ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
Torpido ย้ายหน้า การเลือกตั้งของประเทศไทยครั้งที่ 17 ไปยัง [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคชาติไทย]] โดย พลตรี [[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเสียง 87 ที่นั่ง รองลงไปคือ [[พรรคกิจสังคม]] มี 54 ที่นั่ง และ[[พรรคประชาธิปัตย์]] 48 ที่นั่ง ซึ่งไม่มี[[พรรคการเมือง]]ใดได้รับเสียงเกินครึ่งของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ที่มีทั้งหมด 357 เสียง<ref>[http://www.democrat.or.th/th/about/history/ ประวัติพรรคประชาธิปัตย์]</ref>
 
แกนนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับแรกห้า 5 พรรค ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า พล.อ.เปรม มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จึงเข้าพบกับ พล.อ.เปรม ถึง[[บ้านสี่เสาเทเวศน์]] ซึ่งเป็นบ้านพัก ในวันที่ [[27 กรกฎาคม]] แต่ พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อ โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลารวมทั้งหมด 8 ปี ที่ตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว อีกทั้งบ้านเมืองก็มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับที่น่าพึงพอใจ พล.ต.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ [[4 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ [[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45 ของไทย|คณะรัฐมนตรี]] เมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน
 
ในส่วนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ก็ได้รับพระบรมโองการราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[สภาองคมนตรีไทย|องคมนตรี]] ในเวลาต่อมาไม่นาน
 
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจุดที่น่าสนใจ คือ เป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของ [[พรรคพลังธรรม]] โดยมี พล.ต.[[จำลอง ศรีเมือง]] หัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]อยู่ด้วย ซึ่งใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535|การเลือกตั้งครั้งต่อมา]] คือ ในวันที่ [[22 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2535]] พรรคพลังธรรมได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]] อันเป็น[[เมืองหลวง]] และถือเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองครั้งแรกของนักการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม ที่ต่อมามีบทบาททาง[[การเมืองไทย|การเมือง]]และสังคมที่สำคัญหลายคน เช่น นาย[[วิลาศ จันทร์พิทักษ์]], นาย[[ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์]], ดร.[[อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา]] เป็นต้น<ref>ชาติชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรมได้รับการเสนอชื่อเป็นองคมนตรี หน้า 207, ''กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554'' โดย [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] ISBN 978-974-228-070-3</ref> <ref>สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. ''ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539. 632 หน้า. ISBN 974-599-876-4</ref>