ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่:กวีนิพนธ์สำเร็จแล้ว โดยใช้ ฮอทแคต
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ใช้เลขอารบิก
บรรทัด 18:
'''สุภาพร มากแจ้ง'''<ref name=supaporn>สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2535.</ref> ได้วิเคราะห์ฉันทลักษณ์ร้อยกรองไทยไว้อย่างละเอียดใน ''กวีนิพนธ์ไทย''
 
ซึ่งกล่าวว่าการแบ่งฉันทลักษณ์อย่างแคบและนิยมใช้อยู่ทั่วไปจะได้ 5 ชนิดใหญ่ ๆ แต่หากรวมคำประพันธ์ท้องถิ่นเข้าไปด้วยจะได้ ๑๐10 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่
# [[โคลง]]
# [[ฉันท์]]
บรรทัด 30:
# [[กอน (อีสาน)]]
 
คำประพันธ์ทั้ง ๑๐10 ชนิดนี้ ถ้านำมาแบ่งตามลักษณะบังคับร่วมจะได้ 2 กลุ่มคือ
 
'''กลุ่มที่ 1 ไม่บังคับวรรณยุกต์''' ได้แก่ ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย และกานต์
 
'''กลุ่มที่ 2 บังคับวรรณยุกต์''' ได้แก่ โคลง กอน (อีสาน) กาบ (อีสาน) กาพย์ (เหนือ) และค่าว
 
== ลักษณะบังคับ ==
บรรทัด 48:
 
=== ครุ ลหุ ===
* '''ครุ''' คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง 4 คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ
* '''ลหุ''' คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น (รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ
 
บรรทัด 57:
=== คณะ ===
* '''คณะ''' กล่าวโดยทั่วไปคือแบบบังคับที่วางเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้น จะต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ และต้องมีเอกโท ครุลหุตรงนั้นตรงนี้
* แต่สำหรับใน '''[[ฉันท์]]''' คำว่า '''คณะ''' มีความหมายแคบ คือหมายถึง ลักษณะที่วางคำเสียงหนัก เสียงเบา ที่เรียกว่า ครุ ลหุ และแบ่งออกเป็น 8 คณะ คณะหนึ่งมีคำอยู่ 3 คำ เรียง ครุ ลหุ ไว้ต่างๆ กัน
 
คณะทั้ง 8 นั้น คือ '''ย ร ต ภ ช ส ม น''' ชื่อคณะทั้ง 8 นี้ เป็นอักษรที่ย่อมาจากคำเต็ม คือ
: ย มาจาก ยชมาน แปลว่า พราหมณ์บูชายัญ
: ร มาจาก รวิ แปลว่า พระอาทิตย์
บรรทัด 79:
: ม มาดีดี
 
เมื่อแยกพยางค์แล้ว จะได้ ครุ-ลหุ เต็มตามคณะทั้ง 8 (ชื่อคณะนี้ ไม่สู้จำเป็นในการเรียนฉันทลักษณ์ไทยนัก เพราะมุ่งจำครุ-ลหุกันมากกว่าจำชื่อคณะ เท่าที่จัดมาให้ดูเพื่อประดับความรู้เท่านั้น)
 
=== พยางค์ ===
'''พยางค์''' คือจังหวะเสียง ที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ หรือหน่วยเสียง ที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมาย หรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆ นั้น ล้วนหมายถึง '''คำพยางค์''' ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ ถ้ามีเสียงเป็น ลหุ จะรวม 2 พยางค์ เป็นคำหนึ่ง หรือหน่วยหนึ่ง ในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามี เสียงเป็น ครุ จะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ
 
=== สัมผัส ===
'''สัมผัส''' คือลักษณะที่บังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันนั้น หมายถึง คำที่ใช้สระ และมาตราสะกดอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษร หรือซ้ำเสียงกัน (สระใอ, ไอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้) มี 2 ชนิด คือ สัมผัสนอกและสัมผัสใน
 
: 1. '''สัมผัสนอก''' ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกัน ในระหว่างวรรคหนึ่ง กับอีกวรรคหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างๆ กัน ตามชนิดของคำประพันธ์นั้นๆ สัมผัสนอกนี้ เป็นสัมผัสบังคับ ซึ่งจำเป็นต้องมี จะขาดไม่ได้ ดังตัวอย่าง ที่โยงเส้นไว้ให้ดู เช่น
บรรทัด 99:
| ชายเป็นปราชญ์หญิงฉลาดหลักแหลม'''คม''' |มีให้'''ชม'''ทั่วไปในธาตรี}}
 
: 2. '''สัมผัสใน''' ได้แก่ คำที่คล้องจองกัน และอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่ เรียงคำไว้ติดต่อกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่น แทรกคั่นไว้ ระหว่างคำที่สัมผัสก็ได้สุดแต่จะเหมาะ ทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดว่า จะต้องมีอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ เหมือนอย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็น จะต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วย เพียงแต่ให้อักษรเหมือนกัน หรือเป็นอักษรประเภทเดียวกัน หรืออักษรที่มีเสียงคู่กัน ก็ใช้ได้ สัมผัสใน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สัมผัสสระและสัมผัสอักษร
 
:: 2.1 '''สัมผัสสระ''' ได้แก่คำคล้องจองที่มีสระและมาตราสะกดอย่างเดียวกัน เช่น {{บทกวี |indent=1
บรรทัด 113:
::: '''ใช้ตัวอักษรประเภทเดียวกัน''' คือใช้อักษรที่มีเสียงเหมือนกัน แต่รูปไม่เหมือนกัน เช่น ค ฆ ท ธ ร ล ศ ษ ส เป็นต้น ดังนี้ {{โคลงสี่สุภาพ |ศึกษาสำเร็จรู้ |ลีลา กลอนแฮ |ระลึกพระคุณครูบา |บ่มไว้ |อุโฆษคุณาภา |เพ็ญพิพัฒน์ |นิเทศธรณินให้ |หื่นซ้องสาธุการ}}
 
::: '''ใช้อักษรที่มีเสียงคู่กัน''' คือใช้อักษรต่ำ ชนิดอักษรคู่ ๑๔14 ตัว กับอักษรสูง ๑๑11 ตัว ซึ่งมีเสียงผันเข้ากันได้ เป็นคู่ๆ ดังนี้<br />
:::: {| class="wikitable"
|-
! อักษรต่ำ ๑๔14 ตัว
! อักษรสูง ๑๑11 ตัว
|-
| ค ฆ
บรรทัด 146:
 
=== คำเป็นคำตาย ===
* '''คำเป็น''' คือคำที่ไม่มีตัวสะกดประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ในแม่ ก กา และคำที่มีตัวสะกด ในแม่กน กง กม เกย (คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย) รวมทั้ง สระสั้นทั้ง 4 ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอาเช่น ตาดำชมเชยคนหุงข้าวเหนียวในครัวไฟ
* '''คำตาย''' คือคำไม่มีตัวสะกดที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น (รัสสระ) ในแม่ ก กา (ยกเว้น อำใอ ไอเอา) และคำที่มีตัวสะกด ในแม่ กก กด กบ เช่น นกกะหรอด กับนกกะปูด จิกพริก (ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้'''คำตาย'''แทน '''เอก''' ได้)