่ยมไปด้วยกตัญญูเวทิคุณนี้ จึงได้รับพระราชทานนามว่า "เจ้าพ่อขุนตาน" <ref>พงษาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ</ref>
 
ศาลเจ้าพ่อขุนตานสร้างขึ้นเป็นที่สักการะแด่ดวงวิญญาณการสร้างวีรกรรม และความกตัญญูกตเวทิตาของพระยาเบิก โอรสของพญาญี่บา แต่เดิมสร้างเป็นศาลเล็กๆ ต่อมามีการสร้างรูปหล่อเจ้าพ่อขุนตานและศาลขึ้นควบคู่กับศาลเดิม เพื่อให้ประชากรสักการะสักการบูชา กราบไหว้ <ref>[http://www.guidescenter.com/message_board.php?msg_type=3&msg_id=820 พระประวัติเจ้าพ่อขุนตาน]</ref>
 
== อ้างอิง ==