ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: uk:Бертран Расселл
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล ชีวประวัติ
|ชื่อตัว = เบอร์ทรานด์ทรันด์ อาร์เธอร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซิลล์รัสเซลล์, เอิร์ลรัสเซิลล์ที่เอิร์ลรัสเซลล์ที่ 3
|ชื่อภาพ = Russell1907-2.jpg
|คำบรรยายภาพ = รัสเซิลล์ ในปี ค.ศ. 1907
บรรทัด 17:
|ศาสนา =
}}
'''เบอร์ทรานด์ทรันด์ อาเธอร์อาร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซลล์'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 180</ref> ({{lang-en|Bertrand Arthur William Russell}}; [[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2415]] - [[2 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2513]]) เป็นหนึ่งใน[[นักคณิตศาสตร์]] [[นักปรัชญา]] นัก[[ตรรกศาสตร์|ตรรกวิทยา]] ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็น[[นักปรัชญา]]การศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก บรรดานักปรัชญารู้จักเขาในฐานะของผู้ให้กำเนิด[[ทฤษฎีความรู้]] (Epistemology หรือ Theory of Knowledge) [[นักคณิตศาสตร์]]รู้จักรัสเซลในฐานะบิดาแห่ง[[ตรรกศาสตร์|ตรรกวิทยา]] ผู้เขียนตำราคลาสสิกทาง[[คณิตศาสตร์]] คือหนังสือชื่อ ''Principia Mathematica'' [[นักฟิสิกส์]]รู้จักเขาในฐานะของผู้แต่งตำรา ''ABC of Relativity'' สำหรับคนทั่วไปรู้จักรัสเซลล์ในฐานะของ[[นักจิตวิทยา]] [[นักการศึกษา]] [[นักการเมือง]] และ[[นักเขียน]]ผู้ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]] เมื่อปี พ.ศ. 2493
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 26:
จนกระทั่งอายุได้ 18 ปีเต็ม (ค.ศ. 1890) รัสเซลจึงได้เข้าเรียนใน[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] เมื่อเข้าเรียนได้ปีแรกเท่านั้น เขาก็แสดงความไม่พอใจต่อการสอนแบบโบราณ โดยเฉพาะวิชา[[คณิตศาสตร์]] เขาจึงพยายามหาทางปรับปรุงวิธีการสอนคณิตศาสตร์แบบเก่าที่น่าเบื่อหน่าย โดยการศึกษาค้นคว้าตำราคณิตศาสตร์อย่างกว้างขวาง อีก 3 ปีต่อมา เขาก็ไดรับปริญญาเกียรตินิยมสาขาคณิตศาสตร์ และในระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น รัสเซลได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมเกี่ยวกับการเผยแพร่ศาสนาชื่อ “The Apostles”
 
ปีถัดมา รัสเซลรัสเซลล์หันมาสนใจเรียนวิชา[[ปรัชญา]]อีกสาขาหนึ่ง นักปรัชญาที่เขาสนใจผลงานมากที่สุด คือ [[เฮเกล]] และ[[บรัดเลย์]] ด้วยความตั้งใจเรียนอย่างดีเยี่ยม ประกอบกับมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เขาจึงคว้าปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาปรัชญามาครองอย่างไม่ยากเย็นนัก หลังจากจบการศึกษาแล้ว รัสเซลรัสเซลล์ได้ตัดสินใจแต่งงานกับ อลิส เพียร์เซล สมิธ น้องสาวของ[[โลแกน เพียร์เซล สมิธ]] (Logan Pearsall Smith) นักประพันธ์ชื่อดังแห่งยุคนั้น โดยมิได้ฟังคำทัดทานจากปู่และย่า
 
ขณะเดียวกัน รัสเซลรัสเซลล์ก็ได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยทำการสอนวิชาปรัชญาและคณิตศาสตร์ อีก 2 ปีต่อมาเขาได้รับเชิญให้ไปบรรยายวิชาคณิตศาสตร์แผนใหม่ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังเป็นที่รู้จักเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น สำหรับวิชาคณิตศาสตร์นั้น เขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนของ[[ยูคลิด]] (Euclid) เขากล่าวว่า “เจตนารมณ์ที่ถูกต้องของวิชาคณิตศาสตร์นั้น มิได้มีเพียงความจริงเท่านั้น หากยังประกอบด้วยความงามอย่างลึกซึ้งอีกด้วย คือความงามอย่างประหยัด ปราศจากเครื่องตกแต่งอันหรูหรา ”เขารู้สึกภาคภูมิใจและมั่นใจเป็นอย่างยิ่ง ที่การสอนคณิตศาสตร์ของเขาประสบความสำเร็จ และมีสาระสำคัญยิ่งในสมัยศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะการแก้ปัญหายุ่งยากต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งนี้ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักของยูคลิด) ยังอยู่กับที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับยุคสมัย
 
ในขณะเดียวกันรัสเซลก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และการปกครองที่[[ประเทศเยอรมนี]] ณ ที่นี้เองที่รัสเซลรัสเซลล์ได้รับอิทธิพลจากลัทธิ[[มาร์กซิสม์]]มาจนท่วมสมอง ครั้นเขากลับมายังสหราชอาณาจักร ก็ได้ทำการสอนที่เดิม และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่งใน[[ลอนดอน]]
 
ในปี พ.ศ. 2439 รัสเซลได้แต่งตำราออกมาเล่มหนึ่งชื่อ German Social Democracy ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อถึงปี [[พ.ศ. 2446]] (ค.ศ. 1903) เขาประสบปัญหาทางด้านครอบครัว จนถึงกับต้องแยกทางกับภรรยาคนแรก รัสเซลรู้สึกมีความเสียใจมาก ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือออกมาในลักษณะประณามสตรีที่หลงใหลแต่ความสุขจนมิได้เหลียวแลสังคม ทำให้ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างรุนแรง ต่อมาอีก 2 ปี รัสเซลรัสเซลล์ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคม Royal Society และยังคงตำแหน่งอาจารย์ผู้บรรยายวิชาตรรกวิทยาและปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ต่อมา
 
ระหว่างที่เกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] รัสเซลได้เป็นตัวตั้งตัวตีทำการคัดค้านสงคราม และประณามรัฐบาลอังกฤษที่เกณฑ์เด็กหนุ่มไปรบกับเยอรมนี เขาเห็นว่าเด็กหนุ่มเหล่านั้นจะต้องถูกฆ่าตายโดยปราศจากความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้เขาจึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมแสวงหาสันติภาพ และไม่เห็นด้วยกับการเกณฑ์ทหาร (No Conscription Fellowship) และในที่สุด สมาคมดังกล่าวก็ถูกรัฐบาลอังกฤษสั่งให้ยุบเลิก และได้จับกุมสมาชิกของสมาคมแทบทุกคนเข้าคุกตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ารัสเซลรอดพ้นตะรางมาได้ด้วยบารมีของผู้เป็นปู่นั่นเอง แต่กระนั้นเขาก็ยังยืนหยัดต่อสู้ และเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษยกเลิกกฎหมายบังคับให้คนหนุ่มไปเป็นทหารอีกต่อไป
 
เขาได้เขียนบทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Tribunel ซึ่งออกโดยสมาคมดังกล่าว โดยได้กล่าวประณามรัฐบาลอย่างรุนแรง ในกรณีที่ได้นำประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ด้วยการประกาศตัวเป็นปรปักษ์และทำสงครามกับประเทศเยอรมนี ผลปรากฏว่าเขาถูกจับไปกุมขังเป็นเวลาร่วม 6 เดือนเศษ แต่การที่เขาถูกจับไปกุมขังคราวนี้กลับเป็นผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก เพราะรัสเซลรัสเซลล์ได้ใช้เวลาทั้งหมดในคุก เขียนตำราชื่อ Introduction of Mathematical Philosophy จนสำเร็จ และตำราเล่มนี้เองที่ถือว่าเป็นบรมครูของวิชาตรรกวิทยา ที่บรรดานักการศึกษาและนักศึกษาในปัจจุบันอาศัยเรียนและอ้างอิงอยู่มิได้ขาด ต่อจากนั้นรัสเซลก็ได้เริ่มงานเขียนขึ้นใหม่ชื่อ The Analysis of Mind (ค.ศ. 1921) เมื่อได้อิสรภาพแล้วรัสเซลก็ได้พบรักครั้งใหม่กับ Dora Black และได้ตัดสินใจแต่งงานกันในปี ค.ศ. 1921 ระหว่างนั้นรัสเซลได้ผลิตผลงานเขียนออกมามิได้หยุดทั้งด้านปรัชญา ตรรกวิทยา คณิตศาสตร์ จริยศาสตร์และการปกครอง
 
จนกระทั่งถึงปี [[พ.ศ. 2470]] (ค.ศ. 1927) รัสเซลกับภรรยาได้เปิดโรงเรียนทดลองขึ้นแห่งหนึ่งที่ Telegraph Houst ใกล้ ๆ กับเมืองปีเตอร์สฟิลด์ โดยทำการสอนเด็กเล็กตามแนวความคิดของเขา ปีเดียวกันนี้เองเขาได้สร้างผลงานเขียนอีกเล่มหนึ่ง ชื่อ ''ทำไมฉันถึงไม่ใช่คริสเตียน'' (Why I am not a Christian) ซึ่งเป็นหนังสือต่อต้านความเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า เรื่องนรกสวรรค์ใน คริสตศานา โดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ตรงไปตรงมา จนทำให้เหล่า[[อนุรักษ์นิยม]]และนักวิจารณ์ประณามว่าเขาเป็นคนนอกศาสนา ไร้ศีลธรรม เป็นคน[[ต่อต้านพระเจ้า]] (Anti Christ) แต่เขาไม่แยแสกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น
 
ปี [[พ.ศ. 2472]] (ค.ศ. 1929) รัสเซลรัสเซลล์ได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ Marriage and Moral นอกจากจะเขียนวิจารณ์สตรีเพศแล้ว เขายังได้แสดงความคิดเห็นที่ค่อนข้างจะล้ำยุค และอีกเช่นเคยที่เขาจะหลีกเลี่ยงนิสัยส่วนตัวมิได้ คือใช้ถ้อยคำรุนแรง ตรงไปตรงมาอย่างที่สุด ทั้งยังได้แทรกแง่คิดทางด้านจริยศึกษาและทางสังคม ไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะในเรื่องกามารมณ์ ความตอนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ เขาเขียนไว้ว่า ''“ตัณหาของมนุษย์จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้นั้น แต่ในขณะเดียวกันสภาพสังคมที่เขาอาศัยอยู่นั้น ก็ย่อมมีส่วนอย่างมากทีเดียว ที่จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในสมัย[[พระนางเจ้าวิกตอเรีย]]นั้น ผู้ชายอังกฤษเพียงแต่เห็นหัวเข่าของสตรี ก็เกิดความรู้สึกทางเพศแล้ว แต่สำหรับปัจจุบัน ดูเหมือนจะไม่รู้สึกอะไรเลย ทั้งนี้เป็นผลมาจากแฟชั่นการแต่งกายของสตรีที่ล้ำยุคอยู่เสมอ นี่ถ้าหากเปลือยกายล่อนจ้อนเป็นแฟชั่นขึ้นมา มันอาจจะไม่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของผู้ชายเลยซักนิดเดียวก็ได้ และถ้าถึงเวลานั้นอาจจะต้องมีการออกกฎหมายบังคับให้ผู้หญิงสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ เพื่อล่อใจผู้ชายขึ้นก็ได้ เหมือนคนป่าบางจำพวก เก้าในสิบของแรงกระตุ้นจากนวนิยายประเภทยั่วยุกามารมณ์ (Porrography) นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากความรู้สึกหื่นกระหายที่จะเสพกาม ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วนนั้นเกิดจากด้านสรีรวิทยา ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าก็เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรออกกฎหมายห้ามตีพิมพ์สิ่งยั่วยุกามารมณ์”''
 
ในระหว่างนั้น รัสเซลยังได้รับเชิญให้ไปเป็นอาจารย์พิเศษตามสถาบันต่างๆ ทั้งในสหราชอาณาจักร และใน[[สหรัฐอเมริกา]]เป็นประจำ เขายังคงดำเนินกิจการโรงเรียนทดลองเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2478 ก็เกิดระหองระแหงกันขึ้นกับภรรยา ในที่สุดต้องหย่าขาดจากกัน รุ่งขึ้นอีก 1 ปี รัสเซลได้พบรักกับพาตริเซีย สเปนซ์ (Patricia Spence) และได้แต่งงานอีกเป็นครั้งที่ 3 ส่วนโรงเรียนทดลองของเขานั้น ได้มอบให้ โดรา แบร็ค (Dora Black) ดำเนินการต่อไป
 
ต่อมารัสเซลรัสเซลล์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัย ณ [[นิวยอร์ก|นครนิวยอร์ก]] และยังคงทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อยู่เหมือนเดิม พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนขึ้นหลายเล่ม นอกจากนั้นรัสเซลยังได้รวบรวมคำบรรยายของเขาตีพิมพ์เป็นเล่ม ชื่อ ''ประวัติศาสตร์แห่งปรัชญาตะวันตก'' (History of Western Philosophy) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี [[พ.ศ. 2488]] (ค.ศ. 1945) และได้กลายเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
 
ในปี [[พ.ศ. 2480]] (ค.ศ. 1937) รัสเซลได้กระทำสิ่งพิเรนๆ อีกประการหนึ่ง ซึ่งยังไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ใดเคยทำมาก่อน คือการเขียนคำไว้อาลัยมรณกรรมของตัวเอง ทั้งยังได้แนะว่าควรจะตีพิมพ์ใน[[Times|นิตยสารไทมส์]] ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2505 โดยเขาได้ทำนายชีวิตของตัวเองไว้ว่าจะถึงแก่กรรมเมื่ออายุครบ 90 ปี แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคำไว้อาลัยของเขาได้ตีพิมพ์ตามกำหนดนั้น เนื่องจากเขามีอายุต่อมาอีกถึง 8 ปี
 
ระหว่างที่เกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ขึ้น (พ.ศ. 2481 - 2488) รัสเซลรัสเซลล์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมต่อต้านสงคราม เขาได้เขียนบทความโจมตี และประณามประเทศมหาอำนาจที่ก่อภาวะสงครามขึ้นอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ในขณะเดียวกันรัสเซลยังคงทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่นเคย ทั้งยังได้รับเชิญไปบรรยายออกอากาศในรายการ Brains Trust ทาง[[สถานีวิทยุ บี.บี.ซี.]]เป็นประจำ ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ประกอบกับตำราและหนังสือต่างๆ ที่เขาแต่งขึ้นนั้น ใช้ภาษาได้สละสลวย ใช้ถ้อยคำง่ายๆ ตรงไปตรงมา แต่ใจความลึกซึ้งกินใจ พรสวรรค์ในเรื่องนี้เองที่ทำให้รัสเซลได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2493]] (ค.ศ. 1950)
 
ชีวิตครอบครัวของรัสเซลนั้นออกจะลุ่มๆ ดอนๆ และเกิดปัญหาแตกร้าวกันหลายครั้ง จนกระทั่งครั้งสุดท้าย เขาได้หย่าขาดจากพราติเซีย สเปนซ์อีกเมื่อปี [[พ.ศ. 2495]] (ค.ศ. 1952) และได้พบรักครั้งที่ 4 กับเอดิธ ฟินซ์ (Edith Finch) สตรีชาวอเมริกัน ต่อมาอีก 2 ปี เขาได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองครั้งสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง โดยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันค้นคว้าและวิจัยทางวิทยาศาตร์ของสหรัฐ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่ ๆ จนสามารถสร้าง[[ระเบิดไฮโดรเจน]]ได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี [[พ.ศ. 2497]] (ค.ศ. 1954)
 
จนกระทั่งถึงปี [[พ.ศ. 2504]] (ค.ศ. 1961) รัชเซลรัสเซลล์ได้เข้าร่วมกับกลุ่มชน แสดงการไว้อาลัยต่อชีวิตของชาวญี่ปุ่นนับแสนๆ คน ที่ถูก[[ระเบิดปรมาณู]]ลูกแรกของสหรัฐฯ โดยที่เขาได้เปิดการปราศัยขึ้นท่ามกลางฝูงชนนับหมื่นๆ คน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อห้ามของรัฐบาลอังกฤษในเวลานั้น ผลที่ได้รับก็คือเขาถูกจับเข้าคุกเป็นเวลาถึง 2 เดือนเศษ ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุร่วม 88 ปีเศษแล้ว บรรดาฝูงชนที่ไปฟังคำพิพากษาตัดสินจำคุกเขาในวันนั้น ต่างอุทานว่าเป็นการกระทำที่น่าอับอายที่สุดของรัฐบาลอังกฤษ ที่จับคนแก่ไปทรมาน แต่สำหรับตัวเขาเองกลับมองไปในแง่ที่ปราศจากอคติ โดยเขาได้เขียนบันทึกไว้ในอัตตชีวประวัติเล่มที่ 3 ของเขาว่า ''“คำกล่าวประณามรัฐบาลของผู้ที่มาฟังคำพิพากษาในวันนั้นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกไม่พอใจจริง ๆ ข้าพเจ้าทราบดีว่าผู้คนเหล่านั้นปรารถนาดีต่อข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าก็ได้ตั้งใจทำความผิดทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ข้าพเจ้ามองไม่เห็นว่าอายุของคนจะช่วยระงับยับยั้งมิให้เขาทำผิดได้อย่างไร หากแต่จะมีส่วนส่งเสริมให้ทำผิดบ่อยยิ่งขึ้นเสียมากกว่า ผู้พิพากษาก็คงเข้าใจเรื่องนี้ดี ว่าอะไรควรไม่ควร จึงตัดสินให้ข้าพเจ้าต้องโทษตามกระบิลเมือง”''
 
== ปรัชญาของรัสเซลรัสเซลล์ ==
รัสเซลล์เป็นนักปรัชญา[[ชาวอังกฤษ]] เป็นนักปรัชญาที่สำคัญที่สุดชองลัทธิ[[สัจนิยม]]ใหม่แบบธรรมชาติ เกิดและเติบโตในบรรยากาศที่หดหู่ เคร่งเครียด และว้าเหว่จนน่าเบื่อ จึงไม่ชอบและมีจิตใจเป็นปฏิปักษ์ อายุ 14 ปีเท่านั้นก็คัดค้านคำสอนของศาสนาอายุ 18 ปีเลิกนับถือศาสนา เข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรียนคณิตศาสตร์และปรัชญา ขณะนั้น[[ลัทธิเฮเก็ล]]ใหม่กำลังรุ่งโรจน์ รัสเซลติดใจและจะยึดเหนี่ยวแทนศาสนาได้ ต่อมาได้รู้จักกับมัวร์ จึงเป็นแนวความคิดมาทางสัจนิยมใหม่ของมัวร์ ครั้นไม่พอใจก็ปรับปรุงแก้ไขเรื่อยไปเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา มีความตระหนักว่าความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติเปิดโอกาสให้คนฉลาดเอาเปรียบคนโง่ และเป็นฉนวนให้เกิดสงคราม จึงตั้งหน้าล้มล้างศาสนาและความศรัทธาต่อสิ่งเหนือธรรมชาติทุกแบบจนสิ้นอายุขัย คัดค้านสงครามจนถูกจำคุก 2 ครั้ง ตอนปลายชีวิตได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ใฝ่หาสันติภาพตัวอย่าง ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ปรัชญา ได้เป็นราชบัญฑิต และได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมสาขาวรรณกรรมประจำปี พ.ศ. 2493 โดยคณะกรรมการแถลงเหตุผลว่า'' “ท่านเป็นคนหนึ่งในสมัยของเราที่เป็นปากเป็นเสียงดังที่สุดให้กับปัญหาธรรมและมนุษยธรรม ท่านไม่กลัวที่จะประท้วงเรียกร้องสิทธิในการพูดและคิดอย่างอิสระในซีกโลกตะวันตก”''
 
รัสเซลรัสเซลล์ได้สมญาว่าเป็นว่า '''“Philosophical Everryman”''' ของสมัยใหม่ ซึ่งหมายความว่า ความคิดปรัชญาของรัสเซล เราจะพบปัญญาที่สำคัญของปัญหาของปรัชญาปัจจุบัน นับตั้งแต่ปัญหาในระดับสามัญชนขึ้นไปจนถึงปัญญาชน รัสเซลเป็นผู้รอบรู้ในทุกๆด้าน เรื่องราววิชาการปัจจุบันและรู้อย่างดีในทุกๆเรื่อง มิใช่เพียงรู้ งูๆ ปลาๆ สักแต่ว่าพอสำหรับเห็นปัญหาของปรัชญาเท่านั้น รัสเซลล์จึงมองเห็นปัญหาถูกจุดจริงๆ สำหรับมนุษย์ในปัจจุบัน การเข้าถึงปัญหาปรัชญาของรัสเซล จึงเท่ากับเข้าถึงปัญหาอันแท้จริงของมนุษย์ในสมัยปัจจุบันนั้นเอง คำตอบของรัสเซลสำหรับแต่ละปัญหามีหลายมุม สมกับสภาพทางปัญหาของผู้รอยรู้หลายด้าน ปรัชญาของรัสเซลจึงสังกัดอยู่ในหลายลัทธิ แล้วแต่จะพิจารณาคำตอบส่วนไหนของรัสเซล อย่างไรก็ตาม ตลอดอายุแห่งวิวัฒนาการทางความคิดจของปรัชญาของรัสเซลนั้น รัสเซลมีแนวยืนพื้นพอจะสรุปได้ด้วยคำว่าสัจนิยมแบบธรรมชาติ (natural realism)
 
แนวปรัชญาของรัสเซล ไม่คงตัว แต่ทว่าวิวัฒน์ไปเรื่อย ๆ ตามอายุขัย ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ
บรรทัด 63:
=== ระยะอุดมการณ์นิยม ===
 
ระยะนี้อยู่ในช่วงเวลา [[พ.ศ. 2438]] (ค.ศ. 1895) ถึง [[พ.ศ. 2443]] (ค.ศ. 1900) ขณะที่รัสเซลรัสเซลล์ยังเป็นศิษย์ของบรัดเลย์อยู่นั้น รัสเซลคิดว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลายมีอยู่ย่อมมีความสัมพันธ์ภายในต่อกัน หมายถึงว่าเป็นสารถะของกันและกัน อย่างเช่นเรากล่าวว่า ก อยู่เหนือ ข และถ้าคำพูดของเราตรงกับความจริงก็หมายความว่า ก กับ ข จะต้องมีความสัมพันธ์กันจริงในทำนอง ก อยู่เหนือ ข และความสัมพันธ์นั้นจะต้องเป็นความสัมพันธ์ภายใน คือ ก จะไม่เป็น ก ถ้าหากไม่มี ข อยู่ใต้ และ ข จะไม่เป็น ข ถ้าหากไม่มี ก อยู่เหนือ จึงกล่าวได้ว่าการอยู่เหนือของ ข เป็นส่วนหนึ่งของสารถะของ ก และการอยู่ใต้ ก เป็นส่วนหนึ่งของสารัตถะของ ข ในทำนองเดียวกันถ้านายดำเป็นพ่อของเด็กชายขาว ก็หมายความว่า การเป็นพ่อของเด็กชายขาวเป็นสารัตถะส่วนหนึ่งของนายดำ และการเป็นลูกของนายดำก็เป็นสารัตถะส่วนหนึ่งของเด็กชายขาวเด็กชายขาวจะไม่เป็นเด็กชายขาวตามที่เป็นอยู่จริง ถ้าหากไม่คิดถึงการเป็นลูกของนายดำเข้าเป็นองค์ปรกอบด้วย หรือถ้าเด็กชายขาวไม่เป็นลูกของนายแดง เด็กชายขาวก็จะเป็นเด็กอีกคนหนึ่งซึ่งอาจจะชื่อขาวก็ได้แต่จะเป็นเด็กชายขาวคนละคนจากที่กล่าวถึง จึงสรุปได้ว่าความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริง ความเป็นจริงทุกหน่วยมีความสัมพันธ์ภายในต่อกัน ดังนั้น ทุกสิ่งจึงรวมเอาทุกสิ่งไว้ในสารัตถะของตน เม็ดทราย ก จะเป็นเม็ดทราย ก ก็เพราะกำลังถูกคลื่นซัดบนชายหาดแห่งนี้ ในบ้านเมืองที่กำลังมีสภาพอย่างนี้ ในโลกมี่มีมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายอาศัยอยู่อย่างนี้ ในเอกภพที่มีสภาวะอยู่อย่างนี้ มิฉะนั้นแล้ว ก็ไม่ไช่เม็ดทราย ก ความสำนึกของเราเหล่านี้ก็เป็นสิ่งมีอยู่จริง และเราสามารถสำนึกถึงสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายได้ความสำนึกของเรากับความสำนึกของผู้อื่นก็มีความสัมพันธ์ในต่อกันอย่างแน่นแฟ้นเช่นกัน ทุกสิ่งจึงอยู่ในความสำนึกของเราแล้วอย่างมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้น จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะใช้เหตุผลสืบหาเรื่องราวความจริง เราสามารถคิดกฎคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ภายในของความสำนึกของเราอยู่แล้ว รวมความว่าสิ่งที่มีอยู่จริงแต่ละสิ่งรวมทุกสิ่งไว้ในตัว และมนัสแต่ละมนัสรวมเอาสิ่งที่อาจจะรู้ได้ทั้งหมดไว้ในตัว
 
=== ระยะสัจจะนิยมสัจนิยมและปรมาณูทางตรรกะ ===
 
ระยะนี้อยู่ในช่วงเวลา [[พ.ศ. 2443]] (ค.ศ. 1900) ถึง [[พ.ศ. 2455]] (ค.ศ. 1912) ในราวปี พ.ศ. 2443 รัสเซลรัสเซลล์เริ่มผละออกจากลัทธิอุดมการณ์นิยมและเริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง ร่วมมือกับมัวร์ก่อตั้งและเผยแผ่ลัทธิสัจนิยมใหม่ นับเป็นระยะแรกของวิวัฒนาการทางความคิดปรัชญาของรัสเซล วิจารณ์ความคิดแบบอุดมการนิยมแต่เดิมว่า ความสัมพันธ์เป็นสิ่งภายนอกสารัตถะ เป็นคุณา ความสัมพันธ์ไม่ไช่ส่วนหนึ่งของสารัตถะ ข้อพิสูจน์ก็คือ เมื่อเรามีผัสสะต่อวัตถุใดวัตถุหนึ่ง นอกจากเราจะมีความสำนึกถึงวัตถุชิ้นนั้นแล้ว เรายังมีความสำนึกถึงความสัมพันธ์ของวัตถุชิ้นนั้นกับสิ่งอื่นต่างหากออกไปด้วย เราอาจจะพิจารณาความสัมพันธ์ต่างหากจากวัตถุ เช่น ในคณิตศาสตร์เราเรียนความสัมพันธ์บริสุทธิ์ระหว่างจำนวนเลขหรือระหว่างรูปทรงต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนวัตถุทีมีจำนวนหรือรูปทรงนั้นๆเลย ยิ่งกว่านั้น ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้บอกเราว่าเราเรียนรู้วัตถุก่อน ต่อมารู้จำนวนเลข ต่อมาความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์จะค่อย ๆ ตามมาทีละน้อย ๆ จากข้อสังเกตดังกล่าว รัสเซลตั้งมูลบทขึ้นมาว่า
 
# ข้อเท็จจริงทั้งหลาย เป็นปรมาณูทางตรรกะ (Facts are logically atomic) (= ลัทธิปรมาณูนิยมทางตรรกะ)
บรรทัด 94:
อย่างไรก็ตามเจเกอร์อ้างว่าแบ่งเพื่อสะดวกเพื่อสาธยายเท่านั้น มิได้ตั้งใจจะยืนยันเป็นทฤษฎีให้วิพากษ์วิจารณ์
 
รัสเซลรัสเซลล์ลังเลใจมากเกี่ยวกับอภิปรัชญา บางครั้งก็อ้างว่าเท่าที่ค้นคว้านั้นเป็นเพียงเรื่องของญาณปรัชญา ไม่เกี่ยวกับโครงสร้างอันแท้จริงของมนัสหรือธรรมชาติของสิ่งของ แต่บางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าเมื่อพูดถึงมนัสว่าเป็นที่รวมของผัสสะและมโนภาพ และแถลงว่าความเป็นจริงทั้งหลายก็ขึ้นจากประสบการณ์บ้างต้น แล้วค่อยๆลำดับเรื่องขึ้นมาจนถึงประบการณ์ซับซ้อนเช่นนั้น ย่อมจะหลีกอภิปรัชญาไปไม่พ้น
 
ในระยะปรมาณูนิยมทางตรรกะ ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ภาษาในอุดมการณ์ (ideal language) จะต้องตรงกับความเป็นจริง ภาษาในอุดมการณ์นี้ได้มาโดยอาศัยหลักความคุ้นเคย (principle of acquaintance) อันเนื่องมาจากประสบการณ์ ตั้งสูตรขึ้นว่า “ ข้อความทุกข้อความที่เราเข้าใจต้องประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบที่เราคุ้นเคยเท่านั้น” นั้นคือรัสเซลเชื่อว่าความคุ้นเคย (acquaintance) เป็นสิ่งค้ำประกันความแน่นอนของความรู้ของเรา และในทำนองนี้สิ่งที่เรามั่นใจได้ก่อนอื่นทั้งหมดมิใช่ข้อความ หรือความสัมพันธ์ (Logical construction) แต่เป็นข้อมูล (data) ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็นข้อความปรมาณู (Logical statement) แต่ข้อมูลเป็นเรื่องของอภิปรัชญาส่วนในเรื่องญาณปรัชญาความรู้ของเราต้องเริ่มจากข้อความปรมาณู เช่น ''"This is white. This is above that."'' ซึ่งเราจะวิเคราะห์ให้เป็นความเข้าใจที่ง่ายกว่านี้อีกไม่ได้แล้ว เพราะประกอบด้วยข้อมูลน้อยที่สุดและที่เราคุ้นเคยจริง ๆ ข้อความปรมาณูหลายข้อความรวมกันเป็นข้อความเชิงซ้อนหรือข้อความอณู (compound or molecular statement)
บรรทัด 113:
เปอาโน ถือว่าถ้าในจักรวาลมีวัตถุอยู่ n หน่วย จำนวนเลขที่มากกว่า n ย่อมเป็นไปไม่ได้นั่นคือ จำนวนเลขไม่รู้จบเป็นของเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจจะมีเลขจำนวนสูงสุด ซึ่งไม่มี successor ต่อไป
 
รัสเซลแก้ว่ารัสเซลล์แก้ว่า axiom of infinity อาจจะชี้แจงได้ดังนี้
 
เนื่องจากเราถือว่าคุณลักษณะหนึ่งก็จัดเป็นชั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องมีชั้นหนึ่ง ซึ่งไม่มีคุณลักษณะใดเลย เพราะฉะนั้นไม่มีสมาชิกเลย เลขศูนย์จึงนับเป็นชั้นที่ไม่มีสมาชิก (class with on members) เพราะฉะนั้นแม้ทั้งจักรวาลจะไม่มีอะไรเลย ก็จะต้องมีเลขอย่างน้อยหนึ่งเลข คือ เลขศูนย์ เป็นอันว่าเราได้เลขศูนย์ไม่มีอะไรเลย และได้ชั้นของความว่างเปล่า (empty class) ทั้งสองรวมกันเป็นสมาชิกของชั้นรวมซึ่งนับได้เป็นอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสมาชิกเป็น 3 สมมติเป็น A (เลขศูนย์) B (ชั้นของเลขศูนย์) และ C (ชั้นของ A และ B รวมกัน) ต่อไปก็จะมีชั้น D ซึ่งเป็นชั้นรวมของ A + B + C เข้าด้วยกัน และ E ซึ่งเป็นชั้นรวมของ A + B + C + D เข้าด้วยกัน และเป็นเช่นนี้ไปอย่างไม่รู้จบ
 
=== [[ปฏิทรรศน์ของรัสเซิลล์]] (Russell’s paradox) ===
ต่อมารัสเซลรัสเซลล์เองก็ได้เห็นว่า ข้อพิสูจน์ข้างต้นนี้ขัดแย้งตัวเอง เพราะจำนวนเลขและชั้นของจำนวนเลขรวมเข้าเป็นชั้นเดียวกันไม่ได้ เช่น นาย ก กับ คน รวมเป็นชั้นเดียวกันไม่ได้ มิฉะนั้นนาย ก จะเป็นคนและไม่เป็นคนในเวลาเดียวกัน คือ ถ้านาย ก อยู่ในชั้นของ คน คือ ไม่ใช่คน ยุ่งกันใหญ่ เพราะฉะนั้น ข้อพิสูจน์ข้างต้นเป็นปฏิทรรศน์ (paradox)
 
จากการค้นคว้าของนักตรรกวิทยาพบว่า ชีวิตคนเราอาจจะพบปัญหาที่ไร้คำตอบอีกมาก เป็นเรื่องที่เราต้องยอมรับสภาพ เราพึงดำเนินชีวิตต่อไปตามปกติ ไม่ควรยอมจำนนต่อชีวิตเลยเป็นอันขาด ทั้ง ๆ ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ในบางเรื่อง ดังตัวอย่างซึ่งผู้เขียนรวบรวมเป็นตัวอย่างเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
บรรทัด 149:
 
== อภิจริยศาสตร์ ==
รัสเซลรัสเซลล์ทั้งเขียนและปฏิบัติในการผลักดันให้จริยศาสตร์สมบูรณ์ขึ้นสู่ระดับอุดมคติตามความคิดของท่าน จึงนับว่าเป็นนักจริยศาสตร์ที่สำคัญคนหนึ่ง แต่ในทางทฤษฎีความสำคัญของท่านอยู่ในประเภทอภิจริยศาสตร์ (metaethics) คือตั้งปัญหาค้นคว้าพื้นฐานของหลักจริยศาสตร์โดยตรง เช่น ทำไมหลักจริยธรรมต่าง ๆ กัน ข้อสรุปทางจริยธรรมอนุมานจากข้ออ้างธรรมดา ๆ ได้หรือไม่ เป็นต้น
 
=== ความคิดระยะต้น ===
บรรทัด 158:
ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2464]] (ค.ศ. 1921) เป็นต้นมา รัสเซลเปลี่ยนแนวความคิดเป็นอัตนัยนิยม โดยแถลงว่า ถ้าสองคนคิดต่างกันเกี่ยวกับคุณค่า มิใช่ว่าความคิดของเขาขัดแย้งกันเรื่องความจริง แต่เป็นเรื่องของรสนิยมต่างกัน
 
อัตนัยนิยมของรัสเซลรัสเซลล์ เป็นไปในทางรูปทฤษฎีอาเวค (emotive theory) คือ ถือว่าข้อตัดสินทางศีลธรรม (moral judgement) และกฎจริยธรรมทั้งหลายมิใช่เป็นคำสั่งจริง ๆ แต่เป็นเพียงการแสดงความปรารถนาของผู้พูด (expression of desire) เช่น เมื่อข้าพเจ้ากล่าวว่าเกลียดชังกันเป็นสิ่งเลว ความจริงข้าพเจ้าต้องการจะกล่าวว่า ขออย่าให้มีการเกลียดกันเลย ข้าพเจ้ามิได้ยืนยันอะไร ข้าพเจ้าเพียงแต่แสดงความปรารถนาออกมาอย่างหนึ่งเท่านั้น
 
รัสเซลแยกความปรารถนาออกเป็นสองประเภท คือ ความปรารถนาส่วนตัว (personal desire) และความปรารถนาส่วนรวม (impersonal desire) หลักจริยธรรมเป็นความปรารถนาประเภทหลัง คือ ปรารถนาให้เป็นกฎเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป รัสเซลยกตัวอย่างดังนี้ กษัตริย์องค์หนึ่งตรัสว่า “กษัตราธิปไตยดีกว่าสาธารณรัฐ” ถ้าพระองค์ตรัสด้วยหลักการและเชื่อมั่นว่าสังคมต้องการเช่นนี้จริง ๆ ก็เป็นความปรารถนาส่วนรวม เป็นหลักจริยธรรม อย่างไรก็ดี ในความปรารถนาส่วนรวมก็มีความปรารถนาส่วนตัวรวมอยู่ด้วย เช่น ความปรารถนาในฐานะที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นความปรารถนาส่วนตัว แต่เป้าหมายของความปรารถนาเป็นความปรารถนาส่วนรวม
บรรทัด 229:
คงจะไม่มีใครชื่นชมยินดีหากบรรดาแพทย์ทั้งหลายต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติของผู้มีอำนาจที่ไม่เคยรู้เรื่องแพทย์มาก่อน มาบงการให้เยียวยารักษาผู้ป่วย ครูก็เช่นเดียวกันกับแพทย์ในการเยียวยารักษาผู้ป่วย (นักเรียน) ให้หายจากโรคโง่เง่า แต่ครูกลับไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเสรีภาพให้ใช้วิจารณญาณ และประสบการณ์ตลอดจนความรู้ความสามารถของตนตัดสินว่า ควรใช้วิธีแบบไหนจึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก แม้แต่ในระดับมหาวิทยาลัย ก็มีอยู่เพียงสองสามแห่งเท่านั้นที่ยังคงหวงแหนและธำรงสิทธิแห่งการตัดสินใจด้วยตนเองเอาไว้ แต่สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ได้ถูกควบคุมโดยคณะบุคคลที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการสอนอย่างเพียงพอ รัสเซลเห็นว่า มีอยู่ทางเดียวเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ได้ คือต้องออกกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพของครูให้มากที่สุดเท่านั้น
 
== รัสเซลรัสเซลล์กับการนับถือศาสนา ==
คนจำนวนมากมองรัสเซลว่าเป็นคนไร้ศาสนา เป็นนักต่อต้านศาสนา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคำพูดแบบเถรตรงของเขานั่นเอง ที่ไปกระทบกระทั่งคนเหล่านั้นเข้า เป็นต้นว่า ''“ถ้าตลอดชีวิตของท่าน ท่านงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมย การผิดประเวณี การกล่าวคำเท็จ คำผรุสวาส หรือท่านมีความเคารพนับถือบิดา มารดา ศาสนา พระมหากษัตริย์ของท่าน ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ท่านเป็นคนดีสมควรได้รับการยกย่องนับถือ มีศีลธรรม ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เคยได้ทำความดีหรือทำอะไรให้เป็นประโยชน์เลยแม้ครั้งเดียว การมองคุณงามความดีในลักษณะเช่นนี้ ยังหาเพียงพอไม่”''
 
ตัวรัสเซลเองนั้นรัสเซลล์เองนั้น มิได้นับถือศาสนาหรือพระเจ้า แต่เขาก็มิได้ทำการต่อต้านศาสนาและพระเจ้า หากแต่เขามีความสงสัยว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ และเขายังยอมรับคำสอนของพระเยซูที่สอนให้มนุษย์รักกัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตังเขาเองก็มุ่งมั่นที่จะชี้นำทางแห่งความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เขากล่าวว่า คนที่ไม่เสียสติย่อมเห็นพ้องต้องกันว่า การมีชีวิตอยู่ย่อมดีกว่าการตาย มีอาหารกินดีกว่าอดอยาก และมีอิสรภาพดีกว่าตกเป็นทาสและถูกจองจำ หลายคนต้องการความสุขเพื่อตนเองและพวกพ้อง ทั้งยังมีความรู้สึกพึงพอใจเมื่อได้เห็นความทุกข์ของผู้อื่น และพยายามจะเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นเมื่อมีโอกาส แต่ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีมากขึ้น และได้ยืนยันแล้วว่า พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ถูกต้องเพราะมนุษยชาติจำต้องอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น การที่จะแสวงหาความสุขถ่ายเดียวโดยมิได้สร้างความสุขให้แก่ผู้อื่นนั้น ผู้นั้นไม่อาจมั่นใจในความสุขของตนได้เลย ดังนั้นถ้าทุกคนปรารถนาความสุข ก็จงหาทางทำให้ผู้อื่นมีความสุขด้วย
 
แม้ว่ารัสเซลรัสเซลล์มิได้นับถือศาสนาตามนิตินัย แต่โดยพฤตินัยแล้ว เขาเป็นคริสเตียนมากกว่าชาวคริสต์อีกหลายคน โดยเฉพาะในเรื่องคำสอนที่ให้มนุษย์มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของพระเยซูในเรื่องบาป ซึ่งเขาเห็นว่าคำๆ นี้ถูกนำมาใช้กันจนเฟ้อ จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญไปเสียแล้ว และก็ยังไม่มีใครให้อรรถาธิบายได้ถูกต้องว่าบาปคืออะไร หากแต่ช่วยกันทำให้เกิดความรู้สึกในลักษณะของความกลัว ความสงสัยและความเกลียดเท่านั้น เขากล่าวย้ำอยู่เสมอว่า ตัวเขาเองสงสัยในพระเจ้าว่ามีอยู่จริงหรือไม่และไม่เชื่อว่าพวกคริสเตียนจะเข้าใจดีว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว เขาเห็นว่าคำสอนของพระเยซูที่ว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกัยปัญหาทางเทววิทยาบางอย่างที่ไม่สามารถเข้าใจได้ ควรจะได้รับการทรมานจนตายนั้น เป็นเรื่องเหลวไหล และการที่เขามีความสงสัยในพระเจ้านั้นมิได้ถือว่าเป็นบาปตามคำอ้างของพวกคริสเตียน เขาถือว่าการประณามเช่นนั้นเป็นเรื่องของคนงมงายเสียมากกว่า
 
เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้รัสเซลรัสเซลล์ไม่นับถือศาสนา คือเรื่องของคำสอนต่างๆ ทางศาสนา ซึ่งเขาเห็นว่ามันไม่เหมาะกับยุคสมัยของสังคมปัจจุบัน เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนความเชื่อทันที หากได้พบว่าความรู้ใหม่และเชื่อถือได้มากกว่าความรู้เดิม แต่ก็มีอยู่ไม่ใช่น้อยที่ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด ยังคงยึดมั่นอยู่ในหลักปรัชญาของตน เช่นเดียวกันในเรื่องของศาสนา ยังมีคนส่วนใหญ่ที่หลงยึดมั่นในศาสนา นักศาสนศาสตร์มักจะยกคำสอนในคัมภีร์ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อหลายศตวรรษมาแล้ว มากล่าวอ้างว่าเป็นอมตสัตย์ แต่ก็ไม่เคยมีใครคิดจะเปลี่ยนแปลงหรือทำการสังคายนาศาสนาก็สักที การที่จะหลงเชื่ออะไรนั้น ควรพิจารณาให้ท่องแท้เสียก่อน เขากล่าวว่า ถ้าความเชื่อนั้นตั้งอยู่บนรากฐานของเหตุผลที่ดี ก็จงสนับสนุนความเชื่อนั้นโดยพยายามหาข้อโต้แย้ง แทนที่จะหลงเชื่ออย่างงมงาย และหากข้อโต้แย้งนั้นมีน้ำหนักมากพอ ก็จงเลิกเชื่อในสิ่งเดิมนั้นเสีย แต่หากเชื่อเพราะแรงศรัทธา ข้อโต้แย้งก็จะหาประโยชน์มิได้ ความเชื่อเช่นนนี้มักจะนำไปสู่ความงมงายและยังเป้นการปิดกั้นความรู้สึกนึกคิดของคนหนุ่มสาวอีกด้วย
 
รัสเซลกล่าวว่ารัสเซลล์กล่าวว่า ''“[[พระพุทธศาสนา]]เป็นการรวมกันของปรัชญาแบบเก็งความจริงกับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมายปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังนำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของ พระพุทธศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”''
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==