ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินีจิโต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
 
พระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโตคือ เจ้าหญิงอุโน-โนะ-ซะระระ หรือ อุโน-โนะ-ซะซะระ(鸕野讚良) หรือ เจ้าหญิงอุโนะ<ref name="b270">Brown, D. (1979). ''Gukanshō,'' p. 270.</ref>
 
===เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโต===
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโตทรงต้องรับผิดชอบในการบริหาราชกิจทั้งหมดหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิเทงมุ พระสวามี และทรงมีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระนางด้วย พระนางทรงครองราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 1230 เพื่อที่จะทรงแน่นอนพระทัยในสิทธิการสืบราชสมบัติของ[[เจ้าชายคุซะคะเบะ]] พระโอรส ตลอดรัชสมัยนี้ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโตทรงว่าราชการจากพระราชวังฟุจิวะระในยะมะโตะ<ref name="v137"/>
 
เจ้าชายคุซะคะเบะทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเพื่อครองราชบัลลังก์สืบต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโต แต่เจ้าชายกลับสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 28 พรรษา เจ้าชายคะรุ-โนะ-โอะ พระโอรสของเจ้าชายคุซะคะเบะได้รับการสถาปนาให้เป็นรัชทายาทสืบต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโต ผู้เป็นพระอัยยิกา และต่อมาเจ้าชายทรงครองราชสมบัติเป็น [[สมเด็จพระจักรพรรดิมงมุ]]<ref name="v137"/>
 
สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโตทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 11 ปี ถึงแม้ว่ามีจักรพรรดินีนาถพระองค์อื่น 7 พระองค์ รัชทายาทของแต่ละพระองค์มักเลือกจากสายสันตติวงศ์ที่เป็นบุรุษ ที่ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงจากนักปราชญ์สายอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับสิทธิของสตรีในการสืบราชสันตติวงศ์ และที่ซึ่งประเพณีในการสืบสันตติวงศ์ต้องเป็นบุรุษเท่านั้นยังคงมีการรักษาไว้ดังเดิมในศตวรรษที่ 21<ref name="jt2007">[http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20070327i1.html "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl,"] ''Japan Times.'' March 27, 2007.</ref> [[สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเกงเม]] ผู้ซึ่งทรงให้พระราชธิดาครองราชสมบัติสืบต่อในพระนามว่า [[สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเกงโช]] ยังคงเป็นที่ยกเว้นจากการถกเถียงเรื่องสิทธิของสตรีนี้
 
ในปีพ.ศ. 1240 สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโตทรงสละราชสมบัติแก่เจ้าชายคะรุ-โนะ-โอะ พระนัดดาองค์โปรดให้ครองราชย์เป็น [[สมเด็จพระจักรพรรดิมงมุ]]และพระนางทรงดำรงเป็นอดีตจักรพรรดินีนาถ ทรงดำรงพระอิศริยยศ "[[จักรพรรดิไดโจ|ไดโจ เทนโน]]"มีพระราชอำนาจในราชสำนักเหนือองค์จักรพรรดิ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จักรพรรดิพระองค์ต่อๆมาทรงกระทำเช่นเดียวกับพระนางและดำรงพระอิศริยยศนี้หลังสละราชบัลลังก์<ref name="v137"/>
 
อดีตพระจักรพรรดินีนาถจิโตทรงครอบครองพระราชอำนาจเป็น [[พระประมุขโดยสันโดษ]]หรือเรียกว่า "ระบบอินเซอิ" ที่ซึ่งสามารถทำให้พระนางคงพระราชอำนาจไว้ได้อย่างยาวนานในการเมืองญี่ปุ่น
 
ปัจจุบันสถานที่ฝังพระศพของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถจิโตเป็นที่รู้จัก<ref name="kunaicho"/> พระนางทรงได้รับการเคารพตามโบราณราชประเพณีที่ศาลเจ้า[[ชินโต]]ในเมืองนะระ
 
[[สำนักพระราชวังอิมพีเรียล]]ได้จดทะเบียนสถานที่ฝังพระศพของจักรพรรดินีนาถจิโต และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า ''โอะจิ-โนะ-โอะกะโนะเอะ โนะ มิซะซะกิ''<ref>Ponsonby-Fane, p. 420.</ref>
==อ้างอิง==
* {{รายการอ้างอิง}}