ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vagobot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: dv:ބަޣާވާތް
PandaReactor (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 16:
== รัฐประหารในประเทศไทย ==
{{มุมมองสากล}}
คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ [[การปฏิวัติสยาม|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]]
 
แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état กูเดตา) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ในการควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฎิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์ ทั้งที่เป็นการรัฐประหารด้วยเช่นกัน
 
ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่าย[[ทหารบก]]ทั้งสิ้น ส่วน[[ทหารเรือ]]ได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณี[[กบฏวังหลวง]] ใน พ.ศ. 2492 และ [[กบฎแมนฮัตตัน]]ใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป