ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พุทธามาตย์ ย้ายหน้า การจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัล ไปยัง [[การจัดระเบียบองค์การแบบอ...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''การจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลอิปิสโคปัล''' ({{lang-en|Episcopal polity}} /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็น[[การจัดระเบียบองค์การคริสตจักร]]ที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือ[[มุขนายก]]เป็นผู้นำของ[[คริสตจักร]]ในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักร[[โรมันคาทอลิก]] [[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]] [[แองกลิคันคอมมิวเนียน]] ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี
 
คำว่า ''อีปิสโคปัลอิปิสโคปัล'' มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่า'''ผู้ปกครองดูแล''' ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ
 
คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น[[มุขมณฑล]] ที่ประชุมร่วม หรือ[[ซิโนด]] บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและ[[การเมือง]] และประกอบพิธีสำคัญ เช่น [[การบวช]] [[การยืนยันความเชื่อ]] และ[[การอภิเษก]] หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปได้รับเป็นตำแหน่งที่มี[[การสืบตำแหน่งต่อจากอัครทูต]]ของ[[พระเยซู]] จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาค[[พันธสัญญาใหม่]]<ref>The first descriptions of the bishop (episcopus) [http://www.usccb.org/nab/bible/1timothy/1timothy3.htm] and of ordination by apostolic succession in the New Testament [http://www.usccb.org/nab/bible/2timothy/2timothy1.htm]</ref>
 
ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็น[[มุขนายกประจำมุขมณฑล]]และ[[มุขนายกเกียรตินาม]] มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและ[[อัครมุขนายก]] ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น [[สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย]])
 
ตั้งแต่มี[[การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์]] ชาว[[โปรเตสแตนต์]]ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ [[การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน|แบบเพรสไบทีเรียน]] [[การจัดระเบียบองค์การแบบคองกริเกชันนัลนาลิสต์|แบบคองกริเกชันนัลนาลิสต์]] ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของ[[ฌ็อง กาลแว็ง]] นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่งเศส
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 15:
== ดูเพิ่ม ==
*[[การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน]]
*[[การจัดระเบียบองค์การแบบคองกริเกชันนัลนาลิสต์]]
 
{{เรียงลำดับ|อีปิสโคปัลอิปิสโคปัล}}
[[หมวดหมู่:คริสตจักร]]
[[หมวดหมู่:ระบบการปกครองของศาสนาคริสต์]]