ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 ย้ายหน้า ราชาศัพท์ ไปยัง ราชาศัพท์ (ภาษาไทย): ราชาศัพท์เป็นความหมายทั่วไป มีในภาษาอ...
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
'''ราชาศัพท์ในภาษาไทย''' เป็นระเบียบการใช้คำพูดของ[[ภาษาไทย|ไทย]]ให้สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ 1) พระราชา 2) เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ 3) พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4) ข้าราชการ และ 5) สุภาพชนทั่วไป
 
== ประวัติ ==
 
=== ความเห็นของนักภาษาศาสตร์ไทย ===
 
'''[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]'''มีลายพระหัตถ์ไปถึง[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์|พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]ว่า "...ราชาศัพท์ดูเป็นคำที่ผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่...มีเค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่าเห็นได้ว่า ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไป (หมายถึง ในสมัยก่อนอยุธยา) ยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ" โดยทรงสันนิษฐานด้วยว่า ราชาศัพท์เกิดขึ้นในอาณาจักร[[ละโว้]]สมัยที่[[เขมร]]ปกครอง ส่วนในประเทศไทยในนั้นน่าจะริเริ่มแต่สมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]ซึ่งกวาดต้อนชาวเขมรเข้ามาเป็นชนชั้นล่างในราชอาณาจักรอยุธยามาก ราชาศัพท์ในไทยจึงเป็นคำที่ชนชั้นล่างใช้แก่ชนชั้นสูงกว่า และยังแสดงพระวิจารณ์อีกว่า "...เมื่อแรกตั้งราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และ...ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้นด้วยเกิดคิดเห็นว่าของเจ้าควรจะผิดกับของไพร่ให้หมด..." <ref>'''สาส์นสมเด็จ ฉบับองค์การค้าคุรุสภาพิมพ์จำหน่าย''', เล่ม 23. (2505). พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. หน้า 106-107.</ref>
บรรทัด 15:
== คำสุภาพ ==
'''คำสุภาพ''' คือคำราชาศัพท์สำหรับชั้นสุภาพชน เป็นการเปลี่ยนถ้อยคำต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับสื่อสารกับผู้ที่อาวุโสกว่า คำสุภาพมีลักษณะทั่วไปดังนี้
# ไม่เป็น[[คำอุทาน]]ที่ไม่สุภาพ เช่น ''โว้ย เว้ย'' หรือ[[คำสบถ]] เช่น ''ให้ตายห่า ให้ฉิบหายวายวอด'' หรือการพูดกระชากเสียง เช่น ''เปล่า ไม่ใช่'' เป็นต้น
# ไม่เป็น[[คำผวน]] คือเมื่อผวนหางเสียงกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว คำนั้นจะกลับเป็นไม่สุภาพทันที เช่น ''ผักบุ้ง'' ผวนเป็น ''พุ่งบัก'' เป็นต้น
# ไม่มีการใช้คำที่ถือว่าหยาบโลน เช่น ''ไอ้, อี, ขี้'' ฯลฯ โดยจะเปลี่ยนคำศัพท์ไปเป็นคำอื่น เป็น ''สิ่ง, นาง, อุจจาระ'' ฯลฯ หรือไม่ก็ตัดออกไปเลย เช่น ''อีเลิ้ง'' เป็น ''นางเลิ้ง'' ''ดอกขี้เหล็ก'' เป็น ''ดอกเหล็ก'' เป็นต้น
บรรทัด 26:
{{วิกิพจนานุกรม|คำราชาศัพท์}}
{{วิกิพจนานุกรม|รายการคำราชาศัพท์|รายการคำราชาศัพท์}}
* [[รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด]]
* [[วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย|คำทับศัพท์]]