ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 103:
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งได้พระราชทานให้เป้นสวนสาธารณะ ต่อมารัฐบาลได้รับโอนที่ดินบริเวณ[[แยกราชประสงค์]] ซึ่ง[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] เป็นผู้ให้บริษัทโรงแรมพระนคร จำกัด กู้เงินซื้อสำหรับสร้างโรงแรม แต่ไม่สามารถตกลงเจรจากันได้ รัฐบาลจึงได้ซื้อที่ดินดังกล่าวมูลค่า 6.6 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 5 ล้านบาท และชำระเป็นเงิน 1.6 ล้านบาท
 
บริษัทสหโรงแรมไทยฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงแรมสูง 4 ชั้น ด้วยเงินงบประมาณ 75 ล้านบาท มีจำนวนห้องพัก 250 ห้อง โดยใช้ชื่อว่า '''"โรงแรมเอราวัณ"''' เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2499]] โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิด หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2522 บริษัทฯ ได้ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างโรงแรม กระทั่งคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้กระทรวงการคลัง ดำเนินการปรับปรุงงปรับปรุงกิจการโรงแรมเอราวัณ โดบโดยการร่วมทุนกับภาคเอกชน ซึ่งบริษัทที่ได้เข้าร่วมทุนในครั้งนั้นคือ บริษัท อัมรินทร์ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดยมีการแถลงข่าวร่วมทุน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 จัดตั้งบริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทร่วมทุน และปิดกิจการโรงแรมเอราวัณ เมื่อวันที่ [[2 มกราคม]] [[พ.ศ. 2531]]
 
กระทั่งบริษัท โรงแรมเอราวัณ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการเปิดบริการใหม่ เมื่อวันที่ [[3 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2534]] โดยใช้ชื่อว่า '''"[[โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ]]"''' เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว สูง 22 ชั้น
 
== การดำเนินงาน ==
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด มีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร้อยละ 84.08 รองลงมาคือ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (ร้อยละ 12.5) และ[[บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)]] (ร้อยละ 1.25)
 
บริษัทฯ มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินบริเวณแยกราชประสงค์ [[ถนนราชดำริ]] มูลค่าปีละ 10.92 ล้านบาท<ref>[http://www.sahathaihotel.com/images/main_1304480514/%A7%BA%A1%D2%C3%E0%A7%D4%B9%20%BB%D5%202553web.pdf รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน]</ref>
 
== อ้างอิง ==