ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: id:Guillaume sang Penakluk
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| ภาพ = ภาพ:William1.jpg
| พระบรมนามาภิไธย =
| พระปรมาภิไธย = สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
| วันพระราชสมภพ = [[ค.ศ. 1027]]
| วันสวรรคต = [[ค.ศ. 1087]]
บรรทัด 17:
| พระราชสวามี =
| พระราชโอรส/ธิดา = [[โรเบิร์ตที่ 2 ดยุคแห่งนอร์มังดี]]<br />
[[ริชาร์ด ดยุคดยุกแห่งเบอร์เนย์]]<br />
[[สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ]]<br />
[[อเดลา เคานท์เทสแห่งบลัวส์เคาน์เตสแห่งบลัวส์]]<br />
[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ]]
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์นอร์มัน|นอร์มัน]]
บรรทัด 25:
| พิธีบรมราชาภิเษก = 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066
| ระยะเวลาครองราชย์ = 21 ปี
| รัชกาลก่อนหน้า = [[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง]]
| รัชกาลถัดมา = [[สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ]]
| วัดประจำรัชกาล =
}}
|}
'''สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 242</ref> ({{lang-en|William I of England}}) หรือ'''พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 242</ref> (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์มังดี (William II of Normandy หรือ William the Bastard}}) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี [[ค.ศ. 1027]] ([[พ.ศ. 1570]]) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน [[ค.ศ. 1087]] ([[พ.ศ. 1630]]) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุคแห่งนอร์มังดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุคแห่งนอร์มังดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม [[ค.ศ. 1066]] ([[พ.ศ. 1609]])
 
หลังจากที่[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพธรรมสักขี]]สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1066 โดยมิได้ระบุรัชทายาท วิลเลียม ดยุคแห่งนอร์มังดีก็อ้างสิทธิในการเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษและยกทัพจากนอร์มังดีมาโจมตีอังกฤษในปีเดียวกัน ทรงได้รับชัยชนะต่อกองทัพ[[แองโกล-แซ็กซอน]]ที่นำโดย[[สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน|พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน]] ผู้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพ สงครามครั้งนี้รู้จักกันในนามว่า “[[ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ]]” (Norman Conquest) <ref name="BBC Norman">{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/history/british/normans/1066_01.shtml|title=1066|date=[[2001]]-[[May 1|05-01]]|accessdate=2007-07-16|format=HTML|work=BBC|author=Dr. Mike Ibeji}}</ref>
 
รัชสมัยของพระองค์เป็นการนำ[[วัฒนธรรม]]ของนอร์มังดีเข้ามาเผยแพร่ในอังกฤษซึ่งทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อ[[วัฒนธรรม]]อังกฤษใน[[ยุคกลาง|สมัยกลาง]]เป็นอันมาก นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้วก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย การสร้างเสริมป้อมปราการเพื่อป้องกันการรุกรานทั่วอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงทางภาษา และท้ายที่สุดการนำระบบศักดินาเข้ามาใช้ในอังกฤษ
บรรทัด 42:
 
== ดยุคแห่งนอร์มังดี ==
ตามความประสงค์ของพระราชบิดาวิลเลียมก็ได้รับตำแหน่งดยุคดยุกแห่งนอร์มังดีสืบต่อมาเมื่ออายุได้ 8 ปีในปี ค.ศ. 1035 และรู้จักกันในนามว่า “ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดี” (ภาษาฝรั่งเศส: Guillaume, duc de Normandie; ภาษาละติน: Guglielmus Dux Normanniae) แผนการโค่นอำนาจโดยขุนนางนอร์มันทำให้วิลเลียมเสียผู้พิทักษ์ไปสามคนแต่ไม่รวมถึงแอแลนแห่งบริตานีผู้ซึ่งต่อมาเป็นผู้พิทักษ์ของวิลเลียม แต่[[พระเจ้าอองรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]]ทรงสนับสนุนวิลเลียมและทรงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางเมื่อวิลเลียมอายุได้ 15 ปี เมื่ออายุได้ 19 ปีวิลเลียมก็มีความสามารถพอที่จะสู้รบกับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้าอองรี วิลเลียมก็สามารถยึดดินแดนนอร์มังดีโดยได้รับชัยชนะต่อขุนนางนอร์มันที่แคนในศึกวาลเลส์ดูนส์ (Battle of Val-ès-Dunes) ในปี ค.ศ. 1047 โดยได้รับ “สัญญาสงบศึกนอร์มังดี” (Truce of God (Normandy)) ที่ไดัรับการสนับสนุนโดยสถาบันคาทอลิก
 
ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดีแต่งงานกับ [[สมเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งฟลานเดอร์]] ในปี ค.ศ. 1053 ที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอูเมื่อพระชนมายุได้ 24 พรรษาและมาทิลดา 22 พรรษา ซึ่งเป็นการแต่งงานที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจาก[[สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9|พระสันตะปาปาลีโอที่ 9]] กล่าวกันว่าดยุควิลเลียมเป็นสามีที่รักและซึ่อตรงต่อมาทิลดา ดยุควิลเลียมและมาทิลดามีบุตรธิดาด้วยกันสิบคน ชายสี่ หญิงหก เพื่อเป็นการไถ่บาปจากการแต่งงานกับญาติ (consanguine marriage) เพราะดยุควิลเลียมเป็นญาติห่างๆ กับมาทิลดา ดยุควิลเลียมก็ทรงสร้างวัดเซนต์สตีเฟน (Abbaye-aux-Hommes) และมาทิลดาเซนต์ทรินิตี (Abbaye aux Dames)
บรรทัด 49:
 
=== ปัญหาการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ ===
เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพธรรมสักขี]]เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ผู้ที่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์มีด้วยกันอย่างน้อยสามฝ่าย -- ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดี, ฮาโรลด์ กอดวินสัน เอิร์ลผู้มีอำนาจแห่งเวสเซ็กซ์ และ[[พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์]] ดยุควิลเลียมอ้างว่ามีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทางพระปิตุฉา[[เอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ|เอ็มมาแห่งนอร์มังดี]]ผู้เป็นพระมเหสีของ[[สมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2]]และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด นอกจากนั้นดยุคดยุกวิลเลียมยังอ้างว่าขณะที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงลึ้ภัยอยู่ในนอร์มังดีระหว่างการยึดครองของเดนมาร์กในอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงให้สัญญายกราชบัลลังก์ให้เมื่อดยุควิลเลียมเดินทางมาเยึ่ยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ลอนดอนในปี [[ค.ศ. 1052]] และยังอ้างว่าหลังจากที่ได้ช่วยฮาโรลด์ กอดวินสันจากเรือแตกและเคานทแห่งปอยตู ทั้งสองคนก็ได้ร่วมกันต่อสู้[[โคนันที่ 2 ดยุคแห่งบริตานี]] จนได้รับชัยชนะ ดยุควิลเลียมจึงแต่งตั้งให้ฮาโรลด์เป็นอัศวิน ฮาโรลด์จึงได้ให้คำปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อดยุควิลเลียมต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในปี [[ค.ศ. 1064]]<ref name="Clark">{{cite book |last= Clark|first= George|authorlink= George Clark (historian)|title= English History: A Survey|origyear= 1971|year= 1978|publisher= Oxford University Press/Book Club Associates|isbn= 0198223390|chapter= The Norman Conquest}}</ref>
 
ในปี [[ค.ศ. 1066]] ตามที่เข้าใจกันว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและจากมติของ[[สภาวิททัน]] ฮาโรลด์ กอดวินสันก็ได้รับการสวมมงกุฏเป็น[[สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน]] โดยอัครบาทหลวงอัลเดรด หลังจากนั้นพระเจ้าฮาโรลด์ก็ทรงเตรียมกองทัพเตรียมรับผู้ที่จะมารุกรานจากหลายฝ่าย หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อพระอนุชาทอสทิก [[พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์]] หรือ หรือ ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดา ทางด้านเหนือของอังกฤษ พระเจ้าฮาโรลด์ก็ต้องเดินทัพกลับลงมาทางใต้อย่างเร่งด่วนเป็นระยะทางราว 241 ไมล์เพื่อมาเตรียมรับทัพของดยุควิลเลียม สองกองทัพประจันหน้าต่อสู้กันที่[[ยุทธการเฮสติงส์]] (Battle of Hastings) ซึ่งเชื่อกันว่าพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันทรงถูกยิงทะลุพระเนตรจนสวรรคต