ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rubinbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.4) (โรบอต แก้ไข: ta:ஆசியப் பனை
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{Taxobox
| color = lightgreen
| name = ตาล
| image = Borassus flabellifer.jpg
| image_width = 240px
| image_caption = ต้นตาลที่หน้า[[ปราสาทหิน]][[นครวัด]]
| regnum = [[Plant]]ae
| divisio = [[flowering plant|Magnoliophyta]]
เส้น 11 ⟶ 10:
| ordo = [[Arecales]]
| familia = [[Arecaceae]]
| genus = '''''[[Borassus''']]''
| genus_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
| species = '''''B. flabellifer L.''''' L.
| binomial = '''''Borassus flabellifer''''' L.''
| binomial_authority = [[Carolus Linnaeus|L.]]
}}
{{commons|Category:Borassus flabellifer}}
 
'''ตาล''' หรือ '''โหนด''' ใน[[ภาษาใต้]]<ref>รายการ[[พินิจนคร]]ตอน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ๒ ขุมทรัพย์กลางมหาละหาน ห้วงธารระบบนิเวศน์สามน้ำ ทาง[[ไทยพีบีเอส]]: [[วันพุธ]]ที่ [[14 กันยายน]] [[พ.ศ. 2554]]</ref> ({{lang-en|Asian Palmyra palm, Toddy palm, Sugar palm, Cambodian palm}}) เป็นพันธุ์ไม้พวก[[ปาล์ม]]ขนาดใหญ่ [[genus|สกุล]] (Genus) ''[[Borassus]]'' ใน[[ปาล์ม|วงศ์ปาล์ม]] (FamilyArecaceae) Palmae เป็นปาล์มที่ แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 ซม.[[เซนติเมตร]] ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เราเรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 ซม.เซนติเมตร และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 ซม.เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 ซม.เซนติเมตร และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 ซม.เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็ด
 
== ต้นตาล ==
[[ไฟล์:Borassus flabellifer.jpg|thumb|left|ต้นตาล]]
ต้นตาลตัวผู้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากต้นตาลตัวเมียเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้นตาลตัวผู้จะออกงวงเป็นช่อ ไม่มีผล ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "จั่น" ถ้าการเวียนของทางใบวนไปทางซ้ายมือจะเป็นตาลตัวผู้ ต้นตาลตัวผู้จะสังเกตจาก ใบและงวง เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของต้นตาลตัวผู้อย่างชัดเจน ส่วนต้นตาลตัวเมียนั้นจะมีลักษณะ การเรียงตัวของทางใบ ถ้ามีการเรียงตัววนไปทางขวามือจากบริเวณโคนไปสู่ยอดจะเป็นต้นตาลตัวเมีย แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ต้นตาลตัวเมียจะต่างจากต้นตาลตัวผู้ตรงที่ต้นตาลตัวเมียจะมีลูกเป็นช่อ ๆ หรือชาวบ้านเรียกว่า "ทะลายตาล"
 
[[จังหวัดเพชรบุรี]]มีต้นตาลมากที่สุดในประเทศไทย ดังปรากฏหลักฐานจาก “[[นิราศเมืองเพชร]]” ของ[[สุนทรภู่]] ความตอนหนึ่งว่า

{{คำพูด|ทุกประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล |}}

ด้วยเหตุนี้ ต้นตาลจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีคู่กับเขาวัง หรือ[[พระนครคีรี]] ปรากฏเป็นตราและธงประจำจังหวัดเพชรบุรี สืบมาจนถึงทุกวันนี้
 
ต้นตาลเมืองเพชร ให้ผลผลิต[[น้ำตาลโตนด]]ที่ดีที่สุดมาตั้งแต่สมัยโบราณตราบจนถึงปัจจุบัน จึงมีชื่อเสียงติดปากคนทั่วไปว่า “น้ำตาลเพชรบุรี” เพราะมีรสหวานหอมอร่อย มีรสชาติกลมกล่อมชวนรับประทาน จนเป็นที่มาของคำว่า “หวานเหมือนน้ำตาลเมืองเพชร” ดังนั้นต้นตาลจึงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี โดยทั่วไปชาวชนบท ชาวนาจะปลูกข้าวและทำตาลควบคู่กันไป ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกต้นตาลไว้บริเวณคันนา ในตัวเมืองเพชรบุรี ก็ปรากฏว่ามีการปลูกต้นตาลเช่นกัน บริเวณที่มีต้นตาลมากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ท้องทุ่งตำบลหนองไม้เหลือง ตำบลโตนดหลาย ตำบลไร่ส้ม ตำบลโรงเข้ เป็นต้น และทุกท้องที่ในเขต[[อำเภอบ้านลาด]] เมื่อมองผ่านต้นตาล จะมองไม่เห็นท้องฟ้าอีกด้านหนึ่ง แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีการทำนา 2 ครั้ง เป็นผลให้ต้นตาลปรับสภาพไม่ทัน เพราะพื้นที่มีน้ำมากเกินไป กลายเป็นที่มีน้ำท่วมขัง ต้นตาลไม่ได้พักตัวที่เรียกว่า “แต่งตัว” ในที่สุดก็ต้องยืนต้นตายภายในเวลาไม่นานนัก เพราะระบบนิเวศเปลี่ยนจากเดิม ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
เส้น 31 ⟶ 33:
* '''ตาลบ้าน''' มีจำนวนเต้าตาลในแต่ละผล 1-4 เต้า แบ่งสายพันธุ์ย่อยได้อีก 3 พันธุ์ คือ
** ''ตาลหม้อ'' มีผลขนาดใหญ่ ผิวดำคล้ำ
<!--[[ไฟล์:tanmor.jpg|thumb|right|150px|ตาลหม้อ]]-->
** ''ตาลไข่'' มีผลสีขาวเหลือง ผลขนาดเล็กกว่า แต่เต้าตาลใหญ่ขนาดใกล้เคียงกับตาลหม้อ (มีเนื้อหุ้มเต้าตาลบาง)
** ''ตาลจาก'' มีผลในทะลายแน่นคล้ายทะลายจาก
* '''ตาลป่า''' มีผลเล็กขนาดตาลไข่ มีผลเขียวคล้ำ มีเต้า 1-2 เต้า ลำต้นสีเขียวสด ก้านใบยาว (บางคนเรียกว่า ตาลก้านยาว) พบแถบเขาแด่น อำเภอบ้านลาด และในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตาลป่ายังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เพราะมักขึ้นอยู่ในป่า
 
<!--[[ไฟล์:tan-paa.jpg|thumb|150px|ตาลป่า]]-->
ประโยชน์ของต้นตาล ต้นตาลเป็นต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรี ที่แข็งแรงยืนยง สามารถทนแล้ง ทนฝน และกระแสลมร้อนหนาวตามสภาพดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องบำรุงรักษามากนัก นอกจากต้นตาลจะให้ประโยชน์ในการทำน้ำตาลโตนดแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของต้นตาลยังมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีก เช่น
 
เส้น 45 ⟶ 46:
== จาวตาล ==
เกิดจากผลแก่จัดของต้นตาลตัวเมีย เมื่อผลหล่นลงมาชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้ ต่อมาต้นตาลตัวเมียจะแทงส่วนที่คล้ายรากงอกออกมาลงสู่พื้นดิน เรียกว่า “งอกตาล” ส่วนนี้จะกลายเป็นต้นอ่อนของต้นตาล เมื่อแทงยอดพ้นดินขึ้นมาจะเจริญเติบโตเป็นต้นตาลต่อไป
<!--[$ไฟล์:loogtan2.jpg|thumb|150px|]]-->
 
จาวตาลนิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน ในการนี้ จะต้องใช้ความชำนาญผ่าเอาเปลือกแข็งชั้นนอก ซึ่งเปรียบเสมือนกะลามะพร้าวออกก่อน จากนั้นจะต้องผ่าเอาเปลือกชั้นรอง คือส่วนที่เป็นน้ำเพื่อขัดผิวนอกด้วยใบไผ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ใบซอ เพื่อให้เมือกหรือไคลหมดไปจนขาวสะอาด เมื่อสะเด็ดน้ำแล้ว นำลงกระทะทองเหลืองเชื่อมกับน้ำตาลทาย ต่อไปก็จะได้ “จาวตาลเชื่อม” หรือนิยมเรียกกันว่า “ลูกตาลเชื่อม”
 
 
การเชื่อมจาวตาลนิยมทำเป็น 2 แบบคือ เชื่อมเปียก จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล หรือเชื่อมแห้ง จาวตาลจะมีเกร็ดน้ำตาลจับแข็ง ซึ่งสะดวกต่อการบรรจุในภาชนะและเก็บได้นาน
เส้น 73 ⟶ 72:
== ใบ ==
[[ใบตาล]]และทางตาล สามารถทำเป็นพัด โดยตัดเจียน แล้วเย็บริมขอบให้เข้ารูป หรืออาจคัดเลือกใบตาลอ่อนแล้วรีดให้เรียบ นำมาจักเป็นใบ ๆ แล้วเย็บเป็นพัดใบตาลแบบพับก็ได้ ซึ่งเหมาะที่จะพกติดตัวไปได้ พัดแบบนี้อาจผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก โดยตกแต่งสีสันให้สวยงาม
 
 
นอกจากนี้ ใบตาลอ่อนยังสามารถนำมาจักสานทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ สำหรับแขวนให้เด็กดูเล่นได้อีกหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน กุ้ง ตั๊กแตน ชฎา หรือทำเป็นรูปสัตว์ ใส่ขาล้อแบบล้อเกวียนให้เด็ก ๆ ลากเล่น หรือนำมาจักเป็นเส้นตอก ถ้าใช้เส้นใหญ่มักสานขึ้นเป็นรูปกระเช้า ถ้าใช้ตอกเส้นเล็กนิยมสานเป็นกระเป๋าสตางค์
<!--[$ไฟล์:Clip_8.jpg|150px]]-->
 
หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้น ๆ สามารถใช้แทนช้อนชั่วคราว เพื่อตักขนมและอาหาร โดยเฉพาะข้าวกระทงที่เคยขายดีขนรถไป นิยมใช้ช้อนใบตาลก่อนที่จะมาใช้ช้อนพลาสติกดังเช่นปัจจุบัน ส่วนใบตาลขนาดใหญ่ นิยมนำมาผ่าซีกแล้วหักงอผูกกับส่วนที่เป็นก้าน เรียกว่า “หักคอม้า” นำไปมุงหลังคา ทำปะรำ มุงกระท่อม หรือโรงนา มีอายุใช้งานประมาณ 2-3 ปี
 
 
หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้น ๆ สามารถใช้แทนช้อนชั่วคราว เพื่อตักขนมและอาหาร โดยเฉพาะข้าวกระทงที่เคยขายดีขนรถไป นิยมใช้ช้อนใบตาลก่อนที่จะมาใช้ช้อนพลาสติกดังเช่นปัจจุบัน ส่วนใบตาลขนาดใหญ่ นิยมนำมาผ่าซีกแล้วหักงอผูกกับส่วนที่เป็นก้าน เรียกว่า “หักคอม้า” นำไปมุงหลังคา ทำปะรำ มุงกระท่อม หรือโรงนา มีอายุใช้งานประมาณ 2-3 ปี<ref>วิทยา อยู่เย็น, การใช้ใบตาลสำหรับงานศิลปหัตถรรม "ต้นตาลบ้านเรา" เอกสารประกอบผลงานทางวิชาการ โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน อ.บ้านลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2</ref>
ข้อมูลเพิ่มเติม การใช้ใบตาลสำหรับงานศิลปหัตถรรม
"ต้นตาลบ้านเรา" เอกสารประกอบผลงานทางวิชาการ
โดย วิทยา อยู่เย็น. โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน อ.บ้านลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
email : wit_2501@hotmail.com
 
== ทางตาล ==
เส้น 91 ⟶ 82:
ส่วนทางตาลตอนโคน ซึ่งอยู่ติดกับต้นตาลนั้น มีจำนวน 2 แฉก เมื่อทางตาลแก่จัดจนใบแห้งจะร่วงหล่นลงมาเอง ชาวบ้านเรียกส่วนโคนนี้ว่า “ขาตาล” มีลักษณะบางและแบน จึงเหมาะกับการนำมาตัดใช้เป็นคราด หากต่อด้ามหรือทำเป็นกาบก็จะเรียกว่า “กาบตาล” สำหรับกอบสิ่งของที่เป็นกอง เช่น ใช้กอบมูลวัว กอบขี้เถ้า กอบเมล็ดข้าว เป็นต้น
 
อนึ่ง ขาตาลขณะที่แก่จัดแต่ยังไม่ถึงกับแห้งกรอบ ให้ตัดเฉพาะส่วนที่เป็นขาตาล นำมาทุบด้วยของแข็งหรือสันขวาน จนเส้นใยฟุ้งกระจายดีแล้ว จึงนำแปรงที่ทำจากตะปูแปรงส่วนที่ไม่ต้องการออก จนเหลือแต่เส้นในเป็นเส้นฝอยเรียบวางเรียงเส้นขนานกัน จากนั้นนำไปมัดรวมกันคล้ายมัดวุ้นเส้น หรือเส้นหมี่ แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วมัดรวมเป็นมัดใหญ่เพื่อส่งจำหน่ายร้านรับซื้อ สำหรับเป็นแปรงหยากไย่ หรือทำไม้กวาด<ref>[http://www.maekimlung.com/content-%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-3-859-66830-1.html ประโยช์ของตาล ^_^]</ref>
 
== ลำต้น ==
[[ลำต้น]]ตาล ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จัดว่าลำต้นแก่พอสมควร สามารถนำเปลือกนอก ซึ่งมีความแข็งและมีเสี้ยนตาล เป็นเส้นสีดำแทรกอยู่ในเนื้อไม้ หากนำมาแปรรูปแล้วจะได้ไม้กระดาน ขนาด 4-6 นิ้ว หรือนำมาประดิษฐ์เป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลายรูปแบบ<ref>[http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Palms/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html ตาล]</ref>
 
== เกร็ด ==
* ตาลเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี]]<ref>[http://www.pbru.ac.th/th/index.php/about-pbru/562-tontan-tree-of-pbru "ต้นตาล" ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย]</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[มะพร้าว]]
* [[ขนมตาล]]
 
==อ้างอิง==
{{ต้องการรายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ปาล์ม]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตาล"