ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาแฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PPBot (คุย | ส่วนร่วม)
robot เพิ่ม: pl, ru, id, zh, eo, et, sk, os, sr, sv, bs, bg, da แก้ไข: de
PPBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: จัดรูปแบบไม้ยมก -- กำลังทดสอบ โปรดตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง
บรรทัด 1:
[[Image:Coffee cup.jpg|250px|thumb|right|กาแฟ]]
{{shortcut|[[Coffee]]}}
'''กาแฟ''' เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จาก[[ต้นกาแฟ]] เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในโลกรองจาก[[ชา]] นิยมดื่มร้อน  
 
==ความเป็นมา==
บรรทัด 8:
==ชนิดของเมล็ดกาแฟ==
[[Image:Coffee_Flowers_Show.jpg|thumb|300px|right|''[[ต้นกาแฟอาราบิก้า]] - [[ประเทศบราซิล|บราซิล]]'']]
กาแฟมีมากกว่า 6,000 พันธุ์ แต่พันธุ์หลัก  ๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ ''[[อาราบิก้า]]'' (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม และมีรสชาติดีกว่า และ ''[[โรบัสต้า]]'' (Robusta) ซึ่งมี[[คาเฟอีน]]มากกว่า และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้ (คำว่า robust ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทนทาน) ด้วยความที่มันมีความทนทานมากกว่านี้เอง จึงทำให้มีราคาถูกกว่า แต่ผู้คนมักไม่นิยมดื่มโรบัสต้าเนื่องจากมันขมและเปรี้ยว โรบัสต้าคุณภาพดีจึงมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของ[[เอสเพรสโซ่]] ([[:en:espresso|espresso]]) แบบผสม (เอสเพรสโซ่มีสองแบบใหญ่  ๆ คือแบบที่เป็นอาราบิก้าแท้  ๆ กับแบบที่ผสมกาแฟชนิดอื่น  ๆ)
 
กาแฟอาราบิก้ามักจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามชื่อท่าเรือที่ใช้ส่งออก ท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดสองที่ได้แก่ [[ม็อคค่า]] (Mocha) และ [[เกาะชวา|ชวา]] (Java). กาแฟในปัจจุบันยิ่งมีความเจาะจงในที่ปลูกมากขึ้นเรื่อย  ๆ ต้องมีการระบุถึงประเทศ ภูมิภาค และบางครั้งต้องบอกว่าปลูกที่พื้นที่บริเวณไหนเลยทีเดียว พวกเซียนกาแฟอาจจะถึงกับต้องประมูลกาแฟกัน โดยดูว่าเป็นล็อตหมายเลขเท่าใด. กาแฟชนิดโรบัสต้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันหนึ่งได้แก่ ''[[โกปิ ลูวัค]]'' ([[:en:Kopi Luwak|Kopi Luwak]]) ของ[[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]] เมล็ดของกาแฟชนิดนี้ถูกเก็บขึ้นมาจากมูลของ[[ชะมด]] (Common Palm Civet) ซึ่งกระบวนการย่อยของมันทำให้ได้รสชาติที่ดีเป็นพิเศษ
 
==การผลิตเมล็ดกาแฟ==
===การบ่ม===
ในการผลิตกาแฟ วิธีที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนักวิธีหนึ่งได้แก่การบ่ม (Aging) กาแฟหลาย  ๆ ประเภทจะมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อผ่านการบ่ม รสเปรี้ยวของมันจะลดลง ในขณะที่ความกลมกลืนของรสชาติโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหลาย  ๆ รายมักจะขายเมล็ดกาแฟออกไปหลังจากได้บ่มเอาไว้แล้วถึง 3 ปี และร้านที่ขึ้นชื่อเป็นพิเศษบางร้าน (เช่น "Toko Aroma" ใน[[บังดัง|เมืองบันดัง]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]]) ถึงกับบ่มเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วไว้ถึง 8 ปีทีเดียว
 
===การคั่ว===
กระบวนการคั่วเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ในการที่จะได้กาแฟรสชาติดีสักถ้วยหนึ่ง. เมื่อถูกคั่ว เมล็ดกาแฟสีเขียวก็จะพองออกจนเกือบจะมีขนาดเป็นสองเท่าของของเดิม พร้อมทั้งเปลี่ยนสีและความหนาแน่นไป เมื่อเมล็ดได้รับความร้อน มันจะค่อย  ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและในที่สุดก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน  ๆ แบบสีของผลอบเชย (cinnamon) และมันก็จะมีสีเข้มขึ้นเรื่อย  ๆ จนกว่าจะถูกยกออกจากความร้อน พร้อมกันนี้ เราก็จะเห็นน้ำมันออกมาตามผิวของเมล็ด ในการคั่วแบบอ่อน  ๆ กาแฟจะเก็บรสชาติดั้งเดิมไว้ได้ดีกว่า รสชาติดั้งเดิมนี้จะขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศในที่ที่ต้นกาแฟได้เติบโตขึ้นมา. เมล็ดกาแฟจากพื้นที่ที่มีชื่อเสียง เช่น [[เกาะชวา]] และ[[ประเทศเคนยา]] จะถูกคั่วเพียงอ่อน  ๆ เท่านั้นเพื่อให้ยังคงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์อยู่ให้มากที่สุด
 
<gallery>
Image:Cofffeebeans_aging_a.jpg|เมล็ดกาแฟที่ยังไม่คั่วในขั้นตอนต่างๆต่าง&nbsp;ๆ จากซ้ายไปขวา: เมล็ดกาแฟสด ที่เพิ่งถูกคัดมา, หลังจากอบแห้ง และ 1 ปีหลังจากอบแห้ง รูปถ่ายที่ Toko Aroma ใน [[บันดัง]], [[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]]
Image:coffeebeans_aging_b.jpg|เมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้คั่วในขั้นตอนต่อๆต่อ&nbsp;ๆ มา เมล็ดมีอายุ 7-8 ปี รูปถ่ายที่ Toko Aroma ใน [[บันดัง]], [[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]]
Image:coffeeroasting_woodfired.jpg|เครื่องอบกาแฟขนาดใหญ่แบบเก่าหล่อจากเหล็ก ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ตั้งอยู่ใน Toko Aroma ใน [[บันดัง]], [[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]]
Image:Roasted_coffee_beans.jpg|เมล็ดกาแฟที่คั่วแล้ว
</gallery>
 
ยิ่งเมล็ดกาแฟถูกคั่วให้เข้มมากขึ้นเท่าไหร่ รสชาติดั้งเดิมของมันก็จะยิ่งถูกบดบังด้วยรสที่เกิดจากการคั่วมากขึ้นเท่านั้น กาแฟบางประเภทที่ถูกคั่ว จนรสชาติแทบจะไม่ได้บ่งบอกถึงสถานที่ปลูกเลย จะถูกขายโดยใช้ระดับของการคั่วเป็นหลัก โดยเริ่มตั้งแต่ "อบเชยคั่วอ่อนๆอ่อน&nbsp;ๆ (Light Cinnamon Roast)" ไปจนถึง "การคั่วแบบเวียนนา (Vienna Roast)" และ "การคั่วแบบฝรั่งเศส (French Roast)" และอื่นๆอื่น&nbsp;ๆ
 
ในศตวรรษที่ 19 เมล็ดกาแฟมักจะถูกซื้อขายขณะที่ยังเป็นเมล็ดเขียว &nbsp;ๆ อยู่ และก็มักจะนำไปคั่วในกระทะสำหรับทอด การคั่วในลักษณะนี้ต้องใช้ความชำนาญสูงมาก สำหรับการสูญเสียรสชาติของเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วนั้น สามารถป้องกันได้โดยการบรรจุในห่อสูญญากาศ แต่ปัญหาก็คือการที่เมล็ดกาแฟจะปล่อย[[ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์]]เป็นวัน &nbsp;ๆ หลังจากที่ถูกคั่วเสร็จใหม่ๆใหม่&nbsp;ๆ ผู้ผลิตจึงต้องปล่อยให้กาแฟที่คั่วแล้วค้างไว้ก่อนที่จะนำไปบรรจุลงห่อสูญญากาศได้ ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีสองชนิดจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา บริษัทอิลลี (Illy) ได้ใช้กระป๋องอัดความดัน (pressurized can) ส่วนผู้ผลิตกาแฟคั่วรายอื่น &nbsp;ๆ ใช้วิธีการบรรจุเมล็ดทั้งอันลงในถุงทันทีที่คั่วเสร็จโดยใช้[[วาล์วปล่อยความดัน]] (pressure release valves).
 
ในทุกวันนี้การคั่วเองตามบ้านได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เครื่องคั่วกาแฟที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ช่วยให้การคั่วกาแฟเองในบ้านง่ายขึ้นมาก และบางครัวเรือนก็ใช้วิธีการคั่วในเตาอบหรือเครื่องทำเข้าโพดคั่ว หลังจากคั่วแล้ว กาแฟจะสูญเสียรสชาติอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะมีบางคนชอบทิ้งกาแฟไว้ 24 ชั่วโมงก่อนจะนำไปชงถ้วยแรก แต่ทุก &nbsp;ๆ คนก็เห็นด้วยว่ามันจะเริ่มสูญเสียรสชาติและความขม หลังจากเก็บไว้ประมาณ1สัปดาห์ ถึงแม้จะเก็บอยู่ในที่ที่มีสภาพที่เหมาะสมที่สุดก็ตาม
 
===การบด===
ความละเอียดของกากที่ได้จากการบดมีผลอยากมากต่อรสชาติ ยิ่งบดกาแฟละเอียดเท่าไร ก็จะยิ่งได้รสชาติที่เข้มข้นและครบบริบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น เหตุผลหลักที่บางคนไม่บดละเอียดมากนัก คือเพื่อไม่ให้กากสามารถผ่านตัวกรองชนิดหยาบ &nbsp;ๆ ออกไปได้ (เช่น cafetière) การผลิตกากกาแฟพร้อมชงมีสามวิธีด้วยกัน
 
*การโม่: กดเมล็ดโดยใช้อุปกรณ์หมุนสองตัว ใช้การหมุนเพื่อให้เมล็ดแตก วิธีนี้มีความเสี่ยงน้อยที่เมล็ดจะไหม้ เครื่องบดอาจมีลักษณะเป็นแบบล้อหรือแบบกรวย โดยที่แบบกรวยจะทำงานได้เงียบกว่าและมีโอกาสเกิดการอุดตันน้อยกว่า
**ตัวโม่แบบกรวยช่วยรักษากลิ่นส่วนใหญ่ไว้ได้ และสามารถบดได้ละเอียดมาก อีกทั้งกากที่ได้ก็จะมีความละเอียดสม่ำเสมอกันอีกด้วย โม่ที่ทำจากเหล็กซึ่งมีการออกแบบที่ยุ่งยากซับซ้อน อาจทำให้ลดประสิทธิภาพของเฟืองลง ส่งผลให้การบดทำได้ช้าลง ยิ่งการบดช้าลงเท่าไร ก็ยิ่งมีความร้อนเข้าไปในกากกาแฟน้อยลงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรักษากลิ่นไว้ได้อย่างดี เนื่องจากสามารถปรับความละเอียดได้หลายระดับมา การบดวิธีนี้จึงเหมาะกับกาแฟทุกประเภท ทั้งแบบที่ทำด้วยเครื่องชงเอสเพรสโซ (Espresso) แบบหยด (Drip) แบบใช้เครื่องต้มให้น้ำซึมเข้า (Percolator) และแบบเฟรนช์เพรส (French Press) เครื่องโม่แบบกรวยที่คุณภาพดียังสามารถบดให้ละเอียดเป็นพิเศษสำหรับใช้ในการทำกาแฟแบบตุรกี ความเร็วในการบดโดยทั่วไปไม่เกิน 500 รอบต่อนาที
**เครื่องโม่ประเภทจานหมุน สามารถบดได้รวดเร็วกว่าแบบกรวย (10,000 ถึง 20,000 รอบต่อนาที) และจะส่งผลให้มีความร้อนเข้าไปในกาแฟเล็กน้อย เครื่องแบบนี้เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดในการผลิตกากละเอียดสม่ำเสมอ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายแบบ กากแบบนี้เหมาะสมมากกับเครื่องชงเอสเพรสโซ่แบบปัมป์ตามบ้าน อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถบดให้ละเอียดได้เท่ากับเครื่องแบบกรวย
*การสับ: 'เครื่องบด'สมัยใหม่มักใช้วิธีการหั่นเมล็ดกาแฟออกเป็นชิ้น &nbsp;ๆ ถึงแม้จะให้ผลเหมือนกับการบดดี &nbsp;ๆ โดยทั่วไป คนที่พิถีพิถันมักตำหนิว่าวิธีนี้ให้กาแฟคุณภาพสู้วิธีแบบเก่าไม่ได้
**เครื่องบดแบบใบมีด &#8220;ปั่น&#8221; เมล็ดให้ละเอียดโดยใช้ใบมีดหมุนด้วยความเร็วสูง (20,000 ถึง 30,000 รอบต่อนาที) กากกาแฟที่ได้จะไม่ละเอียดสม่ำเสมอ และจะได้รับความร้อนมากกว่าการใช้เครื่องโม่ เครื่องบดใบมีดจะก่อให้เกิด &#8220;ฝุ่นกาแฟ&#8221; ซึ่งอาจทำให้ตะแกรงร่อนของเครื่องชงเอสเพรสโซและเครื่องชงเฟรนช์เพรสเกิดการอุดตันได้ ดังนั้นเครื่องบดแบบนี้ จึงเหมาะสมกับเฉพาะเครื่องชงแบบหยด และมันยังสามารถใช้บดเครื่องเทศและสมุนไพรได้เป็นอย่างดี เครื่องชนิดนี้ไม่ควรใช้กับเครื่องชงเอสเพรสโซแบบปัมป์
*การบดเป็นผง: [[กาแฟตุรกี]]ใช้การละลายผงกาแฟซึ่งถูกบดจนแทบจะเป็นฝุ่นด้วยการตำครก วิธีการนี้ให้กากซึ่งละเอียดเกินไปสำหรับการทำกาแฟแบบอื่น &nbsp;
 
==การชง==
การชงกาแฟมีหลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทตามการให้น้ำกับกากกาแฟ ได้สี่ประเภทหลักๆหลัก&nbsp;ๆ ดังนี้
 
*การต้มเดือด:
**[[กาแฟตุรกี]] วิธีการดั้งเดิมในการชงกาแฟ ซึ่งยังคงใช้อยู่ในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ ตุรกี และกรีซ ได้แก่การต้มผงกาแฟละเอียดเข้ากับน้ำในหม้อคอคอด ซึ่งเรียกว่าไอบริก (ibrik) ใน[[ภาษาอารบิก]], เซสฟ์ (cezve) ใน[[ภาษาตุรกี]], และเซสวา (dzezva) ใน[[ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชียน]] และปล่อยให้เดือดเล็กน้อย บางครั้งก็จะเติมน้ำตาลเข้าไปในหม้อด้วยเพื่อเพิ่มรสหวาน และยังเพิ่มรสและกลิ่นด้วย[[กระวาน]] (cardamom) ผลที่ได้คือกาแฟเข้มข้นถ้วยเล็ก &nbsp;ๆ มีฟองอยู่ข้างบน และกากกาแฟกองหนาเหมือนโคลนอยู่ที่ก้น
 
*การใช้ความดัน:
**[[เอสเพรสโซ]] ถูกชงด้วยน้ำเดือดอ้ดความดัน และมักเป็นพื้นฐานนำไปผสมกาแฟหลายๆหลาย&nbsp;ๆ ชนิด หรือไม่ก็เสิร์ฟเปล่าๆเปล่า&nbsp;ๆ ก็ได้ (มักจะเป็นหลังจากมื้อค่ำ) กาแฟชนิดนี้เป็นหนึ่งในประเภทที่แรงที่สุดที่ดื่มกันโดยทั่วไป และมีรสชาติและความมัน(crema)ที่เป็นเอกลักษณ์
**[[เครื่องชงกาแฟแบบใช้น้ำร้อนซึม]] (หรือหม้อม็อคค่า) มีลักษณะแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนล่างใช้สำหรับต้มน้ำ เพื่อให้ไอลอยขึ้นไปยังกากกาแฟซึ่งอยู่ในส่วนตรงกลาง น้ำกาแฟที่ได้ ซึ่งมักมีความเข้มข้นระดับเดียวกับเอสเพรสโซ จะถูกเก็บอยู่ในส่วนบนสุด ส่วนที่มักวางติดกับเครื่องอุ่นหรือเตา เครื่องบางแบบยังอาจมีฝา 5 แก้วหรือพลาสติกใสเพื่อเอาไว้ดูกาแฟตอนที่มันลอยขึ้นข้างบน
 
บรรทัด 62:
กาแฟทุกแบบที่ได้กล่าวมานี้ต่างใช้กากกาแฟชงกับน้ำร้อน กาแฟอาจถูกปล่อยค้างอยู่หรือไม่ก็ถูกกรองออกไป แต่ละวิธีต่างต้องการความละเอียดของการบดแตกต่างกันไป
 
เครื่องทำกาแฟแบบไฟฟ้าสามารถต้มน้ำและชงผงที่ละลายได้ โดยไม่ต้องพึ่งคนมากนัก และบางประเภทก็มีตัวตั้งเวลาด้วย พวกที่ดื่มกาแฟอย่างจริงจังมักจะรังเกียจวิธีการที่สะดวกสบายแบบนี้ ซึ่งมักจะทำให้สูญเสียรสชาติและกลิ่นที่ดีไป คนกลุ่มนี้มักจะโปรดปรานกาแฟที่เพิ่งบดใหม่ &nbsp;ๆ และวิธีการชงแบบดั้งเดิมมากกว่า
 
==แหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียง==
บรรทัด 87:
**รสชาติของเอสเพรสโซจะติดปากหลังจากดื่มนานกว่า (15-30 นาที)
*[[กาแฟขาว]] ([[:en:White coffee|White coffee]]) เป็นกาแฟที่เติมนมเข้าไปหลังจากทำเสร็จ อาจเติมน้ำตาลด้วยก็ได้
*[[คาปูชิโน]] ([[:en:Cappuccino|Cappuccino]]) ประกอบด้วยเอสเพรสโซ, นมร้อน, และฟองนม ในสัดส่วนเท่าๆเท่า&nbsp;ๆ กัน ให้รวมมีปริมาตร 4.5 ออนซ์ (เสิร์ฟในถ้วยขนาด 5 ออนซ์) ปกติจะตกแต่งด้วยผงอบเชย หรือเครื่องเทศ หรือโกโก้
*[[ลาเต้]] (เรียก [[:en:latte|latte]] ในอเมริกา ซึ่งมาจากภาษาอิตาเลียนแปลว่านม ส่วนในที่อื่นๆอื่น&nbsp;ๆ เรียก Caffè e latte หรือ caffelatte) เป็นเอสเพรสโซผสมนมร้อน ปกติมักโปะข้างบนด้วยฟองนม ความเข้มข้นไม่มากเท่าคาปูชิโนเนื่องจากใส่นมเยอะกว่า
*[[:en:Café au lait|Café au lait]] คล้ายลาเต้ยกเว้นใช้การชงด้วยการหยดแทนเอสเพรสโซ พร้อมด้วยนมในปริมาณที่เท่าๆเท่า&nbsp;ๆ กัน อาจเติมน้ำตาลตามชอบ
*[[อเมริกาโน]] ([[:en:Americano|Americano]]) ทำจากเอสเพรสโซ (หลาย &nbsp;ๆ ช็อต) กับน้ำร้อน เพื่อให้มีความเข้มข้นเท่ากับกาแฟที่ได้จากการชงแบบหยด แต่มีรสชาติต่างกัน
*[[กาแฟเย็น]] มักเสิร์ฟพร้อมนมกับน้ำตาล
*''กาแฟแต่งกลิ่นและรส'' (Flavoured coffee) บางสังคมมักนิยมแต่งกลิ่นและรสกาแฟ [[ช็อกโกแลต]]เป็นสิ่งหนึ่งที่นิยมเติมกัน อาจโดยการโรยข้างบน หรือผสมเข้ากับกาแฟ เพื่อเลียนแบบัรสชาติของ[[ม็อคคา]] รสอื่นๆอื่น&nbsp;ๆ ที่นิยมเติมได้แก่เครื่องเทศต่าง &nbsp;ๆ เช่น [[อบเชย]], [[ลูกจันทน์เทศ]] (nutmeg), [[กระวาน]], และน้ำเชื่อมอิตาเลียน (Italian syrups)
*[[กาแฟไอริช]] คือกาแฟที่ชงแล้วผสมด้วย[[วิสกี้]] และมีชั้นของครีมอยู่ข้างบน
[[Image:South_indian_filter_coffee.jpg|thumb|right|250px|[[กาแฟกรองมัทราส]]ตีฟอง (Frothy [[:en:Madras filter coffee|Madras filter coffee]])]]
*[[กาแฟกรองอินเดีย|กาแฟกรองอินเดีย(มัทราส)]] ([[:en:Indian filter coffee | Indian (Madras) filter coffee]]) นิยมทั่วไปทางภาคใต้ของอินเดีย ทำจากกากกาแฟหยาบ &nbsp;ๆ ที่ได้จากเมล็ดที่ถูกอบจนไหม้ (อาราบิกา, พีเบอร์รี (PeaBerry)) ชงด้วยวิธีหยดประมาณสองถึงสามชั่วโมง ในตัวกรองโลหะแบบของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนที่จะนำไปเสิร์ฟกับนมและน้ำตาล โดยปกติมักมีสัดส่วนกาแฟหนึ่งนมสาม
*กาแฟสไตล์เวียดนาม เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการชงแบบหยด ชงโดยการหยดน้ำผ่านตะแกรงโลหะลงไปในถ้วย ซึ่งมีผลให้ได้น้ำกาแฟเข้มข้น จากนั้นนำไปเทผ่านน้ำแข็งลงไปในแก้วที่เติมนมข้นหวานไว้ก่อนแล้ว เนื่องจากการชงกาแฟประเภทนี้ใช้กากกาแฟปริมาณมาก จึงทำให้การชงกินระยะเวลานาน
*[[กาแฟกรีก]] หรือ [[กาแฟตุรกี]] ชงด้วยการต้มกากกาแฟละเอียดกับน้ำพร้อมกันใน'''ไอบริก''' ซึ่งเป็นหม้อทำจากทองเหลืองหรือทองแดงมีด้ามยาวและเปิดด้านบน เมื่อชงเสร็จ ก็จะนำไปรินลงในด้วยเล็ก &nbsp;ๆ โดยไม่กรองกากกาแฟออก ตั้งกาแฟทิ้งไว้สักพักก่อนดื่ม มักเติมเครื่องเทศและน้ำตาลด้วย
*''โกปิทูบรูค'' (Kopi tubruk) เป็นกาแฟสไตล์อินโดนีเซียลักษณะเหมือนกับ[[กาแฟกรีก]] แต่ชงจากเมล็ดกาแฟหยาบ และต้มพร้อมกับน้ำตาลปอนด์ปึกใหญ่ &nbsp;ๆ นิยมดื่มใน[[เกาะชวา|ชวา]], [[เกาะบาหลี|บาหลี]], และบริเวณใกล้เคียง
*''หม้อกาแฟ'' มีหลายรูปลักษณ์และขนาด หม้อแบบดั้งเดิมที่ใช้ต้มกาแฟมีคาเฟอีนจะมีสีน้ำตาลหรือดำ ส่วนหม้อสีส้มใช้สำหรับต้มกาแฟไร้คาเฟอีน
 
==กาแฟผงพร้อมชง==
[[กาแฟผงพร้อมชง]] (Instant coffee) เป็นกาแฟที่ถูกตากจนแห้งกลายเป็นผงหรือเม็ดเล็ก &nbsp;ๆ ซึ่งละลายน้ำได้ มันมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกาแฟสดและวิธีการชงก็แตกต่างกันด้วย ความเห็นต่อกาแฟประเภทนี้มีตั้งแต่ "ของเลียนแบบที่สุดจะทนดื่มได้" ไปจนถึง "ทางเลือกที่ดี" และ "ดีกว่าของแท้" ในประเทศที่มันได้รับความนิยม มักจะเรียกมันว่า "กาแฟปูโร (Café Puro)" ในฐานะที่มันเป็นที่ขยาดของพวกเซียนกาแฟ
 
== กาแฟกับสังคม ==
''ดูเพิ่มเติม: [[บ้านกาแฟ]] ([[:en:Coffeehouse|Coffeehouse]]) สำหรับประวัติของกาแฟ และ [[คาเฟ่]] ([[:en:caffé|caffé]]) สำหรับประเพณีเฉพาะของอิตาลี''
 
[[สหรัฐอเมริกา]]เป็นตลาดกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามมาด้วย[[ประเทศเยอรมนี]]. ส่วน[[ประเทศฟินแลนด์|ฟินแลนด์]]เป็นประเทศที่ปริมาณการบริโภคกาแฟต่อจำนวนประชากรสูงที่สุด. กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมอย่างมากทั้งใน[[ทวีปอเมริกา]], [[ตะวันออกกลาง]] และ[[ยุโรป]] กระทั่งว่ามีร้านที่เชี่ยวชาญด้านกาแฟโดยเฉพาะ ร้านเหล่านี้เรียกกันว่า "[[บ้านกาแฟ]] (coffeehouse)" หรือ "คาเฟ่ (caf&eacute;)" คาเฟ่ส่วนใหญ่ยังมีชา, แซนด์วิช, ขนมเพสทรี (pastry) และอาหารว่างเบา &nbsp;ๆ อื่น &nbsp;ๆ ไว้บริการด้วย. คาเฟ่บางแห่งเป็นเพียงบ้านหรือกระท่อมเล็ก &nbsp;ๆ ที่เสิร์ฟกาแฟแบบถ้วยที่ถือไปได้สำหรับผู้ที่เร่งรีบ บางคนมักใช้[[ขวดสูญญากาศ]]สำหรับใส่กาแฟติดตัวไปเวลาเดินทาง ซึ่งช่วยให้กาแฟยังร้อนอยู่ได้หลายชั่วโมง
 
ในบางประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรปเหนือ ปาร์ตี้กาแฟเป็นงานสังสรรค์ที่ได้รับความนิยมรูปแบบหนึ่ง นอกจากกาแฟแล้ว เจ้าภาพก็จะต้องเตรียมเค้กและขนมเพสทรีไว้ด้วย ซึ่งแขกมักจะคาดหวังให้เจ้าภาพเป็นผู้ลงมือทำ
บรรทัด 113:
ด้วยคุณสมบัติเป็นสารกระตุ้นในขณะที่ไม่ได้มีผลต่อสภาวะทางจิตมากนัก กาแฟจึงเข้ามามีบทบาทต่องานในสำนักงาน (white collar job) อย่างมากทีเดียว จนกลายเป็นเครื่องดื่มจำเป็นในชีวิตประจำวัน ทั้งการดื่มกาแฟตอนเช้า และ[[คอฟฟี่เบรค]]
 
ปัจจุบัน ร้านกาแฟ ในประเทศไทย ค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ มีร้านกาแฟ เล็กใหญ่ ได้เปิดขึ้น ทั่วไปในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ในห้างสรรพสินค้า ตึกสำนักงาน โรงพยาบาล ปั้มน้ำมัน และ อื่นๆอื่น&nbsp;ๆ ซึ่งมีทั้งร้านกาแฟ ของไทยเองและ ต่างชาติ โดยแต่ละร้าน ต่างมีกลยุทธ์ในการขายที่แตกต่างกัน เช่นในบางร้านจะขาย ควบคู่ไปกับเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดอื่นเช่น ชา โกโก้ ขณะที่บางร้านก็เปิดในรูปแบบของ bakery-coffee shop คือ เป็นร้านขายขนมปังชนิดต่าง &nbsp;ๆ เพื่อไว้กินควบคู่กับกาแฟ ไปในตัวด้วย หรือในบางร้านก็จะขายเป็นอาหารจานเดียวไปด้วยเลย ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ดำเนินกิจการ
 
อ่านเพิ่มเติมหัวข้อ [[ดังค์ (บิสกิต)]] ([[:en:dunk (biscuit)|dunk (biscuit)]]) สำหรับพฤติกรรมการชอบจุ่มบิสกิตหรือเค้กลงในกาแฟเวลารับประทาน
บรรทัด 122:
งานวิจัยปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงฤทธิ์กระตุ้นของกาแฟที่นอกเหนือไปจากฤทธิ์ของ[[คาเฟอีน]] ในกาแฟยังมีสารเคมีที่เราไม่รู้จักช่วยเร่งให้ร่างกายสร้าง [[:en:cortisone|cortisone]] และ[[อะดีนาลีน]] ([[:en:adrenaline|adrenaline]]) ซึ่งเป็น[[ฮอร์โมน]]ที่มีฤทธิ์กระตุ้น
 
สำหรับผู้ที่ต้องการดื่มด่ำรสชาติของกาแฟโดยไม่ต้องการการกระตุ้น สามารถดื่ม[[กาแฟพร่องคาเฟอีน]] (decaffeinated coffee) หรือเรียกสั้นๆสั้น&nbsp;ๆ ว่า ''ดีแคฟ (decaf)'' กาแฟชนิดนี้ถูกเอาคาเฟอีนส่วนใหญ่ออกไปโดยการใช้น้ำหรือสารละลายทางเคมี เช่น [[ไตรคลอโรทีลีน]] ([[:en:trichloroethylene|trichloroethylene]]) นอกจากนี้ยังมี [[ทิซาน]] ([[:en:tisane|tisane]]) ซึ่งมีรสชาติเหมือนกาแฟจริงๆจริง&nbsp;ๆ แต่ไม่มีคาเฟอีน(ดูด้านล่าง)
 
ดูหัวข้อ[[คาเฟอีน]]เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของคาเฟอีน
บรรทัด 129:
กากกาแฟที่ใช้แล้วสามารถนำเอามาทำเป็นปุ๋ยได้อย่างดี เนื่องจากมันมีธาตุ[[ไนโตรเจน]]สูง ไนโตเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของ[[ดีเอ็นเอ]], [[อาร์เอ็นเอ]] และโปรตีน ซึ่งพืชจะต้องใช้ในการเจริญเติบโต กากกาแฟยังมี[[โพแทสเซียม]], [[ฟอสฟอรัส]] และสารอย่างอื่นอีกเล็กน้อยที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการของพืช มีรายงานจากชาวสวนจำนวนมากว่าดอกกุหลาบเจริญเติบโตได้ดี มีดอกใหญ่ และให้สีสันสวยงาม เมื่อใช้กากกาแฟเป็นปุ๋ย
 
กากกาแฟสามารถหาได้ง่ายในราคาไม่แพงจากร้านกาแฟทั่วไป ร้านกาแฟที่เป็นเครือใหญ่ &nbsp;ๆ มักมีมาตรการในการหมักกากกาแฟเพื่อนำไปเป็นปุ๋ย หรือไม่ก็อาจยอมมอบให้กับผู้ที่มาขอ
 
== ผลต่อสุขภาพ ==
บรรทัด 135:
กาแฟช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตัวระงับความเจ็บปวด โดยเฉพาะในการรักษา[[ไมเกรน]] และยังสามารถกำจัดโรคหืดในผู้ป่วยบางคนได้ด้วย คุณประโยชน์บางอย่างอาจส่งผลต่อเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น มันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดการฆ่าตัวตายในผู้หญิง และช่วยป้องกัน[[นิ่ว]]และโรค[[ถุงน้ำดี]]ในผู้ชาย นอกจากนี้มันยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานในทั้งสองเพศ และลดเพียงประมาณ 30% ในผู้หญิง แต่ลดมากกว่า 50% ในผู้ชาย กาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงของ[[โรคตับแข็ง]]และป้องกันมะเร็งในปลายลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ กาแฟสามารถความเสี่ยงในการเกิด[[มะเร็งในเซลล์ตับ]] ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของมะเร็งตับ (Inoue, 2005) และสุดท้ายกาแฟช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ ถึงแม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เป็นเพราะมันกำจัดไขมันในเส้นเลือด หรือเพราะว่ามันเป็นมีผลกระตุ้นกันแน่
 
ยังมีข้อดีอื่นๆอื่น&nbsp;ๆ ที่เป็นเหตุผลให้คนส่วนใหญ่นิยมดื่มกาแฟ เช่น มันช่วยเพิ่ม[[ความจำระยะสั้น]] ([[:en: Short-term memory |short term recall]]) และเพิ่ม[[ไอคิว]] นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนระบบ[[เมตาบอลิซึม]]ให้มีสัดส่วนของ[[ลิพิด]]ต่อ[[คาร์โบไฮเดรต]]ที่ถูกเผาผลาญสูงขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการล้ากล้ามเนื้อของนักกีฬา
 
คุณประโยชน์เหล่านี้บางอย่างจะได้ผลเมื่อดื่มเพียงประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน (24 ออนซ์) แต่บางอย่างก็ต้องดื่มถึง 6 ถ้วยหรือมากกว่านั้น (32 ออนซ์หรือมากกว่า)
บรรทัด 144:
ผู้ที่ดื่มกาแฟหลายคนคงคุ้นเคยดีกับอาการ"ใจสั่น"อันเกิดมาจากกาแฟ ซึ่งเป็นอาการกระวนกระวายที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับคาเฟอีนมากเกินไป กาแฟยังเพิ่มความดันโลหิตให้กับผู้ที่เป็นโรค[[ความดันโลหิตสูง]] แต่ผลการศึกษาเพิ่มเติมก็ยังแสดงให้เห็นว่ามันช่วยลดอัตราเสี่ยงโดยรวมในการเกิดโรคหัวใจด้วย กาแฟยังทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับในบางคน แต่ในทางกลับกันก็ช่วยให้บางคนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้มันยังอาจทำให้เกิดความกังวลและอาการหงุดหงิดง่ายให้กับบางคนที่ดื่มมากเกินไป และบางคนก็เกิดอาการทางประสาท ผลกระทบบางอย่างของกาแฟก็เกิดขึ้นกับเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น มันทำให้อาการป่วยเลวร้ายลงในกรณีของผู้ป่วยประเภท [[:en:PMS|PMS]] และยังลดความสามารถในการมีบุตรของสตรี และยังอาจเพิ่มอัตรเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนของผู้หญิงหลังวัยหมดระดู และยังอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์หากแม่ดื่มตั้งแต่ 8 ถ้วยต่อวันขึ้นไป (48 ออนซ์ขึ้นไป)
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2546]] ใน[[ประเทศเดนมาร์ก]]ได้มีการศึกษาสตรีจำนวน 18,478 คนซึ่งดื่มกาแฟเป็นปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์ พบว่ามันส่งผลให้อันตราเสี่ยงของ[[การตายคลอด]]เพิ่มขึ้นอย่างมาก (แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการตายในปีแรกของทารก) ในรายงานระบุว่า "ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงผลกระทบจากการดื่มตั้งแต่ 4 ถึง 7 ถ้วยต่อวัน" คนที่ดื่ม 8 ถ้วยต่อวันขึ้นไป (48 ออนซ์ขึ้นไป) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 220% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไตม่ได้ดื่ม การศึกษานี้ยังไม่ได้มีการทำซ้ำให้แน่ใจ แต่ก็ทำให้แพทย์หลายๆหลาย&nbsp;ๆ คนเพิ่มความระมัดระวังต่อการดื่มกาแฟมากเกินไปของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์
 
ผลการศึกษาตีพิมพ์ปี [[พ.ศ. 2547]] ใน American Journal of Clinical Nutrition (มีบทคัดย่อออนไลน์ที่ [http://www.ajcn.org/cgi/content/abstract/80/4/862]) พยายามค้นหาว่าทำไมประโยชน์และโทษของกาแฟจึงได้ดูขัดกันเอง และได้ค้นพบว่าการดื่มกาแฟมีความเกี่ยวข้องกับการปรากฏชัดทางชีวเคมีของอาการอักเสบ (coffee is associated with significant elevations in biochemical markers of [[:en:inflammation | inflammation]]) นี่เป็นผลกระทบที่รุนแรงของกาแฟต่อระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด ซึ่งเป็นตัวอธิบายว่าทำไมกาแฟจึงได้มีผลดีต่อหัวใจเมื่อดื่มไม่เกินวันละ 4 ถ้วยเท่านั้น (ไม่เกิน 20 ออนซ์)
บรรทัด 154:
==อ้างอิง==
*[http://www.justaboutcoffee.com/ Just About Coffee - เวบไซต์ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกาแฟ]
*[http://coffeefaq.com/coffaq9.htm CoffeeFaq.com: ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการชงกาแฟหลายๆหลาย&nbsp;ๆ รูปแบบ]
*[http://thecoffeefaq.com The Coffee FAQ: แนะนำเกี่ยวกับกาแฟ การชง การคั่ว และเครื่องประกอบกระจุกกระจิก]
*[http://coffeetea.about.com/library/weekly/aa021603bladeburr.htm about.com: เครื่องบดแบบสับและแบบครีบ (Blade vs Burr grinders)]
*[http://www.toomuchcoffee.com/ TooMuchCoffee: แหล่งข้อมูลกาแฟยุโรปและเอสเพรสโซ] มีบทความและหัวข้ออภิปรายที่ไม่หวังผลทางการค้าเกี่ยวกับกาแฟ การชง แต่การคั่วเองในครัวเรือน
*[http://www.coffeekid.com Coffeekid.com]: ข้อมูลเกี่ยวกับการทำกาแฟ และบทความเกี่ยวกับกาแฟหลายรูปแบบ
*[http://www.opencoffee.com The Open Coffee Library]: สารานุกรมเกี่ยวกับกาแฟพร้อมด้วยลิงก์และรวบรวมคำพูดที่ยกมาจากเวบไซต์อื่นๆเวบไซต์อื่น&nbsp;ๆ เกี่ยวกับกาแฟ
* [http://bmj.com/cgi/content/full/326/7386/420?ijkey=uUbP.lv5Owx42#T1 Wisborg, Kirsten et al. Maternal consumption of coffee during pregnancy and stillbirth and infant death in first year of life: prospective study. ''British Medical Journal'' 2003 (326): 420 (22 February). Online copy].
*Inoue, Manami et al. (2005). [http://jncicancerspectrum.oupjournals.org/cgi/content/abstract/jnci;97/4/293?fulltext=coffee&searchid=QID_NOT_SET Influence of Coffee Drinking on Subsequent Risk of Hepatocellular Carcinoma: A Prospective Study in Japan]. ''Journal of the National Cancer Institute'', Vol. 97, No. 4, 293-300.
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กาแฟ"