ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็กซ์โป 2020"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
HRoestBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: ru:Всемирная выставка (2020)
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12:
[[ไฟล์:มาสคอตงานเอ็กซ์โป_2020.jpg‎|thumb|right|น้องกินรี มาสคอตงานเอ็กซ์โป 2020]]
 
จากการที่ไทยเป็นเพียง 1 ใน 3 ชาติของเอเชียซึ่งมีเพียง จีน และญี่ปุ่น ที่ได้เข้าร่วมงานเอ็กซ์โป 1851 ณ กรุงลอนดอน[[ประเทศอังกฤษ]]ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] หลังจากนั้นจึงมีแนวความคิดว่าให้จัดงานนิทรรศการขนาดใหญ่ โดยในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] ได้มีการจัดงาน "นาเชอนนัล เอกฮิบิเชน" (National Exhibition) ในโอกาสการสมโภช[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ครบ 100 ปี นับเป็นความพยายามครั้งแรกในสยามประเทศที่ประสงค์จัดงานนิทรรศการขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นการประกาศความเจริญของประเทศให้ประจักษ์แก่สายตานานาชาติ ในการจัดงานครั้งนี้ได้มีการปรารภถึงการทบทวนเรื่องราวตลอด 100 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และขยายการจัดงานไปสู่การจัดงานนิทรรศการนานาชาติอีกด้วย <ref name="วิชิต แสงสว่าง">http://krusart.rru.ac.th/e-book/wichit/exhibition/lesson8.pdf วิชิต แสงสว่าง, การจัดแสดงนิทรรศการ : ประกาศพระบรมราชโองการเอกซฮิบิเชนท 1</ref>
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 [[สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)]] ได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ และมีการศึกษาความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพ "งานมหกรรมโลกเวิลด์เอ็กซ์โป" หลังจากนั้นได้มีการจัดทำรายงานความเป็นไปได้ การระดมความคิดเห็นจากกลุ่มภาครัฐ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมไมซ์ และการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
 
ต่อมาในรัชสมัยของ[[รัชกาลที่ 6]] ได้มีพระราชดำริให้จัดงาน "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" (The Siamese Kingdom Exhibition) ซึ่งได้มีการเทียบเชิญให้ประเทศต่างๆ เข้าร่วมนิทรรศการ โดยใช้เขตชานเมืองของพระนครคือพื้นที่ของ[[สวนลุมพินี]]เป็นสถานที่จัดงาน มีการขุดคลองรอบพื้นที่เพื่อตกแต่งและเตรียมสถานที่จัดงานตามรูปแบบของมาตรฐานการจัดงานนานาชาติ มีการจัดทำหนังสือ แสตมป์ และเหรียญที่ระลึกของงาน แต่ในที่สุดได้มีการยกเลิกการจัดงานไปเนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จสวรรคต ซึ่งถือว่าเป็นการจัดเตรียม '''งานมหกรรมนานาชาติที่มิใช่การจัดงานในเชิงพาณิชย์''' ครั้งเดียวของไทย <ref name="สยามรัฐพิพิธภัณฑ์">http://www.cupress.chula.ac.th/press/htm/act2006_08-31_saimrat.htm สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref>
 
จนกระทั่งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 [[สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)]]ภาคเอกชนต่างๆ ได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ และมีการศึกษาความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพ "งานมหกรรมโลกเวิลด์เอ็กซ์โป" โดยมี [[สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)]] เป็นแกนกลางในการประสานงาน หลังจากนั้นได้มีการจัดทำรายงานความเป็นไปได้ การระดมความคิดเห็นจากกลุ่มภาครัฐ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมไมซ์ และการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
 
=== การประเมินศักยภาพพื้นที่ ===
มี 6 จังหวัด เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ [[พระนครศรีอยุธยา]] [[ชลบุรี]] [[จันทบุรี]] [[เพชรบุรี]] [[เชียงใหม่]] และ[[ภูเก็ต]]<ref name="คชล">[http://www.komchadluek.net/detail/20110416/94758/ลุ้นกรุงเก่าชิงเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป2020.html ลุ้นกรุงเก่าชิงเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป2020] คมชัดลึก. สืบค้น 20-11-2554.</ref> ซึ่งหลังมีการศึกษาความเป็นไปได้ ผลปรากฏว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความพร้อมมากที่สุด
 
พื้นที่จัดงานจะตั้งอยู่ในเขต[[ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร]] พื้นที่ 1,200 ไร่ จากที่ศึกษาควรใช้พื้นที่จัดงาน 1,400-1,500 ไร่ มีทัศนียภาพที่งดงามซึ่งอยู่ติดกับส่วนที่กว้างที่สุดของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] เป็นอุทยานการเรียนรู้ มีแผนการพัฒนาการคมนาคมรองรับ โดยมีพื้นที่ใกล้กับ[[ทางพิเศษอุดรรัถยา]] และใช้ระยะเวลาเดินทางจาก[[กรุงเทพมหานคร]]เพียง 40 นาที{{อ้างอิง}}