ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรมันคาทอลิกในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
'''ยุคปาโดรอาโด''' (Padroadro) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2054 - 2212 (ค.ศ. 1511 – 1669)
 
'''ปาโดรอาโด''' เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคริสตจักรคาทอลิกกับรัฐคาทอลิกในยุโรป ให้รัฐเหล่านั้นมีอำนาจในการบริหารและสนับสนุนคริสตจักรภายในเขตอธิปไตยของตน เมื่อ[[โปรตุเกส]]และ[[สเปน]]ขยายอาณานิคมไปทั่วโลก ทำให้สิทธิ์ตามสัญญานี้ขยายไปทั่วโลกไปด้วย และทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างทั้งสองรัฐเพราะต่างก็ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตน [[สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6]] จึงทรงให้แบ่งโลกเป็นสองส่วน แล้วยกดินแดนซีกโลกตะวันออกทั้งหมดให้โปรตุเกสมีอำนาจปกครองทั้งทางการเมืองและทางศาสนา<ref name="การเผยแพร่ศาสนาคริสต์กับการตอบสนองของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่าง ค.ศ.1511 – 1990">เคียว อุค ลี, ''การเผยแพร่ศาสนาคริสต์กับการตอบสนองของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่าง ค.ศ.1511 – 1990'', วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539, หน้า 71 -2</ref> แต่เนื่องจากโปรตุเกสเป็นชาติเล็ก มีประชากรน้อย การปกครองอาณานิคมจำนวนมากจึงต้องอาศัยอาสาสมัครจากต่างชาติเข้าร่วม รวมทั้งงานด้านศาสนาด้วย คริสต์ศาสนาซึ่งเข้าสู่สยามครั้งแรกจึงเป็นนิกายคาทอลิกโดยโปรตุเกส และปรากฏหลักฐานว่ามี[[มิชชันนารี]]คู่แรกเป็น[[บาทหลวง]][[คณะดอมินิกัน]] 2 ท่าน คือบาทหลวง เยโรนีโมแห่งไม้กางเขน (Jeronimo da Cruz) และบาทหลวง เซบาสตีอาวแห่งกันโต (Sebastiao da canto) ซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2140 (ค.ศ. 1567) <ref name="พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์">Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์'', เรือง อาภรณ์รัตน์ และ อากาทา จิตอุทัศน์ แปล, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ, 2542, หน้า 44</ref> ทั้งสองทำหน้าที่สอนศาสนาให้ชาวโปรตุเกสรวมทั้งชาวพื้นเมืองที่เป็นภรรยา เมื่อท่านทั้งสองเริ่มมีอิทธิพลในสังคมไทยก็ถูกชาวมุสลิมที่อิจฉาริษยาทำร้ายร่างกาย<ref name="แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป">มาโนช พุ่มไพจิตร, ''แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป'', เชียงใหม่: หน่วยงานเผยแพร่ข่าวประเสริฐ, 2548, หน้า 90</ref> บาทหลวงเยโรนีโมเสียชีวิต ส่วนบาทหลวงเซบาสตีอาวบาดเจ็บสาหัส จึงขอพระบรมราชานุญาตพามิชชันนารีจากมะละกามาเพิ่มเติม ต่อมาจึงมีมิชชันนารี 3 คนทำงานในสยาม ต่อมามิชชันนารีทั้งสามคนเสียชีวิตพร้อมกันเพราะถูกทหารพม่าฆ่าตายขณะกำลังอธิษฐานในอยู่ในโบสถ์คราวเสียกรุงคร้งที่ 1 ปี ค.ศ. 1569
 
เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ ก็มีมิชชันนารีซึ่งเป็นนักพรตและนักบวชจาก[[คณะนักบวชคาทอลิก]]ต่างๆ เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในสยาม เช่น คณะดอมินิกัน (ซึ่งเข้ามาก่อนแล้ว) [[ลัทธิฟรานซิสกัน|คณะฟรันซิสกัน]] (ในปี พ.ศ. 2125 หรือ ค.ศ. 1582) [[คณะเยสุอิต]] (พ.ศ. 2150 หรือ ค.ศ. 1607) [[คณะออกัสติเนียน]] (พ.ศ. 2220 หรือ ค.ศ. 1677)
 
แม้ว่าจะพยายามเผยแพร่คริสต์ศาสนาในกลุ่มชาวสยาม แต่เนื่องจากปัญหาด้านภาษา และขาดความเข้าใจเรื่องสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบกับการดำเนินงานภายใต้สิทธิปาโดรอาโดของโปรตุเกสมีข้อจำกัด คือมิชชันนารีในอาณัติมีแตกต่างกันไปหลายเชื้อชาติและคณะ ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นเอกภาพ และมีการวิวาทกันเองบ่อยครั้ง ทำให้การแผยแพร่กับคนสยามในระยะนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหล่ามิชชันนารีจึงหันไปมุ่งงานอภิบาล (pastoral work) คนในอาณัติโปรตุเกสแทน<ref>มาโนช พุ่มไพจิตร, ''แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป'', หน้า 87</ref>
 
ปัญหาข้างต้นทำให้สันตะสำนักหาทางแก้ปัญหาโดยตั้ง[[สมณะกระทรวงเพื่อการเผยแพร่ความเชื่อ]] (Sacred Congregation for the EvangelizationPropagation of Peoplesthe Faith) หรือ '''โปรปากันดา ฟีเด''' (Propaganda Fide) เพื่อให้การเผยแพร่ศาสนาและปกครองคริสจักรที่สิทธิ์ปาโดรอาโดยังไปไม่ถึงได้ขึ้นกับสมณะกระทรวงนี้แต่เพียงแห่งเดียวโดยตรง และเมื่อทราบว่าคริสตจักรทาง[[ตะวันออกไกล]]ต้องการประมุขมิสซังไปปกครอง [[สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10]] จึงแต่งตั้งบาทหลวง 3 ท่านเป็น[[มุขนายกเกียรตินาม]] (titular bishop) และ[[ประมุขมิสซัง]]ต่างๆ ดังนี้
 
* [[ฟร็องซัว ปาลูว์]] (Francois Pallu) เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซัง[[ตังเกี๋ย]] โดยรวมลาวและห้ามณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนอยู่ในปกครองด้วย
บรรทัด 26:
* 1.ตั้ง[[คณะนักบวชคาทอลิก]]ท้องถิ่นทั้งชาย – หญิง งานเผยแพร่ศาสนา จะตั้งชื่อว่า คณะรักไม้กางเขนแห่งพระเยซูคริสต์
* 2.พิมพ์คำสอนเผยแพร่
* 3.ตั้ง[[บ้านเสมินาร์เซมินารี]] (Seminary) เพื่อฝึกหัดชายท้องถิ่นที่ศรัทธา อ่านภาษาลาตินได้ เป็น[[บาทหลวง]]
การเผยแพร่ศาสนาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับมิชชันนารีฝ่ายปาโดรอาโด มุขนายก ล็องแบร์จึงส่งบาทหลวง ฌ็อง เดอ บูร์ชไปแจ้งปัญหาแก่สันตะสำนัก ในที่สุดโรมจึงตั้ง'''มิสซังสยาม'''ขึ้นในปี พ.ศ. 2212 (ค.ศ. 1669) ให้อยู่ภายใต้การปกครองของประมุขมิสซังซึ่งพระคุณเจ้าทั้งสองเลือกเอง จึงถือเป็นการสิ้นสุดยุคปาโดรอาโด