ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรมันคาทอลิกในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 3735452 สร้างโดย 103.1.166.4 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
แม้ว่าจะพยายามเผยแพร่คริสต์ศาสนาในกลุ่มชาวสยาม แต่เนื่องจากปัญหาด้านภาษา และขาดความเข้าใจเรื่องสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบกับการดำเนินงานภายใต้สิทธิปาโดรอาโดของโปรตุเกสมีข้อจำกัด คือมิชชันนารีในอาณัติมีแตกต่างกันไปหลายเชื้อชาติและคณะ ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นเอกภาพ และมีการวิวาทกันเองบ่อยครั้ง ทำให้การแผยแพร่กับคนสยามในระยะนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหล่ามิชชันนารีจึงหันไปมุ่งงานอภิบาล (pastoral work) คนในอาณัติโปรตุเกสแทน<ref>มาโนช พุ่มไพจิตร, ''แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป'', หน้า 87</ref>
 
ปัญหาข้างต้นทำให้สันตะสำนักหาทางแก้ปัญหาโดยตั้ง[[สมณะกระทรวงเพื่อการเผยแพร่ความเชื่อ]] (Sacred Congregation for the Propagation of the Faith) หรือ '''โปรปากันดา ฟีเด''' (Propaganda Fide) เพื่อให้การเผยแพร่ศาสนาและปกครองคริสจักรที่สิทธิ์ปาโดรอาโดยังไปไม่ถึงได้ขึ้นกับสมณะกระทรวงนี้แต่เพียงแห่งเดียวโดยตรง และเมื่อทราบว่าคริสตจักรทาง[[ตะวันออกไกล]]ต้องการให้มีผู้แทนพระสันตะปาปาไปปกครอง [[สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10]] จึงแต่งตั้งบาทหลวง 3 ท่านเป็น[[มุขนายกเกียรตินาม]] (titular bishop) และ[[ผู้แทนพระสันตะปาปา]]ประมุขมิสซัง]]ต่างๆต่าง ๆ ดังนี้
 
* [[ฟร็องซัว ปาลูว์]] (Francois Pallu) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซัง[[ตังเกี๋ย]] โดยรวมลาวและห้ามณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนอยู่ในปกครองด้วย
* [[ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต]] (Pierre Lambert de la Motte) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเบรุท (Beirut) และประมุขมิสซัง[[โคชินจีน]]
* [[อีญาสญาซ กอตอล็องดี]] (Ignace Cotolendi) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเมเตลโลโปลิส (Metellopolis) และประมุขมิสซัง[[หนานจิง]] โดยรวมมณฑลทางภาคอีสานของจีนตลอดทั้งเกาหลีอยู่ในปกครองด้วย ต่อมามุขนายกท่านนี้ได้ถึงแก่กรรมเสียในระหว่างทาง
 
มุขนายกทั้งสามได้ตั้ง[[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปาริส]]ขึ้นเพื่อฝึกหัดบาทหลวงที่จะไปเป็นมิชชันนารีในภูมิภาค[[ตะวันออกไกล]] เมื่อมิชชันนารีเหล่านี้เดินทางมาถึงก็ได้ข่าวว่ากำลังมี[[การเบียนเบียนคริสต์ศาสนาขึ้นศาสนิกชน]]ในจีนและญวน คณะทั้งหมดจึงตัดสินใจพำนักที่กรุงศรีอยุธยาเพราะทราบว่ากษัตริย์ไทย (ขณะนั้นคือ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]) มีไมตรีกับชาติตะวันตก จากนั้นจึงดำเนินการเผยแพร่ศาสนาทันที
 
คณะมิชชันนารีได้จัดซีโนด (Synod) ขึ้นที่อยุธยา ได้ข้อสรุปการทำงานดังนี้<ref>Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์''</ref>
* 1.ตั้ง[[คณะนักบวชคาทอลิก]]ท้องถิ่นทั้งชาย – หญิง งานเผยแพร่ศาสนา จะตั้งชื่อว่า คณะรักไม้กางเขนแห่งพระเยซูคริสต์
* 2.พิมพ์คำสอนเผยแพร่
* 3.ตั้ง[[เซมินารี]] (Seminary) เพื่อฝึกหัดชายท้องถิ่นที่ศรัทธา อ่านภาษาลาตินได้ เป็น[[บาทหลวง]]
การเผยแพร่ศาสนาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับมิชชันนารีฝ่ายปาโดรอาโด มุขนายก ล็องแบร์จึงส่งบาทหลวง ฌ็อง เดอ บูร์ชไปแจ้งปัญหาแก่สันตะสำนัก ในที่สุดโรมจึงตั้ง'''มิสซังสยาม'''ขึ้นในปี พ.ศ. 2212 (ค.ศ. 1669) ให้อยู่ภายใต้การปกครองของประมุขมิสซังซึ่งพระคุณเจ้าทั้งสองเลือกเอง จึงถือเป็นการสิ้นสุดยุคปาโดรอาโด
 
=== ยุคเขตผู้แทนพระสันตะปาปา ===
[[ไฟล์:Mgr Lambert de la Motte.jpg|200px|thumb|[[มุขนายก]] [[ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต]] มุขนายกคาทอลิกองค์แรกที่เดินทางมาถึงสยาม ]]
'''ยุคมิสซังโปรปากันดาฟีเด''' หรือ '''ยุคเขตผู้แทนพระสันตะปาปา'''ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2212 - 2508 (ค.ศ. 1669 – 1965)
 
เมื่อสันตะสำนักให้ตั้งมิสซังสยามเป็น[[เขตผู้แทนพระสันตะปาปา]]หรือมิสซังแล้ว ก็ให้มุขนายกทั้งสองท่านอภิเษกบาทหลวงคนหนึ่งขึ้นเป็น'''ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำกรุงสยาม''' (Vicar apostolic of Siam) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า'''ประมุขมิสซังสยาม''' ทั้งสองตัดสินใจเลือกบาทหลวง [[หลุยส์ ลาโน]] (Louis Laneau) ซึ่งเป็นมิชชันนารีในคณะของมุขนายกปาลูว์ เป็นประมุขมิสซังสยามคนแรก นับจากนั้นมาก็มีประมุขมิสซังสืบงานต่อมาดังนี้
 
* 1. [[หลุยส์ ลาโน]] (Louis Laneau) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2216 - 2239 (ค.ศ. 1673-1696)
บรรทัด 41:
* 5. [[ปีแยร์ บรีโก]] (Pierre Brigot) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2298 - 2310 (ค.ศ. 1755-1767)
* 6. [[โอลีวีเย-ซีมง เลอ บง]] (Olivier-Simon Le Bon) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2311 - 2323 (ค.ศ. 1768-1780)
* 7. [[ฌอแซ็ฟโฌแซ็ฟ-หลุยส์ กูเด]] (Joseph-Louis Coudé) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2325 - 2328 (ค.ศ. 1782-1785)
* 8. [[อาร์โน-อ็องตวน การ์โนล]] (Arnaud-Antoine Garnault) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2329 - 2353 (ค.ศ. 1786-1810)
* 9. [[แอสพรี-มารี-โฌแซ็ฟ โฟลร็อง]] (Esprit-Marie-Joseph Florens) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2354 - 2377 (ค.ศ. 1811-1834)
* 10. [[ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี]] (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2377 - 2384 (ค.ศ. 1834-1841)
 
ในปี พ.ศ. 2384(ค.ศ. 1841) สันตะสำนักได้แบ่งมิสซังสยามออกเป็น 2 มิสซังเขตผู้แทนพระสันตะปาปา คือ'''มิสซังสยามตะวันออก'''ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรสยามและลาว และ'''มิสซังสยามตะวันตก'''ซึ่งครอบคลุมพื้นที่[[เกาะสุมาตรา]] แหลม[[มลายู]] และ[[พม่า]]ใต้ โดยมุขนายก กูร์เวอซี ย้ายไปเป็นประมุขมิสซังสยามตะวันตก ประจำอยู่ที่สิงคโปร์ ส่วนมิสซังสยามตะวันออกได้อภิเษกบาทหลวง ปาเลอปาลกัว อดีต[[มุขนายกผู้ช่วยรอง]]ประมุขมิสซัง ขึ้นเป็นมุขนายกประมุขมิสซังปกครองมิสซังสยามตะวันตกแทนสืบมา เขตผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังสยามตะวันออกมีลำดับประมุขดังนี้
 
* 1.[[ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว]] (Jean-Baptiste Pallegoix) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2384 - 2405 (ค.ศ. 1841-1862)
* 2.[[แฟร์ดีน็อง-แอเม-โอกุสแต็ง-ฌอแซ็ฟโฌแซ็ฟ ดูว์ป็อง]] (Ferdinand-Aimé-Augustin-Joseph Dupond) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2407 - 2415 (ค.ศ. 1864-1872)
* 3.[[ฌ็อง-หลุยส์ แว]] (Jean-Louis Vey) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2418 - 2452 (ค.ศ. 1875-1909)
* 4.[[เรอเน-มารี-ฌอแซ็ฟโฌแซ็ฟ แปโร]] (René-Marie-Joseph Perros) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2452 - 2490 (ค.ศ. 1909-1947)
 
ในปี ค.ศ. 1924 มิสซังสยามตะวันออกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น'''มิสซังกรุงเทพฯ'''<ref name="Archdiocese of Bangkok">[http://www.catholic-hierarchy.org/diocese/dbank.html Archdiocese of Bangkok]. The Hierarchy of the Catholic Church. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ก.พ. พ.ศ. 2554.</ref> มุขนายก แปรอส ยังรั้งตำแหน่งประมุขมิสซัง และมีประมุขมิสซังกรุงเทพฯ สืบทอดต่อมาอีกดังนี้
 
* 5.[[หลุยส์-โอกุส-เกลม็อง-โชแร็ง]] (Louis-August-Clément Chorin) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2490 - 2508 (ค.ศ. 1947-1965)
* 6.[[ยอแซฟ [[ยวง นิตโย]] ปกครองมิสซังตั้งแต่ 29 เม.ย. – 18 ธ.ค. พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)
 
ในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) สันตะสำนักได้แยกลาวออกไปตั้งเป็น'''มิสซังลาว''' ต่อมาปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) พื้นที่ราชบุรีได้ถูกยกขึ้นเป็นมิสซัง ตามด้วยจันทบุรีก็ได้เป็นมิสซังในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ส่วนมิสซังลาวต่อมาเหลือพื้นที่เฉพาะภาคอีสานของไทยแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น'''มิสซังท่าแร่''' ต่อมาพื้นที่อุดรธานี และอุบลราชธานีได้แยกออกเป็นมิสซังอีก ทำให้ในช่วงท้ายยุคมิสซังโปรปากันดาฟีเด คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยประกอบด้วยมิสซังถึง 7 มิสซังซึ่งมีฐานะเป็นเขตผู้แทนพระสันตะปาปาทั้งหมด
 
ตลอดยุคเขตผู้แทนพระสันตะปาปา การเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีทั้งช่วงที่เป็นปกติเรียบร้อย และช่วงที่ถูกเบียดเบียน สาเหตุเป็นเพราะนิกายคาทอลิกมีภาพลักษณ์ว่าเป็นศาสนาของชาติตะวันตกและเป็นสัญลักษณ์ของอิทธิพลตะวันตกที่แพร่หลายในสังคมไทย เมื่อการเมืองไทยอยู่ในภาวะตึงเครียดเพราะความขัดแย้งกับชาติฝรั่งเศส คริสตจักรคาทอลิกในสยามซึ่งมีผู้ปกครองมิสซังเป็นคนชาติฝรั่งเศสก็ถูกเบียดเบียนไปด้วย เช่น การรัฐประหารตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มีการกวาดล้างอิทธิพลของฝรั่งเศสในการเมืองไทย ทรัพย์สินของมิสซังสยามได้ถูกยึด มุขนายกลาโน และมิชชันนารีหลายคนถูกจับขังคุกและทรมานร่างกาย เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติทุกคนจึงถูกปล่อยตัว และคืนทรัพย์สินให้มิสซัง<ref>Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์'', หน้า 48</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. (ค.ศ. 1940 - 1941) เกิด[[กรณีพิพาทอินโดจีน]]หรือสงครามระหว่างไทย – ฝรั่งเศส ทำให้คนไทยกลุ่มหนึ่งออกมาต่อต้านฝรั่งเศสรวมทั้งศาสนาคริสต์ด้วย มีชาวคาทอลิกถูกข่มเหงต่างๆ การเบียดเบียนที่รุนแรงที่สุดคือ การสังหารชาวอีสานคาทอลิก 7 คนที่หมู่บ้านสองคอน โดยมี[[นักพรตหญิง]] ฆราวาสหญิง และเด็กรวมอยู่ในนี้ด้วย ต่อมาผู้พลีชีพทั้งหมดได้รับประกาศให้เป็น[[บุญราศี]]และเป็น[[มรณสักขีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ประเทศไทย]]
 
นอกจากนี้วิธีการเผยแพร่ศาสนาก็เป็นต้นเหตุสำคัญให้นิกายคาทอลิกถูกต่อต้าน กล่าวคือมิชชันนารีมักใช้วิธีเหยียดหยามศาสนาท้องถิ่น เช่น มีการพิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อ “ปุจฉาวิสัชนา” ซึ่งแต่งโดยมุขนายกลาโน มีเนื้อหาเปรียบเทียบศาสนาคริสต์ – ศาสนาพุทธ ชี้ให้เห็นความเหนือกว่าของศาสนาคริสต์ ดูหมิ่นพุทธศาสนา ทันทีหนังสือเล่มนี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกก็สร้างความไม่พอใจให้กับราชการไทย [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]ทรงเรียกบาทหลวง 3 คนขึ้นศาลไต่สวน ที่สุดมีพระราชโองการห้ามไม่ให้ใช้ภาษาไทยในการเผยแพร่ศาสนา ห้ามคนไทย มอญ และลาวเข้ารีตศาสนาคริสต์ และห้ามมิให้มิชชันนารีติเตียนศาสนาของคนไทย มิชชันนารีที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกเฆี่ยนแล้วเนรเทศ<ref>มาโนช พุ่มไพจิตร, ''แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป'', หน้า 120</ref> ส่งผลให้การเผยแพร่ศาสนาแก่คนไทยในยุคนั้นต้องหยุดชะงักไป ต่อมาในรัชกาลที่ 3 มุขนายกปาลกัว ให้พิมพ์หนังสือนี้ออกเผยแพร่อีก พอถึง พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) สมัยจอมพลสฤษฎิ์ ก็มีการเผยแพร่หนังสือดังกล่าวอีกครั้ง ตำรวจจึงเรียกบาทหลวง 3 คนไปสอบสวน หนังสือถูกยึด ภายหลังก็สงบลง<ref name="ศาสนาคริสต์">เสรี พงศ์พิศ, ''ศาสนาคริสต์'', พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2545, หน้า 92</ref>
 
แม้คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยจะประสบปัญหาในบางช่วง แต่โดยภาพรวมก็ถือว่ามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ถูกห้ามเผยแพร่ศาสนาให้คนสยาม ก็ได้แผยแพร่ให้คนต่างชาติในสยามแทนจนเกิดโบสถ์คาทอลิกขึ้นหลายแห่ง เช่น [[โบสถ์คอนเซปชัญ]]ของชาวเขมร [[โบสถ์ซางตาครู้ส]]ของชาวจีน เป็นต้น เมื่อได้รับเสรีภาพในการประกาศศาสนาก็ทำให้การดำเนินงานสะดวกขึ้น มีการตั้งโรงเรียน วิทยาลัย และโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่งภายใต้การบริหารงานของ[[คณะนักบวชคาทอลิก]]คณะต่างๆ<ref name="ศาสนาคริสต์"/>
 
=== ยุคเขตมิสซังมุขมณฑล ===
[[ไฟล์:Michael Michai Kitbunchu.gif|thumb|[[พระคาร์ดินัล]] [[ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู]] พระคาร์ดินัลองค์แรกของประเทศไทย]]
เมื่อเห็นว่ากิจการของคริสตจักรในประเทศไทยก้าวหน้าเป็นอย่างดี [[สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6]] ก็ได้สถาปนาเขตผู้แทนพระสันตะปาปาทั้งหลายในประเทศไทยขึ้นเป็น'''[[เขตมิสซังมุขมณฑล]]''' (diocese) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยแบ่งเป็นสอง[[ภาคคริสตจักร]] (ecclesiastical province)<ref>Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์'', หน้า 50 – 1</ref> คือ
* '''ภาคกรุงเทพฯ''' ประกอบด้วย[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ]]ซึ่งเป็นเขตมิสซังชั้น[[อัครมุขมณฑล]] (archdiocese) และ[[เขตมิสซังราชบุรี]] [[เขตมิสซังจันทบุรี]] [[เขตมิสซังเชียงใหม่]]เป็นเขตมิสซังชั้น[[มุขมณฑล]] (diocese)
* '''ภาคท่าแร่-หนองแสง''' ประกอบด้วย[[เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง]]ซึ่งเป็นเขตมิสซังชั้นอัครมุขมณฑล (archdiocese) ส่วน[[เขตมิสซังอุบลราชธานี]] [[เขตมิสซังนครราชสีมา]] [[เขตมิสซังอุดรธานี]]เป็นเขตมิสซังชั้นมุขมณฑล (diocese)
 
ต่อมาได้มีการแยกพื้นที่ทางตอนเหนือของเขตมิสซังกรุงเทพฯ ออกไปกับบางส่วนของเขตมิสซังเชียงใหม่ ตั้งเป็น[[เขตมิสซังนครสวรรค์]]ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) และแยกภาคใต้ออกจากเขตมิสซังราชบุรีเพื่อตั้งเป็น[[เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี]]ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ทั้งสองเขตมิสซังใหม่ยังคงรวมอยู่ในภาคกรุงเทพฯ คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยจึงประกอบด้วย 10 เขตมิสซังซึ่งเป็นมุขมณฑลดังเช่นปัจจุบัน
 
ในระยะแรกบางเขตมิสซังยังมีมุขนายกเป็นชาวต่างชาติอยู่ ต่อมาเมื่อเขตมิสซังมีความพร้อมจึงลาออกเพื่อให้มีมุขนายกใหม่ที่เป็นคนไทย คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยปัจจุบันจึงได้ดำเนินการด้วยคนไทยเองอย่างสมบูรณ์ แต่ยังต้องรายงานและรับนโยบายสำคัญจาก[[สันตะสำนัก]]ด้วยเพื่อความเป็นเอกภาพของคริสตจักรคาทอลิกที่มีอยู่ทั่วโลก