ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมทาบอลิซึม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "เมตา" → "เมทา"ด้วยสคริปต์จัดให้ +ภาษา
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
==ที่มา==
คำว่า '''เมทาบอลิซึม''' มาจากภาษากรีก แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (change) ซึ่งจะประกอบด้วยปฏิกิริยาทางเคมีที่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนสภาพของพลังงานภายในเซลล์ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในขบวนการเมทาบอลิซึม จะมีลักษณะเป็นขั้นตอนตามลำดับ เรียกว่า metabolic pathway ในการศึกษาเรื่องราวเฉพาะของพลังงานในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า Bioenergetics
 
 
==รายละเอียด==
เมตาบอลิซึม (metabolism) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์หรือในร่างกายของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยเอนไซม์เป็นตัวเร่ง ปริมาณสารต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มากก็น้อย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเพื่อการสังเคราะห์สารใหม่ขึ้นมาทดแทนสารที่สูญเสียไปหรือเพื่อผลิตพลังงานมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดที่เกิดขึ้นในร่างกายของสิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
 
#กระบวนการสร้าง หรืออะนาบอลิซึม (anabolism) เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายเพื่อการสังเคราะห์สารหรือการเปลี่ยนสภาพสารที่มีโมเลกุลเล็กให้เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สารที่สังเคราะห์ขึ้นในร่างกาย ได้แก่ โปรตีน ไขมัน ไกลโคเจน ฮอร์โมน เอนไซม์ รวมทั้งแป้งที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชด้วย กระบวนการสังเคราะห์สารนี้ต้องใช้พลังงานที่มีอยู่ภายในเซลล์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วได้จากการสลายโมเลกุลของสารเคมีพลังงานสูงพวกอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate หรือ ATP)
#กระบวนการทำลายหรือคะตาบอลิซึม (catabolism) เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายที่มีการสลายสาร คือเปลี่ยนสภาพจากสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ให้มีโมเลกุลขนาดเล็กลง ผลจากการสลายสารดังกล่าว จะได้พลังงานและของเสียออกมา ในกระบวนการทำลายประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ กระบวนการหายใจ (respiration) เป็นกระบวนการสลายอาหารเพื่อเอาพลังงานออกมา เช่น การสลายกลูโคสในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการขับถ่าย (excretion) เป็นกระบวนการกำจัดของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย เช่น ขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำลายส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ในโมเลกุลของ ATP ซึ่งเป็นสารอินทรีย์พลังงานสูง อีกส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ
 
==อ้างอิง==