ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกลางเมืองอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: fy:Ingelske boargeroarloch
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
หลังจากนั้นพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงเลี่ยงการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นเวลากว่าสิบปีซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า “[[สมัยการปกครองส่วนพระองค์|สิบเอ็ดปีแห่งความกดขี่]]” (Eleven Years' Tyranny) ในช่วงเวลานี้พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงสามารถหาเงินได้ง่ายๆ โดยปราศจากรัฐสภา แต่ก็ทรงหันไปหาวิธีอื่นในการหาเงินเข้าท้องพระคลัง เช่นการนำกฎหมายโบราณออกมารื้อฟื้นใช้ในการเรียกค่าปรับจากขุนนางผู้มิได้เข้าร่วมในพิธีราชาภิเษกของพระองค์ก่อนหน้านั้น นอกจากนั้นก็ยังทรงพยายามโดยการเก็บ[[ภาษีเรือ]]ที่เรียกร้องเก็บภาษีจากแคว้นต่างๆ ที่ไม่อยู่ติดทะเลสำหรับ[[ราชนาวีอังกฤษ]] บางคนก็ต่อต้านไม่ยอมจ่ายภาษีที่ว่าเพราะถือว่าเป็นภาษีที่ผิดกฎหมายแต่ก็ไปแพ้ในศาลซึ่งก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเพิ่มความไม่พอใจในวิธีการปกครองของพระองค์มากยิ่งขึ้น
 
ระหว่างการเก็บภาษีแล้ว ใน “[[สมัยการปกครองส่วนพระองค์]]” พระเจ้าชาร์ลส์ก็ยังทรงก่อให้เกิดความขัดแย้งทางศาสนา โดยการที่ทรงมีพระประสงค์ที่จะแยกนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ให้ใกลจาก[[ลัทธิคาลวินิสม์]]มากขึ้น ไปทางที่ใช้ระบอบประเพณีทางศาสนาเช่นที่ใกล้เคียงกับธรรมเนียมโบราณมากขึ้นกว่าที่ปฏิบัติกันใน[[ลัทธิคาลวินิสม์]]<ref name="spiritus-temporis">{{cite web|url=http://www.spiritus-temporis.com/charles-i-of-england/|title=พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ|publisher=Spiritus-temporis.com|accessdate=2008-04-24}}</ref> พระประสงค์นี้ได้รับการสนับสนุนโดยอัครบาทหลวง[[วิลเลียม ลอด]]ที่ปรึกษาทางการเมืองส่วนพระองค์ ผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระเจ้าชาร์ลส์เองให้เป็น[[อัครบาทหลวงอาร์ชบิชอปแห่งแคนเตอร์บรี]] ในปี [[ค.ศ.1633]]<ref name="WilliamLaud-BCW">{{cite web|url=http://www.british-civil-wars.co.uk/biog/laud.htm|title=อัครบาทหลวงวิลเลียม ลอด, ค.ศ. 1573-ค.ศ. 1645|publisher=British-civil-wars.co.uk|accessdate=2008-04-24}}</ref><ref name="Nndb.com">{{cite web|url=http://www.nndb.com/people/435/000107114/|title=วิลเลียม ลอด|publisher=Nndb.com|accessdate=2008-04-24}}</ref> และทรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เป็นการพยายามเพิ่มอำนาจให้แก่นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์มากขึ้น อัครบาทหลวงลอดพยายามทำให้สถาบันศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยการปลดนักบวชที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายและปิดองค์การต่างๆ ของ[[กลุ่มเพียวริตัน]] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นการต่อต้านนโยบายการปฏิรูปศาสนาของประชาชนทั้งใน[[ราชอาณาจักรอังกฤษ]]และ[[ราชอาณาจักรสกอตแลนด์]] พระราชนโยบายของพระองค์เป็นนโยบายที่ค้านกับปรัชญาของ[[ลัทธิคาลวินิสม์]]ที่ต้องการให้[[นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์]]ทำพิธีศาสนาเช่นที่ระบุไว้ใน “[[หนังสือสวดมนต์สามัญ]]” (Book of Common Prayer) นอกไปจากนั้นอัครบาทหลวงลอดก็ยังนิยมคริสต์ศาสนปรัชญาของ[[ลัทธิอาร์มิเนียนนิสม์]] (Arminianism) ของ[[จาโคบัส อาร์มิเนียส]] (Jacobus Arminius) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ผู้เคร่งครัดในลัทธิคาลวินิสม์ถือว่าแทบจะเป็นปรัชญาของ “โรมันคาทอลิก”
 
เพื่อจะเป็นควบคุมผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อการเปลี่ยนแปลง อัครบาทหลวงวิลเลียม ลอดตั้งระบบศาลที่เป็นที่น่ายำเกรงขึ้นสองศาล “[[:en:Court of High Commission|Court of High Commission]]” และ “[[:en:Star Chamber|Court of Star Chamber]]” เพื่อใช้ในการลงโทษผู้ที่ไม่ยอมรับการปฏิรูป ศาลแรกมีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหาให้การที่ทำความเสียหายต่อตนเองได้ ศาลหลังมีอำนาจออกบทลงโทษใดๆ ก็ได้รวมทั้งการทรมานยกเว้นแต่เพียงการประหารชีวิตเท่านั้น