ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวย่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Hanzi (simplified).png|thumb|300px|right|Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ [[ภาษาจีนกลาง]] เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ]]
[[ไฟล์:Simplified Chinese Method Overview Euler Diagram in English.svg|thumb|right|300px|แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ]]
 
'''อักษรจีนตัวย่อ''' ({{zh-all|t=簡體字/簡化字|s=简体字/简化字|p=jiǎntǐzì/jiǎnhuàzì}} ''เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ'') เป็นหนึ่งในสองรูปแบบ[[อักษรจีน]]มาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ([[จีนแผ่นดินใหญ่]]) ใน [[พ.ศ. 2492]] เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ [[อักษรจีนตัวเต็ม]] หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) [[อักษรจีนตัวเต็ม]]ได้ใช้ใน [[ฮ่องกง]] [[มาเก๊า]] [[ไต้หวัน]] และชุมชน[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]บางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[สิงคโปร์]] และชุมชน[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]บางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม [[ชาวไทยเชื้อสายจีน]]ส่วนมากยังคงใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]]เป็นหลัก แต่สำหรับการสอน[[ภาษาจีน]]ตามสถานศึกษาใน[[ประเทศไทย]]ส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]
 
== ประวัติ ==
เส้น 9 ⟶ 10:
ใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] มีการออกประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งแรก 2 ฉบับ คือใน [[พ.ศ. 2499]] และ [[พ.ศ. 2507]] ในระหว่างที่พึ่งมีการประกาศใช้นั้น เกิดความสับสนในการใช้ตัวอักษรจีนอย่างมาก ตัวอักษรที่ใช้ในครั้งนั้นเป็นตัวอักษรย่อบางส่วนผสมกับตัวอักษรดั้งเดิม และได้มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 2 หรือที่เรียกว่า 二简 ''เอ้อร์เจียน'' ใน[[พ.ศ. 2520]] ในช่วงของ[[การปฏิวัติวัฒนธรรม]] โดยฝ่ายซ้ายจัดใน[[ประเทศจีน]] แต่ในการประกาศใช้ครั้งที่ 2 นี้ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร จนถึง พ.ศ. 2529 ได้ยกเลิกการประกาศครั้งที่ 2 นี้ไป ในขณะเดียวกัน ก็มีการแก้ไขการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 1 ถึง 6 ครั้ง (รวมถึงการนำตัวอักษรดั้งเดิม 3 ตัวมาใช้แทนตัวอักษรที่ย่อไปแล้วในประกาศครั้งที่ 1 ได้แก่ 叠, 覆, 像) อย่างไรก็ตาม แม้อักษรจีนตัวย่อตามประกาศใช้ครั้งที่ 2 จะถูกยกเลิกไป แต่ระหว่างนั้นก็ได้มีการสอนในโรงเรียนไปแล้ว และยังใช้ในการเขียนพู่กันด้วย
 
นอกจากนี้ การใช้อักษรจีนตัวย่อใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] เป็นจุดเริ่มต้นของการยกเลิกอักษรเขียนแทนเสียงแบบเก่า และจุดกำเนิดของการเขียนแทนเสียงแบบ[[พินอิน]] หรือ ฮั่นอวี้พินอิน (Hanyu Pinyin) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปตัวอักษรจีนไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนอย่างที่ฝ่ายซ้ายจัดคาดไว้แต่แรก หลังจากการยกเลิกประกาศครั้งที่ 2 ไปแล้ว ทาง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ตั้งมั่นว่าจะรักษาระบบอักษรจีนให้คงที่ และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือนำตัว[[อักษรจีนตัวเต็ม]] กลับมาใช้อีกในอนาคต
 
พรรคคอมมิวนิสต์กลัวว่าประชาชนจะสับสนเกี่ยวความแตกต่างระหว่าง[[อักษรจีนตัวเต็ม]]และอักษรจีนตัวย่อ จึงอ้างเหตุนี้ในการห้ามใช้อักษรจีนตัวย่อใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าสิ่งพิมพ์ในประเทศยังมีการใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]]อยู่ จึงได้ออกกฎหมายภาษาและตัวอักษรแห่งชาติขึ้น อธิบายไว้ว่า ในทั่วทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ [[อักษรจีนตัวเต็ม]]มิได้ถูกห้ามใช้ ส่วนใหญ่จะใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]]ในงานเฉลิมฉลอง การตกแต่งการใช้งานตามประเพณีดั้งเดิม เช่น การเขียนพู่กัน การใช้เพื่อการค้า เช่น ป้ายหน้าร้านและการโฆษณาซึ่งต่อมาส่วนมากใช้อักษรจีนตัวย่อกัน
 
สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะทำสื่อที่เผยแพร่ใน [[ไต้หวัน]] [[ฮ่องกง]] [[มาเก๊า]] และต่างประเทศ โดยใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]] ตัวอย่างเช่น [[หนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่]]ที่มีทั้งรูปแบบ[[อักษรจีนตัวเต็ม]]และตัวย่อ เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่และ[[สำนักข่าวซินหัว]]ที่ให้เลือกอ่านเป็น[[อักษรจีนตัวเต็ม]] โดยใช้รหัสอักษร Big5 ตัวอย่างอื่น เช่น นมที่ผลิตใน[[จีนแผ่นดินใหญ่]]และส่งไปขายใน[[ฮ่องกง]] ก็พิมพ์ฉลากโดยใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]] และการปกครองแบบหนึ่งประเทศสองระบบ ทาง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ก็ไม่อยากเปลี่ยนให้[[ฮ่องกง]]และ[[มาเก๊า]]มาใช้อักษรจีนตัวย่อ
 
=== สิงคโปร์ และมาเลเซีย ===
[[สิงคโปร์]] มีการรับอักษรจีนตัวย่อจาก[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]มาใช้ 3 ครั้ง
* ครั้งแรก ใน[[พ.ศ. 2512]] กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ประกาศให้ใช้ อักษรจีนตัวย่อ 249 ตัว จาก[[อักษรจีนตัวเต็ม]] 502 ตัว
* ครั้งที่ 2 ใน[[พ.ศ. 2517]] ประกาศให้ใช้ อักษรจีนตัวย่อ 2287 ตัว ในครั้งนี้ มีการใช้ต่างจาก[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] 49 ตัว
* ครั้งที่ 3 ใน[[พ.ศ. 2519]] ประกาศให้ใช้ตัวอักษร 49 ตัว ที่แตกต่างจาก[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ในตอนแรก ตาม[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]
* ใน[[พ.ศ. 2529]] ใช้ตัวอักษรตามประกาศใช้ครั้งที่ 1 ฉบับแก้ไข ของใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]
 
[[มาเลเซีย]] มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อตาม[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ทุกประการ ใน[[พ.ศ. 2524]]
 
== อ้างอิง ==
* Huang, Jack. Huang, Tim. [1989] (1989) Introduction to Chinese, Japanese, and Korean Computing. World Scientific publishing. ISBN 9971506645
 
{{ภาษาจีน}}
เส้น 31 ⟶ 32:
 
[[หมวดหมู่:อักษรจีน]]
 
[[bg:Опростен китайски]]
[[ca:Xinès simplificat]]