ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Marder (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{ฉันทลักษณ์ไทย}}
{{ความหมายอื่น|กลอน}}
'''กลอน''' เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่[[ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)|ฉันทลักษณ์]]ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัส<ref name=kapkanlon>กรมศิลปากร. '''ครรภครรลองร้อยกรองไทย'''. กรุงเทพฯ, 2545.</ref> ไม่มีบังคับเอกโทและ[[ครุลหุ]]<ref name=kamchai>กำชัย ทองหล่อ. '''หลักภาษาไทย'''. รวมสาส์น (1977) : กรุงเทพฯ, 2545.</ref> เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานใน[[วรรณกรรม]]ทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์ และวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้านเช่น บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน เป็นต้น
 
'''กลอน'''มารุ่งเรืองในยุครัตนโสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีกวีสำคัญๆ ได้แก่ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ กรมหลวงวรวงศาธิราชสนิท ฯลฯ โดยเฉพาะ'''[[สุนทรภู่]]''' เป็นกวีที่ทำให้ฉันทลักษณ์กลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุด มีความลงตัวทางฉันทลักษณ์ทำให้กลอนลีลาแบบสุนทรภู่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบบฉบับของกลอนที่ไพเราะที่สุดและนิยมแต่งจนถึงปัจจุบัน<ref name=kapkanlon/>
 
== การจำแนกกลอน ==
 
=== กลอนจำแนกตามฉันทลักษณ์ ===
 
ฉันทลักษณ์ของกลอนในวรรณกรรมจำแนกได้ 5 ประเภทคือ จำแนกตามจำนวนคำ จำแนกตามคำขึ้นต้น จำแนกตามคณะ จำแนกตามบทขึ้นต้นและจำแนกตามการส่งสัมผัส
# '''จำแนกตามจำนวนคำ''' จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
## กลอนกำหนดจำนวนคำเท่ากันทุกวรรค ([[กลอนสุภาพ]]) ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า
## กลอนกำหนดจำนวนคำในวรรคโดยประมาณ ได้แก่ [[กลอนดอกสร้อย]] [[กลอนสักวา]] [[กลอนเสภา]] [[กลอนบทละคร]] [[กลอนนิราศ]] [[กลอนเพลงยาว]] [[กลอนนิทาน]] และกลอนชาวบ้าน
# '''จำแนกตามคำขึ้นต้น''' จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
## กลอนบังคับคำขึ้นต้น ได้แก่ กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภาและกลอนบทละคร
## กลอนไม่บังคับคำขึ้นต้น ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนนิราศ กลอนนิทาน และกลอนเพลงยาว
# '''จำแนกตามคณะ''' จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
## กลอนไม่ส่งสัมผัสระหว่างคณะ ได้แก่ กลอนดอกสร้อย และกลอนสักวา
## กลอนส่งสัมผัสระหว่างคณะ ได้แก่ กลอนบทละคร กลอนเสภา กลอนนิทาน กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า
# '''จำแนกตามบทขึ้นต้น''' จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
## กลอนบังคับบทขึ้นต้นเต็มบท (4 วรรค) ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา และกลอนบทละคร
## กลอนบังคับบทขึ้นต้นไม่เต็มบท (3 วรรค) ได้แก่ กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว และกลอนนิทาน
# '''จำแนกตามการส่งสัมผัส''' จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
## กลอนส่งสัมผัสแบบ[[กลอนสุภาพ]] ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา กลอนนิทาน กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว และกลอนบทละคร
## กลอนส่งสัมผัสแบบกลอนชาวบ้าน
### กลอนส่งสัมผัสแบบ[[กลอนสังขลิก]] ได้แก่ กลอนในบทร้องเล่นของเด็ก
### กลอนส่งสัมผัสแบบ[[กลอนหัวเดียว]] ได้แก่ กลอนเพลงชาวบ้าน เช่น [[เพลงเรือ]] [[ลำตัด]] [[เพลงอีแซว]] เป็นต้น
 
'''กลอนสังขลิก'''และ'''กลอนหัวเดียว''' ปรากกฏเฉพาะใน'''ร้อยกรองมุขปาฐะ''' เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''กลอนชาวบ้าน'''
 
=== กลอนจำแนกตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ===
 
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
# '''กลอนอ่าน''' เป็นกลอนที่ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายแต่งไว้สำหรับอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน แบ่งเป็น 8 ชนิด ได้แก่ กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว กลอนนิทาน กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า
# '''กลอนร้อง''' เป็นกลอนที่แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับการขับโต้ตอบกัน การขับลำนำเพื่อความไพเราะ และการขับร้องประกอบการแสดงเพื่อความบันเทิง แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา กลอนบทละคร และกลอนเพลงชาวบ้าน
 
== ประดิษฐการทางฉันทลักษณ์ของกลอน ==
 
ในสมัยอยุธยา กลอนที่แพร่หลายคือ กลอนเพลงยาว และกลอนบทละคร ต่อมามีกวีที่ศึกษาฉันทลักษณ์ของกลอนและประดิษฐ์ฉันทลักษณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างหลากหลายคือ '''หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ''' ซึ่งประดิษฐ์กลอน[[กลบท]]ถึง 86 ชนิด ไว้ใน ''กลบทศิริวิบุลกิตติ'' ซึ่งเป็นต้นแบบกลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า รวมทั้งกลอนนิทาน
 
ในสมัยรัตนโกสินทร์ '''รองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ''' ([[พ.ศ. 2401]] - [[พ.ศ. 2471]]) กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 ได้แต่ตำราคำประพันธ์ '''ประชุมลำนำ''' โดยพัฒนาฉันทลักษณ์ของกลอนให้มีรูปแบบหลากหลายขึ้น ซึ่งได้กำหนดรูปแบบ '''บท''' และ '''ลำนำ''' ขึ้น โดยให้ '''บท''' เป็นกลอนที่มีคำขึ้นต้น ส่วน '''ลำนำ''' เป็นกลอนที่มีจำนวนคำวรรคคี่และวรรคคู่ไม่เท่ากัน หากกลอนที่มีลักษณะทั้งสองรวมกันจะเรียกว่า '''บทลำนำ''' นอกจากนี้ยังได้ค้นคว้าฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพและกลอนชาวบ้านอย่างละเอียด และได้จำแนกกลอนต่าง ๆ อย่างพิศดารพิสดาร ได้แก่ กลอนสุภาพ บทกลอนสุภาพ ลำนำกลอนสุภาพ บทลำนำกลอนสุภาพ กลอนสังขลิก บทกลอนสังขลิก ลำนำกลอนสังขลิก บทลำนำกลอนสังขลิก กานต์ บทกานต์ ลำนำกานต์ และบทลำนำกานต์ แต่เสียดายที่ '''ประชุมลำนำ''' ซึ่งเสร็จในปี [[พ.ศ. 2470]] ไม่ได้ถูกนำออกมาเผยแพร่ จนกระทั่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิมพ์ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2514]] เป็นเหตุให้คำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
 
== พัฒนาการของกลอน ==
 
=== พัฒนาการด้านรูปแบบ ===
 
ในสมัยอยุธยากลอนเพลงยาว และกลอนบทละครยังครองความนิยมด้วยจำนวนคำ และการส่ง-รับสัมผัสไม่เคร่งครัดนัก จนกระทั่งหลวงศรีปรีชาได้ริเริ่มประดิษฐ์กลอนที่มีจำนวนคำเท่ากันทุกวรรคขึ้น และประสบความสำเร็จสูงสุดในสมัยสุนทรภู่ ก่อให้เกิดการจำแนกกลอนออกเป็น 2 ประเภทคือ กลอนสุภาพ ที่มีจำนวนคำเท่ากันทุกวรรค และกลอยที่กำหนดจำนวนคำในวรรคโดยประมาณ เช่น กลอนเพลงยาว กลอนบทละคร กลอนเสภา เป็นต้น
บรรทัด 50:
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) กลอนเพลงยาว กลอนบทละคร และกลอนเสภาเริ่มเสื่อมความนิยมลง กลอนที่มีจำนวนคำเท่ากันทุกวรรคเพิ่มบทบาทมากขึ้น เนื่องด้วยเป็นกลอนอเนกประสงค์ ไม่จำกัดด้วยคำขึ้นต้น คำลงท้าย หรือการนำไปใช้
 
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) กวีมีการพัฒนากลอนหก กลอนเจ็ด รวมถึงรูปแบบกลอนเพลงชาวบ้านมาใช้ในวรรณกรรม ในยุคนี้เริ่มมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนมาใช้ในกลอน เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก หรือกำหนดจังหวะในการอ่าน
 
นอกจากนี้ กวียังเคร่งครัดการแต่งกลอนให้ลงจำนวนคำ จังหวะและสัมผัสตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดด้วย เช่นกลอนหก วรรคละ 6 คำ 3 จังหวะ (2-2-2) รับสัมผัสในคำที่ 2 หรือ กลอนแปด วรรคละ 8 ลำ 3 จังหวะ (3-2-3) รับสัมผัสคำที่ 3 ความนิยมดังกล่าวทำให้เกิดรูปแบบการแต่งกลอนโดยแบ่งเป็น 3 ตอน ในแต่ละวรรค เพื่อกำหนดจังหวะในการอ่าน ตัวอย่าง
 
{{บทกวี| indent=1
| แม่นวลโสม โฉมเฉิด เลิศมนุษย์|
| บริสุทธิ์ สงวนศักดิ์ น่ารักเหลือ|}}
{{บทกวี
| เป็นคู่ชีพ ของชาย หมายจุนเจือ|
| เพราะเลือดเนื้อ เชื้อโฉลก โลกมาตา
| source="โลกมาตา" ของ ครูเทพ}}
 
=== พัฒนาการด้านกลวิธีในการแต่ง ===
 
==== จังหวะ ====
 
กลอนสมัยอยุธยา ไม่เคร่งครัดทั้งรูปแบบ จังหวะ และเสียงของถ้อยคำ ตัวอย่างเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
 
{{บทกวี| |จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา
| เป็นกรุงรัตนราชพระศาสดา |มหาดิเรกอันเลิศล้น}}
{{บทกวี|เป็นที่ปรากฏรจนา |สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน
| ทุกบุรียสีมามณฑล |จบสกลลูกค้าวานิช}}
{{บทกวี|ทุกประเทศสิบสองภาษา |ย่อมมาถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นอัคะนิด
| ประชาราษฎร์ปราศจากไภยพิศม์ |ทั้งความพิกลจริตและความทุกข์}}
 
กวีสมัยรัตนโกสินทร์ได้พัฒนากลวิธีการแต่งให้มีวรรคละ 3 จังหวะสม่ำเสมอ และบังคับตำแหน่งรับสัมผัสตำแหน่งที่แน่นอน ตัวอย่างจากนิราศพระบาทของสุนทรภู่
 
{{บทกวี |indent=1 |ประจวบจนสุริยนเย็นพยับ |ไม่ได้ศัพท์เซ็งแซ่ด้วยแตรสังข์
| มีระนาดฆ้องกลองประโคมดัง |ระฆังหงั่งหงั่งหง่างลงครางครึม}}
{{บทกวี|มโหรีปี่ไฉนจับใจแจ้ว |วิเวกแว่วกลองโยนตะโพนกระหึ่ม
| ทุกที่ทับสัปปุรุษก็พูดพึม |รุกขาครึ้มครอบแสงพระจันทร}}
{{บทกวี|เสนาะเสียงเทศนาปุจฉาถาม |ในสนามเสียงสนั่นเนินสิงขร
| เป็นวันบัณสีรวีวร |พระจันทรทรงกลดรจนา}}
 
==== การเลือกเสียงของถ้อยคำ ====
'''การเลือกเสียงของคำท้ายวรรค''' กวีในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการพัฒนาการเลือกเสีงคำลงท้ายวรรคเพื่อช่วยให้ลีลาของกลอนมีความไพเราะรื่นหูยิ่งขึ้น โดยใน'''ประชุมลำนำ''' ได้กล่าวถึงลักษณะบังคับเสียงท้ายวรรคของกลอนไว้ว่า ''...มีบังคับไตรยางศในที่สุดของกลอนรับให้ใช้แต่อักษรสูง อย่าให้ใช้อักษรกลางแลอักษรต่ำที่เป็นสุภาพ ในที่สุดของกลอนรองแลกลอนส่งนั้นให้ใช้แต่อักษรกลางแลอักษรต่ำ นอกนั้นไม่บังคับ'' นอกจากนี้ยังอธิบายการใช้วรรณยุกต์ท้วยวรรคเพิ่มเติมว่า
 
: กลอนที่วรรคส่ง ลงท้ายด้วยรูปวรรณยุกต์ เอกหรือโท เรียกว่า '''ระลอกทับ''' เช่น
{{บทกวี||
| เอาดวงดาราระยับกับพระจันทร์ |ต่างช่อชั้นชวาลระย้า'''ย้อย'''}}
 
: กลอนที่วรรครับ หรือวรรครอง ลงท้ายด้วยวรรณยุกต์ เอกหรือโท เรียกว่า '''ระลอกฉลอง''' เช่น
 
{{บทกวี
| จักจั่นหวั่นแว่วแจ้วแจ้วเสียง |เหมือนสำเนียงขับครวญหวนละ'''ห้อย'''
| พระพายเอ๋ยเชยมาต้องพระน้อง'''น้อย''' |เหมือนนางคอยหมอบกราบอยู่งานพัด}}
 
'''เสียงของคำในวรรค''' มีการเพิ่มความไพเราะด้วยการเลือกใช้สัมผัสสระ และสัมผัสอักษร ตลอดจนการใช้คำที่มีเสียงหนักเบา
 
'''กลวิธีอื่น ๆ''' ได้แก่ การซ้ำคำ (ยมก) การแยกคำข้ามวรรค (ยัติภังค์) การซ้ำพยัญชนะท้ายวรรคแรกกับต้นวรรคถัดไป (นิสสัย) การซ้ำพยัญชนะท้ายวรรคแรกกับคำที่สองของวรรคถัดไป (นิสสิต) การไม่ใช้สัมผัสเลือนหรือสัมผัสซ้ำ การกำหนดหลักเกณฑ์การใช้วรรณยุกต์เสียงท้ายวรรคต่าง ๆ <ref name=uppakit>อุปกิตศิลปสาร, พระยา. '''หลักภาษาไทย'''. 2511:360-365</ref> ว่าท้ายวรรคสดับใช้ได้ทั้งห้าเสียง ท้ายวรรครับห้ามเสียงสามัญนิยมเสียงจัตวา ท้ายวรรครองห้ามเสียงจัตวานิยมใช้เสียงสามัญ เป็นต้น ทำให้กลอนกลายเป็นคำประพันธ์ที่มีฉันทลักษณ์ค่อนข้างตายตัว
 
== ความคลี่คลายของกลอนสู่สมัยปัจจุบัน ==
 
ฉันทลักษณ์ของกลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุดระหว่างสมัยรัชกาลที่ 6 และสมัยรัชกาลที่ 7<ref name=supaporn>สุภาพร มากแจ้ง. '''กวีนิพนธ์ไทย 1'''. กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2535.</ref> เนื่องจากเทคโนลียีการพิมพ์ช่วยให้ความรู้ต่างๆ กระจายตัวมากขึ้น มีการตีพิมพ์ตำราแต่งคำประพันธ์และใช้เป็นแบบเรียนด้วย ทำให้เกิดแบบแผนการประพันธ์ที่อยู่ในกรอบเดียวกัน ดังนั้น งานกลอนในระหว่าง พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2516 จึงอยู่ในกรอบของฉันทลักษณ์ และพราวด้วยสัมผัสตามตำราอย่างเคร่งครัด
บรรทัด 111:
{{บทกวี|indent=1
| ณ เวิ้งวิเวกเอกภพมหึมา |และ ณ ดาราจักรอันหลากหลาย
| จะหาหล้าไหนวิเศษแพร้วพรรณราย |ได้ดุจโลกมนุษย์สุดยากนัก ฯ}}
{{บทกวี|indent=1
| เกียรติยศ ลม ไฟ ดิน น้ำ ฟ้า |พาหิรากาศห่อหุ้มไว้สูงศักดิ์
| น่าทะนุถนอมค่าทิพย์แท้อนุรักษ์ |ประโยชน์หนักนั่นไซร้ให้สากล ฯ }}
 
'''ความคลี่คลายด้านรูปแบบ''' กวีสมัยปัจจุบันเสนอผลงานกลอนหลากหลายรูปแบบ จัดเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ยึดฉันทลักษณ์กลอนประเภทต่างๆ เช่นของเดิม แต่ปรับกลวิธีใช้สัมผัสใน และยืดหยุ่นจำนวนคำ เป็นการย้อนรอยฉันทลักษณ์ของกลอนยุคก่อนสุนทรภู่ ได้แก่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประกาย ปรัชญา, ประเสริฐ จันดำ, ไพรวรินทร์ ขาวงาม เป็นต้น กลุ่มที่สองใช้เฉพาะสัมผัสนอกเป็นกรอบกำหนดประเภทงานว่าอยู่ในจำพวกกลอน ส่วนจำนวนคำ กลวิธี และท่วงทำนองอื่น ๆ เป็นไปโดยอิสระ ได้แก่ อังคาร กัลยาณพงศ์, ถนอม ไชยวงศ์แก้ว, วุธิตา มูสิกะระทวย, ศักดิ์สิริ มีสมสืบ เป็นต้น
 
== อ้างอิง ==
<references/>
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กลอน"