ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มีนวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชา[[ชีววิทยาทางทะเล]] [[ชลธีวิทยา]] และ[[สมุทรศาสตร์]] และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา"
 
มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของ[[สัตววิทยา]] โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจาก[[ภาษากรีก]]คำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจาก[[ภาษาบาลี]]สันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจาก[[ภาษาสันสกฤต]] แปลว่า ความรู้
 
โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ [[อริสโตเติล]] [[นักปรัชญา|นักปราชญ์]]ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่ม[[อนุกรมวิธาน|จำแนก]][[สิ่งมีชีวิต]] บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริง[[มนุษย์]]รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่[[มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูป[[ปลาบึก]]ที่[[อุทยานแห่งชาติผาแต้ม]] เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 18|ศตวรรษที่ 18]] การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจาก[[ซากดึกดำบรรพ์]]