ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ต่อมา เมื่อวันที่ [[3 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2492]] ธนาคาร ได้รับอนุญาตจาก[[กระทรวงการคลัง]]ให้ประกอบกิจการธนาคาร และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2492 ณ สำนักงานชั่วคราว ถนนพระพิทักษ์ สี่แยกบ้านหม้อ ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2498 ธนาคารได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ทำการแห่งใหม่เลขที่ 943 มุมถนนมหาไชย-เยาวราช หน้าวังบูรพา กรุงเทพมหานคร และได้รับพระราชทานตราตั้งให้เป็นธนาคารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ [[17 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2515]] หลังจากนั้น ได้ย้ายสำนักงานอีกครั้ง มาอยู่ที่ 393 ถนนสีลม [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] เมื่อวันที่ [[20 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2516]]
 
ธนาคารได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2519]] จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2536]] ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนและเปลี่ยนชื่อเป็น '''“ธนาคาร ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)”''' โดยทุนจดทะเบียน เพิ่มจาก 10 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2491 เป็น 150 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2524, 200 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2528, 350 ล้านบาทในปี 2532, 700 ล้านบาท และ 910 ล้านบาทในปี 2538 <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1118 ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ยังต้องปรับตัวอีกมาก, นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542]</ref> ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540 ทำให้ธนาคารไทย ทนุ ต้องขอความช่วยเหลือจาก [[ธนาคารดีบีเอส]] ในเครือ[[เทมาเส็กโฮลดิ้งส์]]จาก[[สิงคโปร์]]ได้ให้เข้าถือหุ้นใหญ่ และเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็น '''ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)''' เมื่อวันที่ [[22 เมษายน]] [[พ.ศ. 2542]]
 
ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ได้ควบรวมกิจการเข้ากับ[[ธนาคารทหารไทย]]<ref>[http://www.mbamagazine.net/home/index.php/blog/43-bizandfinance/186-tbank-scib- TBANK ควบ SCIB “เราจะโต”]</ref> และคืนตราตั้งแก่สำนักพระราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2547<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00150959.PDF ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง รับคืนตราตั้ง (ธนาคารไทยทนุ จำกัด)]</ref>