ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ทดลองเขียน}}<!-- กรุณาอย่าแก้ไขบรรทัดนี้ ขอบคุณครับ/ค่ะ -- Please leave this line as they are. Thank you! -->
 
==Saint Nicholas Owen (martyr)==
[[[http://en.wikipedia.org/wiki/Nicholas_Owen_(martyr) Saint Nicholas Owen (martyr)]]]
เซนต์ นิโคลาส โอเวน(อังกฤษ Saint Nicholas Owen) (เสียชีวิตปี คศ.1606) ฆราวาสพระสงฆ์เยซูอิต( a Jesuit lay-brother)และวีรบุรุษโรมันคาทอลิก(English Catholic martyr)
เป็นผู้สร้างโพรงพระ (priest holes) ในรัชสมัย ควีน เอลิซาเบธที่ 1 (Queen Elizabeth I of England) กับพระเจ้า เจมส์ที่หนึ่ง ( [http://en.wikipedia.org/wiki/Nicholas_Owen_(martyr)] )
 
'''โพรงพระ (priest holes)
คือ ที่ซ่อนที่เล็กแคบ ที่ถูกสร้างขึ้นตามตึกเก่าในลอนดอน หรือ ซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ ใช้เป็นที่ซ่อนพระในนิกายโรมันคาทอลิก
 
'''ทำไมพระต้องซ่อนตัว'''
ในรัชสมัย ในรัชสมัย ควีน เอลิซาเบธที่ 1 (Queen Elizabeth I of England) กับพระเจ้า เจมส์ที่หนึ่ง ชาวคาทอลิกถูกกดขี่ด้วยกฏหมายบ้านเมืองตั้งแต่ ศตวรรษที่ 16 ([http://haab.catholic.or.th/history/history05/newage7/newage7.html])
สมัย ควีน เอลิซาเบธที่ 1 สิ่งที่พระนางปรารถนาก็คือ ความเป็นหนึ่งเดียวทางด้านศาสนาในประเทศ ดังนั้น พระนางจึงเริ่มออกกฎหมายต่างๆ เพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1559
'''ออกกฏหมายใหม่''' ได้แก่ความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ในเรื่องศาสนา และการฟื้นฟูพิธีกรรมพวกลอร์ดทั้งหลายเห็นด้วยกับเรื่อง "Supremacy"
แต่เรื่องพิธีกรรมนั้นพวกเขาปฏิเสธ จึงมีการจัดการโต้วาทีระหว่างพวกโปรเตสตันท์ และคาทอลิกฝ่ายละ9คนที่เวสมินสเตอร์ (Westminster)
โดยที่ฝ่ายคาทอลิกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
'''กฎหมายใหม่ของเรื่อง "Supremacy" '''ได้แก่ ราชินีเป็นผู้ปกครองสูงสุดของทุกเรื่องทางด้านวิญญาณและด้านพระศาสนจักรด้วย
''' กฎหมายเรื่องUniformity ''' 24 มิถุนายน พระราชบัญญัติเกี่ยวกับ Uniformity ครั้งที่ 2 กฎหมายข้อนี้บังคับให้พวกนักบวช นักศึกษาในมหาวิทยาลัย พวกตุลาการ พวกเจ้าเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างๆ สาบานว่าจะซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย มีโทษเพิ่มมากขึ้น หากปฏิเสธที่จะสาบานครั้งแรก ก็ถูกยึดทรัพย์สมบัติและติดคุก แต่หากปฏิเสธครั้งที่สอง มีโทษถึงตาย
'''บทลงโทษของผู้ที่ไม่ใช้พิธีกรรมของ Prayer Book''' ครั้งแรกก็ถูกงดเงินประจำปี ครั้งที่สองถูกจำคุก 6 เดือน และครั้งที่สามถูกจำคุกตลอดชีวิต ฆราวาสซึ่งวิจารณ์พิธีกรรม แองคลิกัน จะถูกปรับ
หากไม่เข้าร่วมพิธีกรรมในวัดของตนทุกอาทิตย์จะถูกปรับครั้งละ 12 เพนนี และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งกฎหมายนี้ ก็ได้มีคณะอนุกรรมการส่งออกไปควบคุมดูแล
และให้มีการสาบานกันในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1559
 
'''ผลจากการออกกฏหมาย'''
-ปลดฐานันดรของคาทอลิก พระสังฆราช 15 องค์ จากทั้งหมด 16 องค์ของคาทอลิก ปฏิเสธการสาบานและถูกปลดออกจากตำแหน่ง และในที่สุดก็ถูกจับใส่คุก
-หัวหน้าเขต 10 องค์ และเลขาธิการฝ่ายพระศาสนจักร 7 องค์ หัวหน้าและสมาชิกของมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกกว่า 60 คน ถูกปลด อาราม 6 แห่ง ที่ถูกสถาปนาขึ้นในสมัยของพระนางมารีก็ถูกยุบไป
และทรัพย์สินของพระศาสนจักรถูกยึดเข้าหลวง
- พระศาสนจักรคาทอลิกมีท่าทีที่แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ในสถานการณ์เช่นนี้คือ พวกแรกพยามยามปรับตัวให้เข้ากับกฎหมาย เพื่อมิให้ถูกปรับและถูกลงโทษ เขายอมใช้พิธีกรรมใหม่นี้
แต่อีกพวกหนึ่งเป็นพวกที่ซื่อสัตย์ ยอมถูกปรับและถูกขังคุก หรือยอมถูกเนรเทศอย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลานี้ ยังไม่มีบทลงโทษถึงตายเลย
 
'''ความรุนแรงเพิ่มขึ้น'''
- การกบฏทางภาคเหนือซึ่งมีพวกคาทอลิกร่วมด้วย พวกขุนนางเก่าต้องการล้มล้างการปกครองของ William Cecil ซึ่งเป็นขุนนางใหม่ โอกาสของการกบฏเกิดขึ้นเมื่อพระนาง
Mary Stwart ราชินีคาทอลิกแห่งสก๊อต แลนด์ เสด็จเข้ามาในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสิทธิในการสืบราชสมบัติของอังกฤษด้วย พวกกบฏสามารถยึดเมือง Durham ได้
และได้ทำลายหนังสือของพวกโปรเตสตันท์
- พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 5 ได้ออกพระสมณสาสน์ "Regnans in excelcis" ของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1570 ทำบัพพาชนีย กรรมพระนางเอลิซาเบ็ธ และประกาศปลดพระนาง
ออกจากตำแหน่งด้วยได้ทำบัพพาชนียกรรมต่อทุกคนที่อยู่ฝ่ายพระนางเอลิซาเบ็ธ เอกสารนี้ทำให้ทุกอย่างเลวร้ายมากขึ้น เพราะทำให้สถานการณ์ของพวกคาทอลิก แย่มากขึ้น ปี ค.ศ.1571
กฎหมายใหม่อีก 2 ข้อคือ ผู้ใดกล่าวหาหรือประกาศว่า พระราชินีเป็นเฮเรติก เป็นกบฏ และใครที่ใช้เอกสารของพระสันตะปาปาในประเทศก็เป็นกบฏด้วยการเบียดเบียนได้เริ่มต้นขึ้นทันที
ผู้ใดไม่ปฏิเสธความเชื่อคาทอลิก มีโทษถึงตาย พวกคาทอลิกถูกพิจารณาว่าเป็นพวกเดียวกันกับพระนาง Mary Stwart และในปี ค.ศ.1574 นี่เอง พวกมิชชันนารีพวกแรกที่เดินทางมาจาก
Douai เข้ามาในอังกฤษ การเดินทางเข้ามานี้ สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของวิลเลียม อัลเลน (William Allen, 1532-1594) เขาเป็นคาทอลิกลี้ภัยไปอยู่ที่ Douai เขามองเห็นว่าพระศาสนจักรคาทอลิก
ในอังกฤษกำลังตายอย่างช้าๆ เหตุผลที่สำคัญ ได้แก่ ขาดแคลนพระสงฆ์ เขาได้ตั้งวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เมืองนี้ โดยในปี ค.ศ.1568 มีนักเรียนอยู่เพียง 4 คนเท่านั้น อีก 6 ปีต่อมา จนถึงปี ค.ศ. 1674
มิชชันนารี 438 องค์ถูกส่งเข้ามาในอังกฤษ พวกเขาถูกเตรียมมาเพื่อเป็นมรณสักขีโดยแท้ มรณสักขีองค์แรกของกลุ่มนี้ ได้แก่ Cuthbert Mayne ในสมัยของพระนางเอลิซาเบ็ธ กลุ่มนี้ถูกฆ่าตายไป
126 องค์ และในปี ค.ศ. 1610 ก็ถูกฆ่าตายไปอีก 135 องค์
 
ในระยะเวลา 10 ปีแรก Douai ส่งมิชชันนารีเข้ามาในอังกฤษ 100 องค์ อัลเลนซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล ในปี ค.ศ. 1587 ได้ก่อตั้งวิทยาลัยอื่นๆ ตามมาอีก ทั้งตั้งที่กรุงโรมด้วยในปี ค.ศ.1579 ปี ค.ศ.1589 ตั้งวิทยาลัยที่ Valladolid และปี ค.ศ.1592 ตั้งที่ Sevilla และตั้งแต่ปี ค.ศ.ศ1580 เป็นต้นมา พวกพระสงฆ์เยสุอิตก็เดินทางมาอังกฤษ ในพวกนี้มี ดีมอนด์ แคมเปี้ยน (Demond Campion)
และโรเบิร์ต เพอร์ซัน (Robert Person) ซึ่งต่อมาเพอร์ซันนี้เอง ก็ได้ก่อตั้งวิทยาลัยแบบเดียวกับอัลเลนที่เมืองแมดริด, ลิสบอน, กู (Gu) และเซนต์โอเมอร์ (St. Omer) ด้วย
- พวกนักบวชในอังกฤษก็มีการแบ่งแยกความคิดเห็น พวกหนึ่งเห็นว่า การสาบานต่อพระนางเอลิซาเบ็ธ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะต้องการที่จะเป็นอิสระจากสเปน อีกพวกหนึ่งต้องการให้มีการช่วยเหลือจากภายนอก
ประเทศ เพื่อให้หลุดพ้นจากสถานการณ์เบียดเบียน พวกแรกต้องการให้พวกเยสุอิตออกจากประเทศไป แต่ก็ไร้ผล เมื่ออัลเลนได้ยื่นหนังสือของเขาชื่อว่า "Admonition" ต่อพวกขุนนางและพวกคาทอลิกชาวอังกฤษ
ให้ช่วยเหลือพระเจ้าฟิลิปที่ 2 รุกรานอังกฤษนั้น พวกคาทอลิกชาวอังกฤษแสดงตนจงรักภักดีต่อบ้านเกิดเมืองนอนของตน
 
- อย่างไรก็ตาม พวกมิชชันนารีที่เข้ามาทำงานในประเทศอังกฤษก็ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพวกฆราวาสให้ความสนับสนุน ให้ที่หลบซ่อนและถวายบูชามิสซา พระนางเอลิซาเบ็ธออกกฎหมาย
มากมายเพื่อต่อต้านกิจการเหล่านี้ พระสงฆ์ที่ถือความเชื่อคาทอลิกถือเป็นกบฏ ผู้ใดช่วยเหลือพระสงฆ์เหล่านี้ มีโทษถึงตาย การเบียดเบียนมีต่อไปจนถึงวันตายของพระนางเอลิซาเบ็ธที่ 1 คือวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ.1603 สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ เมื่อใดก็ตามหากมีแรงกดดันจากภายนอกประเทศเพื่อที่จะช่วยเหลือคาทอลิกจากเงื้อมมือของพระนางเอลิซาเบ็ธ ที่ 1 พวกคาทอลิกอังกฤษกลับแสดงความจงรักภักดีต่อราชินีของตนเมื่อนั้น
- จำนวนของผู้เสียชีวิตเป็นมรณสักขีในระหว่างการเบียดเบียนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1570-1603 มีโดยประมาณดังนี้ 189 คน ถูกฆ่าตายอย่างป่าเถื่อนด้วยวิธีการต่างๆ และก็ฆ่าตายภายหลังจากการทรมานแปลกๆ
พวกมิชชันนารี 126 องค์, ฆราวาส 59 คน ซึ่งมีสตรีรวมอยู่ด้วย 3 คน แต่มีจำนวนอีกนับไม่ถ้วนที่ตายในที่คุมขัง
 
หลังจากสมัยของพระนางเอลิซาเบ็ธแล้ว มีกลุ่มคาทอลิกที่พยายามต่อสู้อีก กฎหมายต่างๆ ก็ออกมาควบคุมพวกคาทอลิกมากขึ้นในศตวรรษที่ 18 พวกคาทอลิกในอังกฤษกลายเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ
และปราศจากอิสรภาพทางศาสนา อิสรภาพทางศาสนานี้พวกคาทอลิกได้รับกลับคืนมาในปี ค.ศ. 1824
 
'''เซนต์ นิโคลาส โอเวน'''
ในการที่พระสงฆ์ที่เป็นคาทอลิกสามารถอยู่รอดในประเทศอังกฤษได้เพราะการหลบซ่อนตัว จากการสนับสนุนของพวกฆราวาส ให้ที่หลบซ่อนและถวายบูชามิสซา โดยถือว่าเป็นการเสี่ยงเพราะว่า ผู้ใดช่วยเหลือพระสงฆ์เหล่านี้ มีโทษถึงตาย
 
'''โพรงพระ''' ในแต่ละบ้านจึงมีการสร้างห้องขนาดตัวคนสำหรับซ่อนพระบาทหลวงจากการถูกล่า เรียกว่า"โพรงพระ"
 
'''นิโคลาส โอเวน สถาปัตย์ผู้ชำนาญ''' หนึ่งในสถาปนิกที่เชี่ยวในการสสร้างห้องลับเหล่านั้น คือ นิโคลาส โอเวน เขาอุทิศส่วนใหญ่ของชีวิตของเขาเพื่อการสร้างสถานที่เหล่านี้เพื่อปกป้องชีวิตของพระสงฆ์จากการข่มเหง
 
'''วีรบุรุษ''' เขาใช้เวลา 20 ปี เที่ยวสร้างโพรงพระ(priest holes) ใช้เป็นที่ซ่อนพระในนิกายโรมันคาทอลิกที่ทางการล่าตัว ซึ่งการให้ที่พำนักกับการซ่อนพระสงฆ์ มีความผิดทางกฏหมาย ถูกทรมานจนกระทั่งในที่สุดถูกฆ่าตายจนกลายเป็นวีรบุรุษ (Martyed) ในปี คศ.1606 ทางการได้บันทึกว่า นิโคลาส โอเวน มีทักษะที่ไม่มีผู้ใดเทียบเสมอได้ ในการสร้างโพรงพระ ลักลอบนำพระคาทอลิกหลบซ่อนผ่านไปตามเส้นทางลับใต้ดินหลบไปในที่ๆปลอดภัย หรือแอบซ่อนพระไว้ในช่องกำแพง หรือแม้แต่ซ่อนไว้ในโพรงดิน ด้วยเส้นทางที่ลดเลี้ยวสับสนเหมือนเขาวงกต
'เซนต์ นิโคลาส โอเวนเป็นหนึ่งในสี่สิบ วีรบุรุษ (Martyrs) ของอังกฤษและเวลส์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่หก(Pope Paul VI) เมื่อ 25 ตุลาคม 1970
'''ทำได้ดีเกินไป''' แต่สิงที่ทำให้เกิดความยุ่งยากคือ เขาทำได้ดีเกินไป จนทางเข้าประตูที่ซ่อนถูกตบตามองไม่ออก แม้กระทั่งทุกวันนี้ยังมีโพรงพระของโอเวนเหลืออยู่ แต่ยังมิได้ค้นพบอีกมากมาย
 
อ้างอิง
นิโคลาส โอเวน<ref>http://en.wikipedia.org/wiki/Nicholas_Owen_(martyr)</ref>
โรมันคาทอลิก <ref>http://haab.catholic.or.th/history/history05/newage7/newage7.html</ref>