ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่เดียนเบียนฟู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44:
พร้อมกันนั้น นาวาร์ได้มองหาหนทางที่จะหยุดยั้งภัยคุกคามจากเวียดมินห์ต่อลาว พันเอกหลุยส์ แบร์เตย ผู้บัญชาการกลุ่มเคลื่อนที่ที่ 7 และผู้วางแผนหลักของนาวาร์<ref>Fall, 44</ref> ได้เสนอมโนทัศน์ "เอริสซง" (เม่น) กองทัพฝรั่งเศสจะสร้าง[[หัวหาดอากาศ]]ซึ่งมีการป้องกัน โดยให้ทหารกระโดดร่มใกล้กับเส้นทางเสบียงสู่ลาวสำคัญของเวียดมินห์<ref>Davidson, 173</ref> ซึ่งจะเป็นการตัดขาดทหารเวียดมินห์ที่กำลังสู้รบอยู่ในลาวและบีบให้ทหารเหล่านี้ล่าถอยกลับไปอย่างมีประสิทธิภาพ "มันเป็นความพยายามที่จะขัดขวางพื้นที่ด้านหลังของข้าศึก เพื่อหยุดยั้งการหลั่งไหลของเสบียงและกำลังหนุน เพื่อสร้างความกลัวแก่ศัตรูทางด้านหลัง และเพื่อรบกวนแนวของเขา"<ref>Bruce Kennedy. [http://www.cnn.com/SPECIALS/cold.war/episodes/11/spotlight/ CNN Cold War Special: 1954 battle changed Vietnam's history]</ref>
 
มโนทัศน์เม่นตั้งอยู่บนประสบการณ์ของฝรั่งเศสที่[[ยุทธการนาซาน]] ในปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1952 ย้าบได้โจมตีกองรักษาด่านขนาดเล็กของฝรั่งเศสที่นาซาน ซึ่งถือได้ว่าเป็น "ฐานอากาศ-บก" ที่สำคัญ และเป็นค่ายมีการป้องกันที่ได้รับเสบียงจากทางอากาศทางเดียว<ref>Fall, 24</ref> กองกำลังของย้าบถูกตีโต้กลับไปหลายครั้งโดยประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก ฝรั่งเศสหวังว่าด้วยการใช้ยุทธศาสตร์นี้ซ้ำในขนาดที่ใหญ่กว่ามาก พวกเขาน่าจะสามารถลวงย้าบให้ส่งกองกำลังขนาดใหญ่มาโจมตีได้ อันจะเปิดโอกาสให้ปืนใหญ่ ยานเกราะและการสนับสนุนทางอากาศที่เหนือกว่าของฝรั่งเศสทำลายกองกำลังเวียดมินห์ที่ตกเป็นเป้าลงอย่างสิ้นเชิง ประสบการณ์ที่นาซานชวนให้ทำให้นาวาร์เลือกใช้เชื่อว่ามโนทัศน์หัวหาดอากาศที่มีการป้องกันจะประสบความสำเร็จ
 
นายทหารเสนาธิการฝรั่งเศสล้มเหลวแหลกลาญที่จะคำนึงถึงความแตกต่างสำคัญหลายประการระหว่างเดียนเบียนฟูกับนาซาน ประการแรก ที่นาซาน ฝรั่งเศสยึดครองที่สูงเป็นส่วนใหญ่โดยมีการสนับสนุนด้วยปืนใหญ่ที่เหนือกว่ามาก<ref>Davidson, 147</ref> อย่างไรก็ดี ที่เดียนเบียนฟู ฝ่ายเวียดมินห์กลับควบคุมที่สูงส่วนใหญ่โดยรอบหุบเขา ปืนใหญ่ของเวียดมินห์นั้นเกินกว่าฝรั่งเศสคาดการณ์ไว้มากและมีกำลังพลเหนือกว่าฝรั่งเศสถึงสี่ต่อหนึ่ง<ref name="d224">Davidson, 224</ref> ย้าบได้เปรียบเทียบเดียนเบียนฟูว่าเป็น "ชามข้าว" ที่ซึ่งกองกำลังของเขาสามารถยึดครองสันเขาและมีฝรั่งเศสอยู่ที่หุบเขา ประการที่สอง ย้าบมีข้อผิดพลาดที่นาซานโดยสั่งการให้กองกำลังของเขาโจมตีทางด้านหน้าอย่างสะเพร่าก่อนที่กองกำลังจะเตรียมพร้อมอย่างสมบูรณ์ ที่เดียนเบียนฟู ย้าบใช้เวลานานหลายเดือนเพื่อสะสมกระสุนอย่างพิถีพิถันและจัดวางปืนใหญ่หนักและปืนต่อสู้อากาศยานก่อนเคลื่อนทัพ กลุ่มอาสาสมัครเวียดมินห์ถูกส่งออกไปยังค่ายฝรั่งเศสเพื่อสอดแนมหาการจัดวางปืนใหญ่ของฝรั่งเศส ชิ้นส่วนปืนใหญ่ที่ทำจากไม้ถูกสร้างขึ้นมาใช้เป็นเหยื่อล่อ ขณะที่ปืนใหญ่จริงจะถูกหมุนเวียนหลังยิงบ่อย ๆ เพื่อให้การยิงปืนใหญ่ตอบโต้ของฝรั่งเศสเกิดความสับสน ผลก็คือ เมื่อยุทธการได้เริ่มขึ้น เวียดมินห์ทราบแน่ชัดถึงตำแหน่งของปืนใหญ่ของฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสไม่ทราบด้วยซ้ำว่าย้าบมีปืนใหญ่ในการครอบครองเท่าใด ประการที่สาม เส้นทางเสบียงทางอากาศที่นาซานไม่เคยได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง ถึงแม้ฝ่ายเวียดมินห์จะมีการยิงต่อสู้อากาศยานก็ตาม แต่ที่เดียนเบียนฟู ย้าบได้จัดหาปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานจำนวนมากซึ่งทำให้ลานบินใช้การไม่ได้ ทำให้เป็นการยากยิ่งและสิ้นเปลืองสำหรับฝ่ายฝรั่งเศสที่จะส่งกำลังหนุนเข้ามา