ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเติร์กเมน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
ภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนเสียงสระ เป็นภาษารูปคำติดต่อและไม่มีการแบ่งเพศทางไวยากรณ์และไม่มีกริยาอปกติ การเรียงลำดับคำในประโยคเป็นประธาน-กรรม-กริยา การเขียนของภาษาเติร์กเมนใช้ตามสำเนียงโยมุด และยังมีสำเนียงอื่นๆอีกมาก สำเนียงเตเกมักจะถูกอ้างว่าเป็น[[ภาษาชะกะไต]]โดยเฉพาะในอัฟกานิสถาน แต่ภาษาเติร์กเมนทุกสำเนียงได้รับอิทธิพลจากภาษาชะกะไตไม่มากนัก
 
== วรรณคดี ==
กวีที่มีชื่อเสียงของภาษาเติร์กเมนคือ Magtymguly Pyragy ซึ่งมีชีวิตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ภาษาของเขาเป็นการแสดงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างภาษาชะกะไตและภาษาเติร์กเมนที่เป็นภาษาพูด
== ระบบการเขียน ==
อย่างเป็นทางการ ภาษาเติร์กเมนในปัจจุบันเขียนด้วยอักษรใหม่หรืออักษรละติน อย่างไรก็ตาม อักษรยุคเก่าหรืออักษรซีริลลิกยังคงใช้อยู่ พรรคการเมืองหลายพรรคที่ต่อต้านนโยบายของประธานาธิบดีนิกาเยฟยังคงใช้อักษรซีริลลิกในเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์
 
ก่อน พ.ศ. 2472 ภาษาเติร์กเมนเคยเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ใน พ.ศ. 2472 - 2481 เปลี่ยนมาใช้อักษรละติน แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกในช่วง พ.ศ. 2481 - 2534 แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรละตินที่ใช้ในปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ
== ไวยากรณ์ ==
=== การเปลี่ยนเสียงสระ ===
เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ ภาษาเติร์กเมนมีการเปลี่ยนเสียงสระ โดยทั่วไป ถ้าเป็นคำดั้งเดิมในภาษาจะประกอบด้วยสระหน้าหรือสระหลังเท่านั้น คำอุปสรรคและปัจจัยจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเสียงสระนี้ โดยจะเปลี่ยนรูปไปตามคำที่เข้าประกอบ รูปกริยาแท้ของคำจะถูกจำแนกตามสระหย้าและสระหลัง คำที่มีที่มาจากภาษาอื่น ส่วนใหญ่เป็นภาษารัสเซีย [[ภาษาเปอร์เซีย]]หรือ[[ภาษาอาหรับ]]จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระ
=== คำกริยา ===
คำกริยาแบ่งเป็นรูปเอกพจน์และพหูพจน์ แบ่งตามบุรุษเป็นบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีการกของคำกริยา 11 การก มีคำกริยาสองชนิดในภาษาเติร์กเมนซึ่งแบ่งตามรูปของกริยาแท้ที่ลงท้ายด้วย -mak และ -mek โดย -mak จะตามรูปสระหลังส่วน -mek จะตามรูปสระหน้า
=== ปัจจัย ===
ปัจจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของภาษาเติร์กเมน
 
== เสียง ==