ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคคามากูระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 5:
 
== ประวัติศาสตร์ ==
[[Imageไฟล์:AntokuTennou Engi.7&8 Dannoura Kassen.jpg|thumb|200px|left|ยุทธนาวีทังโนะอุระ]]
สมัยคะมะคุระเป็นสมัยแรกที่นักรบหรือซะมุไร (侍, samurai) ขึ้นมากลายเป็นชนชั้นปกครองแทนที่พระจักรพรรดิและนักปราชญ์ที่เป็นพลเรือนดังที่เคยเป็นมาใน[[ยุคเฮอัน]] เป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นสมัยศักดินา ในช่วงปลายสมัยเฮอันราชสำนักที่[[เกียวโต]]เกิดความขัดแย้งระหว่างตระกูลไทระ (平, Taira) และ[[ตระกูลมินะโมะโตะ]] (源, Minamoto) จนนำไปสงครามเง็นเป (源平合戦, Genpei kassen) ฝ่ายตระกูลมินะโมะโตะนำโดย[[มินะโมะโตะ โยะริโตะโมะ]] (源 頼朝, Minamoto no Yoritomo) ได้รับชัยชนะในยุทธนาวีทังโนะอุระ (Dan-no-ura, 壇ノ浦) เมื่อค.ศ. 1185 ทำให้มินะโมะโตะ โยะริโตะโมะมีอำนาจเสมอเหมือนเป็นเจ้าผู้ปกครองญี่ปุ่นแทนที่พระจักรพรรดิ สงครามทำให้ชนชั้นนักรบได้เข้าครอบครองที่ดินต่างๆซึ่งแต่ก่อนเป็นของราชสำนักเกียวโต โดยนักรบที่เป็นนายจะแบ่งที่ดินให้แก่ข้ารับใช้ของตนตามระบอบศักดินา ในค.ศ. 1192 โยะริโตะโมะได้รับแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิโก-โทบะ (後鳥羽, Go-Toba) เป็น''เซอิไทโชกุน'' (征夷大将, Seii Taishōgun) และโยะริโตะโมะจัดตั้งฐานอำนาจของตนที่เมือง[[คะมะกุระ]] (鎌倉, Kamakura) ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็กไม่มีความหรูหราเช่นเกียวโตทำให้ศูนย์การปกครองที่คะมะคุระถูกเรียกว่า รัฐบาลเต็นต์ หรือ ''บะกุฟุ'' (幕府, bakufu) โดยมินะโมะโตะมีอำนาจโดยตรงในแถบคันโต ในขณะที่ทางตะวันออกอันห่างไกลหรือแคว้นโทโฮคุนั้นเป็นของ[[ตระกูลฟุจิวาระ]] และดินแดนทางตะวันตกส่วนใหญ่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักเกียวโต