ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระแก้วบุษราคัม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการหมวดหมู่ +เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{ต้องการหมวดหมู่}}
{{ชื่ออื่น|{{PAGENAME}}|พระแก้วองค์อื่นๆ|พระแก้ว}}
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนวัตถุ
เส้น 10 ⟶ 11:
| width = 3 นิ้ว
| tall = 4 นิ้ว
| material = แก้วสีน้ำผึ้ง (สีเหลือง)
| place_of_enshrined = [[วัดศรีอุบลรัตนาราม]] (วัดศรีทอง) จังหวัด[[อุบลราชธานี]]
| important = พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด[[อุบลราชธานี]]
| footnote =
}}
'''พระแก้วบุษราคัม''' เป็น[[พระพุทธรูป]]โบราณอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ปางมารวิชัย สร้างด้วยแก้วสีน้ำผึ้ง (สีเหลือง) หน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว สูง ๔ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด[[อุบลราชธานี]]
 
== ประวัติ ==
ตามตำนานกล่าวว่า'''พระแก้วบุษราคัม'''เป็นสมบัติของเจ้าปางคำ เจ้าเมืองนครเขื่อนขัณท์กาบแก้วบัวบาน ([[หนองบัวลำภู]]) และได้ตกทอดมาถึงพระเจ้าตาผู้เป็นลูกพระเจ้าปางคำ ต่อมาในปีพ.ศ. 2314 นครเขื่อนขัณท์กาบแก้วบัวบาน ถูกพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ยกทัพต่อตี พระเจ้าตาถึงแก่อสัญกรรมในสนามรบ บุตรชายคือ พระเจ้าวอ (พระวรราชภักดี) ท้าวคำผง ([[พระปทุมวรราชสุริยวงศ์]]) ท้าวฝ่ายหน้า ท้าวทิดพรหม ท้าวคำโส ท้าวคำสู ท้าวคำขุย จึงหนีศึกมาสร้างบ้านแปงเมืองที่บ้านดอนมดแดง จังหวัด[[อุบลราชธานี]] และได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาด้วย
 
เมื่อเจ้าพระวอผู้พี่ชายถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว ท้าวคำผง ([[พระปทุมวรราชสุริยวงศ์]]) สร้างวัดหลวงขึ้นเป็นวัดแรกนั้นก็ได้สร้างหอพระแก้วไว้ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม
เส้น 24 ⟶ 25:
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ได้สั่งข้าหลวงมากำกับดูแลตามหัวเมือง ทำให้ราชบุตรหนูคำ เจ้าเมืองสมัยนั้นเกรงว่าข้าหลวงจะแสวงหาสมบัติเมืองไปเป็นของตน จึงนำพระแก้วออกจากวัดหลวงไปซ่อนไว้ที่บ้านวังกางฮุง
กระทั่งอุปราชโท (ต้นตระกูล [[ณ อุบล]]) สร้างวัดศรีทอง (ปัจจุบันคือ[[วัดศรีอุบลรัตนาราม]]) ขึ้น จึงอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาประดิษฐานไว้ที่[[วัดศรีอุบลรัตนาราม]]จวบจนทุกวันนี้ ในยามปกติพระแก้วบุษราคัมจะประดิษฐานไว้ในตู้แก้วในพระอุโบสถเท่านั้น แต่ในเทศกาลสงกรานต์ ทางวัดจะอัญเชิญลงมาให้ประชาชนได้สรงน้ำกัน
 
== อ้างอิง ==
* [http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000051112 สรงน้ำพระเสริมมงคล วันสงกรานต์]
* [http://www.ubonpra.com/board/index.php?topic=246.0 ตำนานพระแก้วบุษราคัม เมืองอุบลราชธานี]