ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องยนต์สี่จังหวะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:4-Stroke-Engine.gif|thumb|right|ภาพการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ|250px]]
 
'''เครื่องยนต์ 4 จังหวะ''' ({{lang-en|Four-stroke engine}}) เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ในรถยนต์ [[รถจักรยานยนต์]] รถบรรทุก ที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ภายใน สำหรับ[[เครื่องยนต์เบนซิน]] ({{lang-en|petrol engine หรือ gasoline engine}}) ไอของน้ำมันจะถูกอัดแล้วถูกจุดระเบิดโดยหัวเทียน
 
"ไอดี" คือส่วนผสมของไอระเหยหรือละอองน้ำมันเบนซินผสมกับอากาศ ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบหรือฉีดเข้ากระบอกสูบโดยหัวฉีดในช่วงชักดูด และไอดีจะถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส แล้วไอดีถูกจุดระเบิดโดยประกายไฟประมาณ 25,000 โวลต์ จากเขี้ยวหัวเทียน เรียกช่วงชักนี้ว่าช่วงชักระเบิด หรือ "ช่วงชักงาน" แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ช่วงชักคายลูกสูบเลื่อนขึ้น ลิ้นไอดี "ปิด" ลิ้นไอเสีย "เปิด" ไอเสียออกจากกระบอกสูบทางลิ้นไอเสีย ผ่านท่อไอเสีย ออกสู่บรรยากาศ เครื่องยนต์ทำงาน ครบ 4 ช่วงชัก
 
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ที่ทำงาน 4 จังหวะ (4 ช่วงชัก) แบ่งออกได้ดังนี้
 
# '''ช่วงชักดูด''' หรือจังหวะดูด : [[ลูกสูบ]]เลื่อนลง จากศูนย์ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีเปิด เพื่อดูดไอดีเข้ามาในกระบอกสูบ ลิ้นไอเสียปิด
# '''ช่วงชักอัด''' หรือจังหวะอัด : ลูกสูบเลื่อนขึ้น จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท ไอดีถูกอัดให้ร้อน 700-900 องศาเซลเซียส
# '''ช่วงชักระเบิด''' หรือจังหวะระเบิด : ลูกสูบเลื่อนขึ้นใกล้ศูนย์ตายบน หัวเทียนจุดประกายไฟเผาใหม้ไอดีเกิดการระเบิดขึ้นในห้องเผาใหม้ แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง จากศูนย์ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่าง ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ เรียกอีกชื่อหนึงว่า "ช่วงชักงาน" เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล
# '''ช่วงชักคาย''' หรือจังหวะคาย : ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีปิด ลิ้นไอเสียเปิด แก๊สไอเสียออกจากกระบอกสูบผ่านลิ้นไอเสีย, ท่อไอเสีย และออกสู่ชั้นบรรยากาศภายนอกเครื่องยนต์
 
<gallery>
ไฟล์:Four stroke cycle intake.png|ช่วงชักดูดลูกสูบเลื่อนจากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีเปิด ไอดีถูกดูดเข้ากระบอกสูบผ่านลิ้นไอดี ลิ้นไอเสียปิดสนิท
ไฟล์:Four stroke cycle compression.png|ช่วงชักอัดลูกสูบเลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนอัดไอดีให้ร้อน 700-900 องศาเซลเซียส ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท
ไฟล์:Four stroke cycle spark.png|ช่วงชักอัด ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นถึงศูนย์ตายบน หัวเทียนจุดประกายไฟ 25,000 โวลต์เพื่อจุดระเบิดไอดี ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท
ไฟล์:Four stroke cycle power.png|ช่วงชักระเบิด แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง จากศูนย์ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่าง เปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท
ไฟล์:Four stroke cycle exhaust.png|ช่วงชักคาย ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีปิด ลิ้นไอเสียเปิด แก๊สไอเสียออกจากกระบอกสูบ ผ่านลิ้นไอเสีย, ท่อไอเสีย และออกสู่ชั้นบรรยากาศภายนอกเครื่องยนต์
</gallery>
 
บรรทัด 24:
* http://www.st.ac.th/engin/4strok.html
* http://203.158.100.100/charud/naturemystery/sci2/internet/internetthai3.htm
อาจารย์ศราวุธ จันไตรรัตน์ ตึกอุตสาหกรรม ชั้นที่ 1 ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม
{{จบอ้างอิง}}