ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภีษมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rubinbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.4) (โรบอต แก้ไข: ta:வீடுமர்
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Bheeshma oath by RRV.jpg|thumb|300px|"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ [[ราชา รวิ วรรมา]]]]
'''ภีษมะ''' หรือ '''เจ้าชายเทวพรต''' เป็นพระโอรสของพระราชา[[ศานตนุ]]แห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับ[[พระแม่คงคา]] เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าว[[ศานตนุ]]ก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ
 
ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง ๑๖16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของ[[ฤๅษีวสิษฐ์]]ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้[[พระแม่คงคา]]จึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดย[[ฤๅษีวสิษฐ์]]ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร ,วิชารัฐศาสตร์โดย[[พระพฤหัสบดี]] และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือ[[ฤๅษีปรศุราม]](ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้)
 
[[ไฟล์:The Death of Bhishma.jpg|thumb|300px|"มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัย[[คริสต์ศตวรรษที่ 17]] สมบัติของ[[พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน]] [[สหรัฐอเมริกา]])]]
 
ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ [[เจ้าหญิงอัมพา]] [[เจ้าหญิงอัมพิกา]] และ[[เจ้าหญิงอัมพาลิกา]] มาเป็นมเหสีของ[[วิจิตรวีรยะ]]ผู้เป็นน้องต่างมารดา(ตอนนั้น[[จิตรางคทะ]]เสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย [[เจ้าหญิงอัมพา]]เกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับ[[ท้าวศัลวะ]] ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนาง[[สัตยวดี]]และ[[วิจิตรวีรยะ]]ตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัว[[เจ้าหญิงอัมพา]]ให้[[ท้าวศัลวะ]] แต่[[ท้าวศัลวะ]]ไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป [[เจ้าหญิงอัมพา]]เสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ [[นางอัมพา]]โกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้[[ฤๅษีปรศุราม]]ผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูก[[พระนารายณ์]]และ[[พระศิวะ]]ห้ามไว้ก่อน [[เจ้าหญิงอัมพา]]จึงไม่สมหวังและขอพรกับ[[เทพบุตรสันมุข]] พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าว[[ทรุปัท]] พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของ[[ท้าวทรุปัท]]ชื่อ [[ศิขัณทิน]] (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง)
 
ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับ[[ทุรโยธน์]] ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด
 
แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของ[[อรชุน]]ซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่[[ศิขัณทิน]] ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดย[[อรชุน]]ระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม
 
== อุปนิสัยของท้าวภีษมะ ==
 
ภีษมะเป็นบุคคลที่ชาวฮินดูไห้ความเคารพนับถือมาก ด้วยความที่เป็นผู้เสียสละความสุขส่วนตัวทั้งชีวิตเพื่อบิดา ลูกหลาน และประชาชน เป็นที่น่าสะเทือนใจว่าบุคคลอย่างภีษมะต้องเผชิญกับชีวิตที่เต็มไปด้วยความเหงา ความหงุดหงิดใจ และ ความเศร้าจากการสูญเสีย แม้แต่ความตายของภีษมะยังต้องตายอย่างเจ็บปวดทรมาน ภีษมะไม่เคยสนใจว่าจะต้องสู้ร่วมกับฝ่ายไหน เพราะว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นลูกหลานที่ภีษมะรักเท่าเทียมกัน เพราะฉนั้น การสงครามครั้งนี้จึงเป็นเพียงหน้าที่ของภีษมะ ที่ต้องร่วมรบในฐานะที่เป็นวรรณะกษัตริย์ และความจงรักภัคดีต่อราชวงศ์กุรุ ภีษมะเลือกที่จะตายต่อเมือฝ่ายปาณฑพผู้มีธรรมะชนะสงคราม หากทุรโยธน์ได้ขึ้นครองราชย์ ภีษมะเลือกที่จะอยู่ต่อไปเพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่ทุรโยธน์จะก่อขึ้น เนื่องจากความที่เป็นผู้อาวุโสของราชสำนัก เหล่ากษัตริย์เรียกภีษมะว่า ปิตามะห์ (Pitamaha) แปลว่า ปู่ภีษมะ
ความดีและความยิ่งใหญ่ของภีษมะทำไห้นักประวัติศาสตร์บางคนถึงกับออกความเห็นว่าบุคคลที่ชื่อภีษมะไม่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์โลกยังมีความเห็นแก่ตัวเกินกว่าทีจะเสียสละได้อย่างภีษมะ
{{มหาภารตะ}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ภีษมะ"