ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมนาไซด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sooo20036 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|โมนาไซด์thumb|แร่โมนาไซด์ '''โมนาไซต์''' (Monaz...
 
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
{{ต้องการหมวดหมู่}}
[[ไฟล์:Monazite.JPG|thumb|โมนาไซด์]][[ไฟล์:Monazite0.JPG‎ |thumb|แร่โมนาไซด์]]
'''โมนาไซต์''' ({{lang-en|Monazite}})<ref>[http://203.185.68.133/thai-atom/OFFICE/data05_14_12.html แร่โมนาไซต์ (Monazite)]</ref> เป็น[[แร่กัมมันตรังสี]] (Radioactive mineral) ชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่ม[[แร่ธาตุหายาก]] (Rare-earths) โดยเป็นแร่ในกลุ่มฟอสเฟสธาตุฟอสเฟสธาตุ[[ทอเรียม]]และ[[ยูเรเนียม]] เป็นองค์ประกอบสำคัญ )<ref>[http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=581&filename=min5 โมนาไซต์ (Monazite)]</ref><ref>[http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81 Monazite]</ref>
 
=='''คุณสมบัติทางฟิสิกส์'''==
เกิดอยู่ในระบบผลึก Monoclinic โดยผลึกที่พบมักมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นมวลเมล็ดไม่แสดงรูปผลึกหรือแสดงรูปผลึกไม่ชัดเจน มีสีเหลืองน้ำตาลเหลือง น้ำตาลแดง ส่วนใหญ่มักอมเขียวหรือบางครั้งเกือบขาว ความวาวของผิวแร่คล้ายขี้ผึ้งจนถึงคล้ายแก้ว โปร่งแสง ความถ่วงจำเพาะ 4.6-5.4 โดยเพิ่มขึ้น ตามปริมาณธาตุทอเรียม ภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลต คลื่นสั้นจะให้สีเขียวสามารถตรวจวัดกัมมันตรังสีได้ด้วยเครื่อง Geiger Counter หรือเครื่อง Survey Meter มีคุณสมบัติติดแม่เหล็กอย่างอ่อนและไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า<ref>[http://203.185.68.133/thai-atom/OFFICE/data05_14_12.html แร่โมนาไซต์ (Monazite)]</ref>
 
=='''คุณสมบัติทางเคมี'''==
สูตร (Ce, La, Y, Th)Po4 ธาตุ Th ประกอบอยู่ ในรูป ThO2 ตั้งแต่ 2-20% อัตราส่วน ของ Ce : La ~ 1:1, Th มักแทนที่ Ce,La ได้เสมอ ตั้งแต่ ปริมาณเล็กน้อย ไปจนถึง 10-20% ของ ThO2 ส่วนธาตุ Y แทนที่ Ce,La ได้เล็กน้อย ซิลิก้า (SiO4) มักปนอยู่ด้วย และรวมอยู่ ในรูป Thorite (ThSiO4) หัวแร่ โมนาไซต์ สะอาด จะมีผลวิเคราะห์ ของ Rare-earth Oxides + Thoria (REO+ Thoria) ตั้งแต่ 55% ขึ้นไป<ref>[http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=581&filename=min5 Monazite]</ref>
 
=='''การกำเนิด'''==
โดยทั่วไปแร่โมนาไซต์พบเกิดเป็นแร่รองในหินแกรนิต ไนส์ แอไพลต์ และเพกมาไทต์ มักพบในลักษณะเป็นเม็ดขนาดเม็ดทราย แสดงรอยถูกครูดเพราะการผุสลายของหินที่กล่าวข้างต้น แล้วถูกพัดพามาสะสมตัวอยู่ร่วมกับแร่หนักชนิดอื่นๆ เช่น แมกนีไทต์ ดีบุก โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ อิลเมไนต์ รูไทล์ การ์เนต ซีโนโทม์ อิลเมนไนต์และเซอร์คอน
 
=='''แหล่งที่พบ'''==
ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในแหล่งแร่ดีบุกเกือบทุกแหล่ง ทั้งแหล่งลานแร่บนบก พบตามหาดทรายและตามท้องน้ำลำธารทั่วไปที่ใกล้ภูเขาหินแกรนิต หรือหินไนส์ อย่างไรก็ตาม ความสมบูรณ์ของแร่โมนาไซต์ เมื่อเทียบกับแร่ดีบุกแล้วต่ำมาก จากตัวอย่างหลุมสำรวจอาจเจอแร่โมนาไซต์ ตั้งแต่เพียงร่องรอย (Trace) หรือในปริมาณ ที่ต่ำกว่า 0.001% ในขณะที่แร่ดีบุก มีความสมบูรณ์พอที่จะทำเหมืองได้ตั้งแต่ 0.012% ขึ้นไป
 
=='''ปริมาณสำรอง'''==
แร่โมนาไซต์ จากการทำเหมืองแร่ดีบุกไม่อาจคำนวณได้โดยตรง จากความสมบูรณ์ของแหล่งแร่ในพื้นที่เดิม เนื่องจากผู้ประกอบการเหมืองแร่ดีบุก ก่อนเปิดการทำเหมือง มักเจาะสำรวจหาแต่ความสมบูรณ์ของแร่ดีบุกเป็นหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตามเราอาจประเมินปริมาณ แร่พลอยได้ ชนิดต่างๆ จากแร่ดีบุกได้คร่าวๆ จากการวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ของแร่ขั้นต้น จากเหมืองและผลผลิตเฉลี่ยของแร่ดีบุกแต่ละเดือน โดยทั่วไปแล้วการเก็บข้อมูล จากปริมาณมูลแร่หนักหรือแร่คละของเหมืองและโรงแต่งแร่ จะทำให้ทราบปริมาณสำรองของแร่โมนาไซต์และแร่อื่นๆได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น จากการสำรวจของสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ภูเก็ต) เมื่อปี 2530 ถ้าจำนวนเหมืองแร่ดีบุก ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และชุมพร อยู่ระหว่าง 60-70 เหมือง จะได้ปริมาณแร่โมนาไซต์ จากการทำเหมืองแร่ดีบุกขณะนั้น ประมาณ 179-202 ตัน/ปี และปริมาณสำรองของแร่โมนาไซต์ จากกองมูลแร่หรือแร่คละมีมากกว่า 1,180 เมตริกตัน แร่โมนาไซต์ของประเทศไทยเคยมีผลผลิตและส่งออกเป็นปริมาณมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2515-2517 แต่เมื่อ พ.ศ. 2523 รัฐบาล ได้มีนโยบายห้ามส่งออกแร่โมนาไซต์ จนกระทั่งกลางปี พ.ศ. 2527 จึงได้ยกเลิกข้อห้ามอันนี้ และทำให้มีการผลิตและส่งออกแร่โมนาไซต์อีกครั้งหนึ่ง
 
=='''ผลผลิต'''==
โมนาไซต์เป็นแร่พลอยได้จากการทำเหมืองแร่ดีบุก เช่นเดียวกับแร่หนัก หรือแร่หายากชนิดอื่น ๆ ในอดีตเคยมีการผลิตแร่โมนาไซต์โดยการแต่งแร่ดีบุกจากจังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ระยอง และเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2533 ประเทศไทยผลิตแร่โมนาไซต์ได้ 377 เมตริกตัน มูลค่า 5 ล้านบาท จากนั้นมา ผลผลิตลดต่ำลงตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2541 ผลิตได้ 12 เมตริกตัน 0.1 ล้านบาท โดยที่ในปี พ.ศ. 2539-2540 ไม่มีสถิติการผลิต
 
=='''ประโยชน์'''==
โมนาไซต์เป็นแร่สำคัญที่ให้ทอเรียมออกไซด์ รวมถึงธาตุหายากชนิดเบา ได้แก่ ซีเรียม และแลนทานัม ทอเรียม เป็นธาตุกัมมันตรังสี คือ 232Th โลหะทอเรียมและทอเรียมออกไซด์มีจุดหลอมตัวที่สูงมาก จึงนำมาใช้ทำวัสดุที่ทนความร้อนสูง เช่น ใส้หลอดไฟฟ้า ใส้หลอดตะเกียงเจ้าพายุ ทำขั้วถ่านกำเนิดแสงจากการนำประจุไฟฟ้ามาชนกัน (arc light) ธาตุหายากที่เกิดร่วมยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นตัวเร่งปฏิกริยาการแตกตัวของปิโตรเลียมเหลว นอกจากนี้ยังใช้ทำสารประกอบสำหรับขัดแก้ว และสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมแก้ว ทำแม่เหล็กถาวร อุปกรณ์กีฬา ทำสารเร่งปฏิกิริยาการเรืองแสงของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหลอดภาพโทรทัศน์ หลอดไฟฟ้า และรังสีเอกซ์ ทำสารกึ่งตัวนำ
 
=='''กลุ่มแร่ธาตุหายากและแร่กัมมันตรังสี'''==
แร่ Xenotime (YPO4)
แร่ Uraninite (UO2)
เส้น 29 ⟶ 33:
แร่ Bastnaesite (CeFCO3)
 
=='''อ้างอิง'''==
{{รายการอ้างอิง}}