ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อารีย์ นักดนตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 45:
เกิดที่[[จังหวัดสมุทรสงคราม]] บิดาเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในย่านนั้น ได้รับพระราชทานนามสกุล "นักดนตรี" จาก [[กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์]] <ref name="สกุลไทย">[http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=2250&stissueid=2541&stcolcatid=1&stauthorid=39 ประวัติ อารีย์ นักดนตรี] จาก สกุลไทย</ref> จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์]] <ref name="สกุลไทย"/> แล้วเข้าโรงเรียนการเรือนวิสุทธคาม <ref name="สกุลไทย"/> ก่อนสมัครทำงานโทรทัศน์ไทยทีวี[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]]
 
รำเปิดสถานี เพลง ''[[ต้นบรเทศ]]'' สัญลักษณ์ทีวีช่อง 4 ในวันเริ่มแรกออกอากาศ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] <ref name="สกุลไทย"/> และเป็นผู้ประกาศหญิงคนเดียวจากเอเชีย ที่สถาบัน ONDAS แห่ง[[สเปน]] คัดเลือกให้ได้รับรางวัล The Best Female Announcer ซึ่งมีประธานาธิบดีแห่งสเปน เป็นประธานพิธี ณ กรุง[[บาร์เซโลนา]] ในปี พ.ศ. 2504 <ref>อารีย์ นักดนตรี, โลกมายาของอารีย์, กายมารุต, 2546 ISBN 974-91018-4-7 </ref>
 
วัยเด็กเคยฝึกรำและการแสดงของโรงเรียน เมื่อแสดง[[ละครโทรทัศน์]] ได้รับบทนางเอกหลากหลายแนวตั้งแต่ พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา เช่น ''งิ้วไทย สามก๊ก ตอน"ตั๋งโต๊ะหลงกลเตียวเสี้ยน"'', ''กากี'', ''นุสรา'', ''นิจ'', ''ศรอนงค์'', ''นันทาเทวี'' พระเอกรุ่นแรกที่แสดงคู่กันได้แก่ [[ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์]] , [[ราฆพ โพธิเวส]], [[โชติ สโมสร]], [[ประกอบ ไชยพิพัฒน์]], [[สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์]], [[อาคม มกรานนท์]], [[อดุลย์ ดุลยรัตน์]] และอดีตดาราละครเวที [[ฉลอง สิมะเสถียร]]
 
แสดงคู่กับ [[กำธร สุวรรณปิยะศิริ]] เรื่องแรกใน ''มาร์โคโปโลกับคุบไลข่าน'' เมื่อ พ.ศ. 2502 ผลงานที่มีชื่อเสียงในช่วงนี้จนถึง พ.ศ. 2507 ได้แก่ ''นันทาเทวี'' '' (สร้างใหม่) '' กับละครที่ได้รับความนิยมสูงสุดของสถานีคือ ''[[ขุนศึก]]'' ของ [[ไม้ เมืองเดิม]] และ ''[[ลูกทาส]]'' ของ [[รพีพร]] <ref name="บูรพา อารัมภีร"/> เมื่อจัดตั้งคณะอารีวัลย์ก็ได้ผลักดันสนับสนุนดาวรุ่งมากความสามารถหลายคน เช่น [[กนกวรรณ ด่านอุดม]], [[ศิริพร วงศ์สวัสดิ์]], [[นันทวัน เมฆใหญ่]] ฯลฯ และยังคงแสดงให้คณะอื่นด้วย

ผลงานอีกหลายเรื่องจนถึง พ.ศ. 2519 (พ.ศ. 2517-2519 ย้ายสถานีไปอยู่ที่[[บางลำพู]]) เช่น ''แม่ม่าย'', ''เจ้าหญิงแสนหวี'', ''สาปสวาท'', ''น้ำเซาะทราย'', ''เมียหลวง'', ''คมพยาบาท'', ''บันไดเมฆ'', ''พรหมพยศ'', ''อุบัติเหตุ'', ''หลานสาวคุณหญิง'', ''อีสา'', ''เมืองแก้ว'', ''ทำไม'' และ ''เครื่องแบบสีขาว'' เป็นต้น
 
ตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2527 ผลิตละครในนามทีวี[[ช่อง 9 อสมท.]]ทำให้ดารารุ่นใหม่แจ้งเกิดอีกหลายคน เช่น [[รัชนู บุญชูดวง]], [[เดือนเต็ม สาลิตุล]], [[อุทุมพร ศิลาพันธ์]], [[ลินดา ค้าธัญเจริญ]], [[นวลปรางค์ ตรีชิต]], [[กาญจนา จินดาวัฒน์]], วุฒิ - ศิริวัฒน์ คงคาเขตร, [[อนุสรณ์ เดชะปัญญา]], [[ปรัชญา อัครพล]] และ [[อัศวิน รัตนประชา]] เป็นต้น ผลงานเด่นช่วงนี้ ได้แก่ ''คุ้มผาคำ'', ''สวรรค์เบี่ยง'', ''ใครกำหนด'', ''แม่ม่าย'' (สร้างใหม่), ''หลานสาวคุณหญิง'' (สร้างใหม่), ''กุหลาบไร้หนาม'', ''สามอนงค์'', ''หลง'', ''ชลาลัย'', ''สาวแก่'', ''อีสา'' (สร้างใหม่), ''ประทีปอฐิษฐาน'', ''ขมิ้นกับปูน'' ฯลฯ