ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนักบวชคาทอลิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''คณะนักบวชคาทอลิก''' ({{lang-en|Catholic religious order}}) คือองค์กรของชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้[[คริสตจักรโรมันคาทอลิก]]อย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็น'''คณะนักบวช''' ('''Order''' หรือ; '''Society''' หรือ; '''Congregation''') โดยคณะนักบวชแต่ละคณะจะมีแนวทางการทำงาน และเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป
 
นอกจากจะเรียกว่าคณะนักบวชแล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังบัญญัติให้เรียกว่า '''คณะนักพรต'''และ'''คณะนักบวชถือพรต''' ได้ โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน
<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2</ref>
 
==การเข้า ประเภทของคณะนักบวช ==
คณะนักบวชคาทอลิกแบ่งได้เป็นหลายประเภทตาม[[พระพรพิเศษ]] [[จิตภาพ]] และ[[พันธกิจ]] ซึ่งแต่ละคณะมีแตกต่างกัน โดยคร่าวๆ แบ่งได้ดังนี้
* [[คณะนักบวชอารามิก]] (monastic order) เช่น [[คณะเบเนดิกติน]] [[คณะคาร์ทูเซียน]] [[คณะซิสเตอร์เชียน]]
* [[คณะนักบวชภิกขาจาร]] (mendicant order) เช่น [[คณะฟรันซิสกัน]] [[คณะดอมินิกัน]] [[คณะออกัสติเนียน]] [[คณะคาร์เมไลท์]]
* [[คณะนักบวชธรรมทูต]] (missionary order) เช่น [[คณะเยสุอิต]] [[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส]]
* [[คณะนักบวชการสอน]] (teaching order) เช่น [[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] [[คณะซาเลเซียน]]
 
== การเข้าคณะนักบวช ==
ชายหรือหญิงที่ปรารถนาจะเข้าเป็นนักบวชไม่ว่าสังกัดในคณะใด ต้องติดต่อกับคณะนั้น โดยทั่วไปนักบวชจะต้องปฏิญาณตน 3 ข้อเป็นพื้นฐาน<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/> คือ 1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (คืออธิการคณะ) 2. ถือโสดตลอดชีวิต 3. ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ นอกจาก 3 ข้อนี้แล้วผู้สมัครยังต้องปฏิญาณข้ออื่นๆ อีกตามแต่ละคณะจะกำหนดไว้ และยังต้องรักษา'''วินัยประจำคณะ''' (Religious rule) ซึ่งจะแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน วินัยเหล่านี้เป็นที่อนุมัติของ[[สันตะสำนัก]]
 
เส้น 11 ⟶ 18:
เมื่อเป็นนักบวชในคณะโดยสมบูรณ์แล้ว นักบวชจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในสังกัดคณะตลอด เว้นแต่จะละเมิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกขับออกจากคณะ ส่วนคณะก็ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ขอปงนักบวชในทุกด้าน ทั้งที่พักอาศัย (ซึ่งนักบวชจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในอาราม หรือบ้านพักของคณะ) ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>
 
== ความแตกต่างระหว่างบาทหลวงกับนักบวช ==
'''[[บาทหลวง]]''' (priest) และ'''นักบวช''' (the religious) มีลักษณะแตกต่างกัน บาทหลวงคือ'''ชาย'''ที่ได้รับ[[ศีลอนุกรม]] (Holy order) ถึงขึ้นที่ 7 ซึ่งเรียกว่า'''ศีลสถาปนา''' (ordination) ทำให้มีสถานะเป็นบาทหลวง มีอำนาจสามารถโปรด[[ศีลศักดิ์สิทธิ์]] (Sacrament) ต่างๆ ได้ตามที่ศาสนจักรกำหนดไว้ เช่น ศีลล้างบาป ศีลกำลัง ศีลอภับาป เป็นต้น บาทหลวงจะถูกเรียกว่า “'''คุณพ่อ'''” (Father) แต่นักบวชมีสถานะโดยเบื้องต้นแค่ผู้ถือพรต ไม่สามารถโปรดศีลได้ ชาวคาทอลิกจะเรียกนักบวชชายว่า “'''บราเดอร์'''” (Brother) และนักบวชหญิงว่า “'''ซิสเตอร์'''” (Sister) อย่างไรก็ตามนักบวชชายบางคนในบางคณะอาจขอรับศีลบวชเป็นบาทหลวงได้ ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสถานะเป็นทั้งนักบวชและบาทหลวง (เรียกว่า Regular priest)<ref name="แก่นปรัชญายุคกลาง">กีรติ บุญเจือ, ''แก่นปรัชญายุคกลาง'', จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550</ref> สามารถประกอบพิธีอย่างบาทหลวงที่ไม่ได้สังกัดคณะนักบวช (Secular priest) ได้ทุกประการ ต่างแต่เพียงบาทหลวงที่ไม่ได้เป็นนักบวชจะต้องทำงานให้[[เขตมิสซัง]]ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนนักบวชแม้ว่าเป็นบาทหลวงแล้วก็ยังต้องสังกัดคณะนักบวชต่อไป
 
== คณะนักบวชคาทอลิกในประเทศไทย ==
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อคณะนักบวชนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย}}
นับตั้งแต่มีการเผยแผ่[[คริสต์ศาสนา]][[นิกายโรมันคาทอลิก]]ในประเทศไทย ก็ได้มีคณะนักบวชคาทอลิกจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาทำงานมากมาย จนต่อมามีการตั้งคณะนักบวชคาทอลิกท้องถิ่นขึ้นและยังทำงานรับใช้ศาสนจักรในประเทศไทยมาจนปัจจุบัน